จับคลื่นด้วยกลยุทธ์การเทรดตามการแกว่งตัวของราคา

อ่านบทความบนเว็บไซต์ของ FBS

ขณะที่พยามหาสมดุลย์ระหว่างการเทรดรายวัน และการเทรดแบบ scalping เทรดเดอร์อาจ ค้นพบรูปแบบที่น่าสนใจระหว่างสองวิธีนี้ ชื่อของบทความก็อธิบายตัวมันเองอยู่แล้ว: วันนี้เราจะมาพูดถึงการเทรดตามการแกว่งตัวของราคา แล้วการเทรดตามการแกว่งตัวของราคาคืออะไร?

การเทรดตามการแกว่งตัวของราคาเป็นวิธีการเทรด แบบเฉพาะซึ่งจะรวมเอาทั้งการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานฯ และเทคนิคเข้าไว้ด้วยกัน การเทรดตามการแกว่งตัวของราคาก็คล้ายๆกับ การเล่นเซิฟ: คุณจับการแกว่งตัวในตอนที่ราคา เปลี่ยนแปลงทิศทาง หากคุณเลือกเทรดด้วยวิธีนี้ คุณอาจต้องถือ ตำแหน่งเป็นเวลาหลายวัน ฉะนั้นคุณควรมีความคุ้นเคยกับการจัดการ ขนาดของตำแน่งและกลไกของค่า swap

คุณอาจเดาว่าการเทรดตามการแกว่งตัวของ ราคานั้นเหมาะสมเป็นที่สุดในช่วงที่ตลาดวิ่ง อยู่ในกรอบเนื่องจากสถานการณ์เช่นนั้นราคา จะเคลื่อนที่หมุนวนไปมาภายในระดับที่แน่นอน ขณะเดียวกันการจับการแกว่งตัวของราคานั้น เป็นมีความเป็นไปไดในตอนที่ราคามีการพักตัว ภายในแนวโน้ม

หากการเทรดตามการแกว่งตัวของราคาฟังดู ซับซ้อนไปหน่อยสำหรับคุณ เราจะสร้างความ มั่นใจให้คุณใหม่ด้วยกลยุทธ์การเทรดตาม การแกว่งตัวของราคาที่เรียกว่า "H4 crossover" กฎของการเทรดก็ง่ายดุจชื่อของมัน! ไปดูรายละเอียดกันเถอะ

ก่อนอื่นให้ลองพิจารณาเงื่อนไขพื้นฐาน ของกลยุทธ์นี้ ซึ่งมีดังต่อไปนี้:

  • กรอบเวลา: H4
  • ตัวบ่งชี้: SMA-89, EMA-21 (apply to close) และ MACD osciallator พร้อมการตั้งค่าตาม มาตรฐาน (12,26,9)
  • คู่เงิน: EUR/USD, GBP/USD, AUD/USD, USD/CAD, EUR/GBP, EUR/AUD, EUR/JPY, GBP/JPY, USD/JPY, GBP/CHF, USD/CHF, EUR/CHF

อย่าลืมจัดการความเสี่ยงด้วยล่ะ เป้าหมายความเสี่ยงและกำไรสูงสุดต่อ การเทรดของคุณควรจะเท่ากับ 1-2% ของยอดเงินในบัญชี 

ขั้นตอนของกลยุทธ์ก็เหมือนเช่นเคยจะแสดงให้ เห็นทั้งสถานการณ์ของการ "sell" และ "buy"

กลวิธีของสถานการณ์ "buy"

  1. ก่อนอื่นรอให้เส้น EMA-21 ตัดข้ามเส้น SMA-89 ขึ้นด้านบน
  2. ราคาควรขึ้นไปสูงกว่าแต่จากนั้นก็พักตัว พร้อมๆกับ MACD ลงไปข้างล่าง
  3. ให้ "เข้า" ออเดอร์ที่ราคาปิดของแท่งเขียวแท่งแรก หลังจากที่ MACD กลับขึ้นมาด้านบน ( จุดสังเกตที่สำคัญ: ราคาควรขึ้นไปสูงกว่า EMA-21 หากมันไม่ขึ้นไปสูงกว่านั้นก็ให้ข้ามการเทรด รอบนี้ไปก่อน
  4. Stop Loss ให้วางไว้ใต้แนวรับสำคัญก่อนหน้า ประมาณ 4-10 pips
  5. Take Profit ก็ให้วางในระยะที่เท่ากันกับ Stop Loss

 ด้านล่างนี้จะเป็นตัวอย่างของกลยุทธ์ บนกราฟ H4 ของ EUR/USD

Example 1.png

บนกราฟเราจะเห็นว่า EMA-21 (เส้นสีเหหลือง) ทะลุขึ้นไปเหนือ SMA-89 (เส้นสีเขียว) ในวันที่ 6 ตุลาคม ราคาได้กระโดดขึ้นไปสูงกว่าแต่จากนั้นก็พักตัวลงมา ขณะเดียวกัน MACD ก็ลงไปข้างล่าง เรารอให้ราคาพุ่งกลับไปเหนือเส้นค่าเฉลี่ยและ รอให้ MACD กลับขึ้นไป หลังจากนั้นเราได้เปิดตำแหน่งที่ราคา 1.1776 (ราคาปิดของแท่งเทียนกระทิง) เราวาง Stop Loss ไว้ต่ำกว่าแนวรับที่ 1.1728 ประมาณ 5 pip ระดับ Take Profit ถูกวางไว้ในระยะเดียวกัน กับระยะห่างระหว่างจุดเข้า "buy" และจุด Stop Loss ซึ่งก็คือ 48 pips ส่งผลให้จุด Take Profit ของเราจะอยู่ที่ 1.1776+48 = 1.1824

กลวิธีของสถานการณ์ "sell"

  1. ตรงข้ามกับสถานการณ์ "buy" เราจะรอให้ EMA-21 ตัดข้าม SMA-89 ไปด้านล่าง
  2. ตรงนี้เองเราจะคาดหวังให้ราคาร่วงลงไป แต่จากนั้นก็พักตัวกลับขึ้นมาพร้อมกับ MACD ที่เคลื่อนที่ขึ้น
  3. เราเปิดตำแหน่ง "sell" ที่ราคาปิดของแท่งแดง แท่งแรกหลังจากที่ MACD เริ่มกลับลงมาอีกครั้ง จุดสังเกตที่สำคัญ: ราคาควรลงไปต่ำกว่า EMA-21 หากมันไม่ขึ้นไปสูงกว่านั้นก็ให้ข้ามการเทรด รอบนี้ไปก่อน
  4. Stop Loss ให้วางไว้เหนือแนวต้านสำคัญก่อนหน้า ประมาณ 4-10 pips
  5. Take Profit ก็ให้วางในระยะที่เท่ากันกับ Stop Loss

Example 2.png

ในกราฟ EUR/USD เดียวกัน เราจะเห็นว่า EMA-21 (เส้นสีเหลือง) ทะลุลงใต้ SMA-89 (เส้นสีเทา) จากนั้นราคาก็เคลื่อนลงและขึ้น MACD ได้เคลื่อนที่สูงขึ้นเช่นกัน เรารอให้ oscillator กลับตัวแล้วค่อยเปิด "sell" ที่ราคาปิดของแท่งแดง วาง Stop loss ไว้เหนือแนวต้านที่ 1.0899 ขณะที่ take profit ถูกวางไว้ที่ 1.0811 (1.0855-0.0044=1.0811)

ดูเหมือนกลยุทธ์นี้จะง่ายเนอะ ว่าป่ะ? เพียงแค่คุณทำตามกฏง่ายๆที่อธิบายไว้ข่างต้น คุณก็จะเชี่ยวชาญการเทรดตามการแกว่งตัวของราคา เราขอแนะนำให้คุณลองทดสอบด้วย บัญชีทดลองก่อนแล้วค่อยนำไปใช้กับบัญชีจริง

เทรดเลย

FBS Analyst Team

แบ่งปันกับเพื่อน:

คล้ายกัน

เปิดทันที

FBS เก็บรักษาข้อมูลของคุณไว้เพื่อใช้งานเว็บไซต์นี้ เมื่อกดปุ่ม "ยอมรับ" ถือว่าคุณยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเรา