ระหว่างอัตราเงินเฟ้อ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย และสงคราม: EUR/USD จะเป็นอย่างไรต่อไป?

อ่านบทความบนเว็บไซต์ของ FBS

EUR/USD ได้ร่วงลงมาที่ 1.0756 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2020 เนื่องจากนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายของธนาคารกลางยุโรปได้เพิ่มแรงกดดันมากขึ้นต่อค่าเงินยูโร แล้วมันจะไปถึงไหนล่ะเนี่ย?

ECB มีจุดยืนยังไงในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย?

ECB คงอัตราดอกเบี้ยไว้ตามที่คาด และยืนยันว่าจะยุติโครงการซื้อพันธบัตรในไตรมาสที่สาม ประธานาธิบดีคริสติน ลาการ์ดกล่าวว่ามัน "ยังเร็วเกินไป" ที่จะหารือเรื่องการกระชับนโยบาย และ เสริมว่าอาจมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย "ณ บางจุด" หลังสิ้นสุดโครงการซื้อสินทรัพย์ (APP) คำแถลงดังกล่าวทำให้มั่นใจได้ว่านโยบายที่ผ่อนปรนจะยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่องด้วยเหตุผลหลายประการ:

  1. ผลพวงของสงครามที่ยังเกิดขึ้นอยู่ระหว่างรัสเซียและยูเครนส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในยุโรปและต่างประเทศ
  2. การเพิ่มขึ้นของราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ส่งผลกระทบต่ออุปสงค์และนำไปสู่การชะลอตัวในการผลิตและอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น
  3. การหยุดชะงักในการค้าและห่วงโซ่อุปทานทำให้เกิดการขาดแคลนวัสดุและปัจจัยการผลิตครั้งใหม่

ECB กดดันค่าเงินยูโร ส่วนเฟดหนุนค่าเงินดอลลาร์

ECB ยังคงยึดมั่นในการใช้นโยบายผ่อนคลาย นั่นเป็นสาเหตุที่ EUR ตกอยู่ภายใต้แรงกดดันขาลง และอาจร่วงลงได้อีก ในทางตรงกันข้าม USD กลับแข็งค่าขึ้นจากความคิดเห็นที่แข็งกร้าวของเฟด

เฟดคาดว่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 50 จุดในการประชุมเดือนพฤษภาคม และปรับอีก 25 จุดในการประชุมที่เหลืออีกห้าครั้งในปี 2022 ส่วน ECB กลับไม่เร่งรีบที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ย เฟดได้ซื้อพันธบัตรครั้งสุดท้ายในเดือนมีนาคม และได้ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยในเดือนเดียวกัน แต่ ECB คงต้องใช้เวลาอีกสักระยะ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในยูโรโซนอาจเกิดขึ้นในเดือนกันยายน

ทำไมสกุลเงินยูโรจึงอ่อนค่าลงเรื่อยๆ?

  1. ด้วยท่าทีที่ผ่อนคลายของ ECB แม้ว่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย แต่ยังไงก็เทียบเฟดไม่ติด
  2. สถานการณ์ที่น่าตกใจในยุโรปอันเนื่องมาจากอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ที่ 7.5% และอัตราการเติบโตที่ช้าท่ามกลางวิกฤตในยูเครน
  3. ราคาน้ำมันกำลังเตรียมตัวจะเป็นขาขึ้นในครั้งต่อไป และบิลเก็บค่าพลังงานจะทำให้บ้านเรือนต่างๆในยุโรปต้องหนาวๆร้อนๆไปตามกัน
  4. ความกลัวที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับภาวะถดถอยในยูโรโซน
  5. สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐที่แข็งค่าและแรงสนับสนุนจากทุกหนทุกแห่ง: วัฏจักรการกระชับนโยบายที่คมชัดที่สุดในรอบหลายปีของเฟด การฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งของผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ และความไม่แน่นอนอย่างต่อเนื่องในตลาดโลกท่ามกลางสงครามรัสเซีย-ยูเครน ดัชนีค่าเงินดอลลาร์ (DXY) คาดว่าจะพุ่งต่อหลังเกิดการสะสมราคาเหนือระดับ 100.00 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบเกือบสองปี

EUR/USD จะเป็นยังไงต่อไป?

หลังจากที่ EUR ได้ร่วงลงต่ำกว่าระดับ 1.0800 เป็นครั้งแรกในเดือนเมษายน 2020 กราฟแสดงให้เห็นว่าภาวะตลาดหมียังคงไม่เปลี่ยนแปลง หาก EUR/USD ยังคงร่วงลงต่ำกว่าระดับ 1.0800 (ระดับจิตวิทยา ระดับต่ำสุดในรอบสองปี) แรงกดดันในการขายทางเทคนิคอาจเพิ่มขึ้นและฉุดคู่เงินนี้ไปที่ระดับ 1.0770, 1.0760 และ 1.0730 เป้าหมายใหญ่ต่อไปของขาลงคือ 1.0635 ซึ่งเป็นราคาต่ำสุดนับตั้งแต่มีนาคม 2020

มุมมองระยะสั้นยังเป็นขาลง เนื่องจากคู่เงินยังอยู่ใต้เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ขาลง

eurusd-d1-fbs-inc.png

 เข้าสู่ระบบ

Amira Mohey

แบ่งปันกับเพื่อน:

คล้ายกัน

ข่าวล่าสุด

เปิดทันที

FBS เก็บรักษาข้อมูลของคุณไว้เพื่อใช้งานเว็บไซต์นี้ เมื่อกดปุ่ม "ยอมรับ" ถือว่าคุณยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเรา