GDP m/m และ RMPI ของประเทศแคนาดาในค่ำคืนนี้

อ่านบทความบนเว็บไซต์ของ FBS

วันนี้ 31 มกราคม 2019 จะมีอีกหนึ่งกลุ่มการประกาศของประเทศแคนาดาที่นักลงทุนตลาดเงินต่างจับตามองก็คือกลุ่มการประกาศ GDP m/m และ RMPI  ที่จะประกาศในเวลา 20:30 น. ตามเวลาประเทศไทย

Screen Shot 2562-01-31 at 16.24.33.png

โดยกลุ่มการประกาศ GDP m/m และ RMPI หรือเรียกว่ากลุ่มการประกาศดัชนีจีดีพี โดยนักวิเคราะห์ยังให้ความสำคัญในกลุ่มการประกาศนี้เนื่องจากว่าความผันผวนของตลาดราคาน้ำมันจะสร้างความผันผวนให้กับกลุ่มการประกาศนี้โดยตรงและจะส่งผลโดยตรงกับสกุลเงินแคนาดา เรามาดูกันว่าในกลุ่มการประกาศนี้จะมีการประกาศตัวเลขอะไรบ้างแล้วจะสร้างความผันผวนให้กับสกุลเงินแคนาดาอย่างไร

โดยการประกาศแรกก็คือประกาศดัชนีจีดีพีเทียบเดือนต่อเดือนประจำเดือนพฤศจิกายน นักวิเคราะห์ได้คาดการณ์เอาไว้ว่าจะประกาศออกมาแล้วคือ -0.1% ซึ่งครั้งก่อนก็คือ 0.3%

การประกาศที่สองก็คือการประกาศดัชนีจีดีพีเทียบปีต่อปีครั้งก่อนก็คือ 2.2% ซึ่งไม่มีการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์

การประกาศที่สามก็คือการประกาศดัชนีราคาวัตถุดิบเทียบเดือนต่อเดือนประจำเดือนธันวาคม นักวิเคราะห์ได้คาดการณ์ไว้ว่าจะประกาศออกมาก็คือ 3.9% ครั้งก่อนก็คือ -11.7%

การประกาศที่สี่ก็คือการประกาศดัชนีราคาวัตถุดิบเทียบปีต่อปีประจำเดือนธันวาคมซึ่งครั้งก่อนก็คือ -9.9% และไม่มีการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์

กลุ่มการประกาศนี้เป็นกลุ่มการประกาศที่สำคัญที่นักลงทุนตลาดเงินต่างจับตามองหนึ่งแต่ว่าดัชนีจีดีพีจะมีความสัมพันธ์กับราคาน้ำมันดังนั้นในตอนนี้การคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ได้คาดการณ์ให้น้ำหนักไปยัง จะประกาศดัชนีจีดีพีเทียบเดือนต่อเดือนประจำเดือนพฤศจิกายนที่คาดการณ์ออกมาน้อยกว่าครั้งก่อน ต้องติดตามว่าในการประกาศของค่ำคืนนี้จะเป็นไปตามการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์หรือไม่ถ้าเกิดว่าเป็นไปตามการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์อาจจะทำให้สกุลเงินแคนาดามีการอ่อนค่าลงในระยะสั้น

Screen Shot 2562-01-31 at 16.32.00.png

โดยที่ในตอนนี้สกุลเงินแคนาดาที่น่าสนใจก็คือ สกุลเงินดอลล่าร์เทียบกับสกุลเงินแคนาดาหรือเรียกว่า USD/CAD โดยคู่สกุลเงินนี้ในตอนนี้ยังอยู่ในทิศทางขาลงเนื่องจากว่าสกุลเงินดอลล่าร์มีการกดดันคู่สกุลเงินนี้ ในการประกาศปรับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาทำให้คู่สกุลเงินนี้มีการร่วงลงอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับในส่วนของราคาน้ำมันมีการดีดตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องจึงทำให้สกุลเงินแคนาดามีการแข็งค่าขึ้นทำให้คู่เงินนี้อยู่ในทิศทางขาลงอย่างเห็นได้ชัด

โดยที่ถ้าเกิดว่ามีการปรับตัวร่วงลงอย่างต่อเนื่องแนวรับที่สำคัญที่จะต้องติดตามในตอนนี้ก็คือ 1.312545 เกิดยืนต่ำกว่าราคาดังกล่าวและมีการร่วงลงอย่างต่อเนื่องอีกสองแนวรับที่สำคัญก็คือ 1.30888 เป็นแนวรับที่สองและ 1.30722 เป็นแนวรับสุดท้ายโดยที่ถ้าเกิดว่าทะลุแนวรับสุดท้ายอาจจะอยู่ในทิศทางขาลงระยะกลางถึงระยะยาว

แต่ถ้ามีการปรับตัวสูงขึ้นแนวต้านที่สำคัญที่จะต้องติดตามในตอนนี้ก็คือ 1.31518 ซึ่งถ้าเกิดว่ามีการดีดตัวขึ้นต่อเนื่องแนวต้านที่สองก็คือ 1.32072 และนักลงทุนตลาดเงินต่างจับตามองอีกสองแนวทางก็คือแนวต้านที่สาม 1.32557 และแนวต้านที่สี่ก็คือ 1.32853 เนื่องจากเป็นแนวต้านที่สำคัญที่เอาไว้วัดว่าถ้าเกิดสามารถทะลุแนวต้านที่สี่ได้ก็จะอยู่ในทิศทางขาขึ้นระยะสั้นถึงระยะกลาง

ไปส่วนการประกาศนี้นักลงทุนตลาดเงินต่างจับตามองเนื่องจากว่าดัชนีจีดีพีของประเทศแคนาดามักจะส่งผลถึงราคาน้ำมันและจะส่งผลถึงในส่วนของอุปสงค์ อุปทานที่เกี่ยวข้องกับราคาน้ำมัน ดังนั้นในส่วนของประเทศแคนาดาที่จะสร้างความผันผวนและสกุลเงินแคนาดาที่จะมีความผันผวนอาจจะอยู่ในส่วนของตัวเลขนี้ไม่มากก็น้อยต้องคอยติดตามว่าจะสร้างความผันผวนและตัวเลขจะออกมา surprise ตลาดหรือไม่

ท่านที่เทรดสกุลเงินนี้ นั้นควรให้สังเกตตาม Zone แนวรับแนวต้าน หรือเรียกว่า (MODULE) ตรงที่แจ้งไว้ด้วยเนื่องจากอาจจะมีความผันผวนจนสุด Zone หรือ (MODULE) ซึ่งในการเทรดนั้นท่านที่ยังไม่มี Order หรือมีออเดอร์ CAD  ติดอยู่ ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดด้วยนะครับ

(แนวรับแนวต้านหรือเรียกว่า Module นั้นก็คือ ZONE ดังนั้นเป้าหมายที่แจ้งไปคือ Zone ดังนั้นไม่ต้องตามเป้าหมายเป๊ะแต่ให้ดูตาม Zone เพื่อจะเป็นจุดสำคัญในการตัดสินใจว่าจะเข้าเทรดหรือตัดสินใจของการเข้าออกออเดอร์หรือการจัดการออเดอร์ที่ดีที่สุด

Purich Mahayosanan

แบ่งปันกับเพื่อน:

คล้ายกัน

ข่าวล่าสุด

เปิดทันที

FBS เก็บรักษาข้อมูลของคุณไว้เพื่อใช้งานเว็บไซต์นี้ เมื่อกดปุ่ม "ยอมรับ" ถือว่าคุณยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเรา