Relative strength index: ขาขึ้น vs ขาลง
RSI บอกอะไรเรา?
Relative strength index (RSI) เป็นตัวบ่งชี้ที่ใช้ใน การวิเคราะห์ทางเทคนิคเพื่อวัดโมเมนตั้มของ การเปลี่ยนแปลงล่าสุดของราคา มันช่วยชี้ให้เทรดเดอร์ว่าหุ้น, คู่สกุลเงิน, หรือสิทรัพย์อื่นๆนั้น กำลังถูกซื้อมากเกินไปหรือขายมากเกินไป RSI นั้นเป็น oscillator (กราฟเส้นที่เคลื่อนไหวระหว่างขีดสุดสองด้าน) ที่มีค่าจาก 0 ถึง 100
ค่ามาตรฐานที่ใช้ในการคำนวณค่า RSI เริ่มต้นคือ 14 periods RSI จะพุ่งขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของจำนวนและขนาดของ ตำแหน่งที่ปิดบวกและมันจะดิ่งลงตามการเพิ่มขึ้นของ จำนวนและขนาดของตำแหน่งที่ปิดลบ
การตีความช่วงของ RSI
โดยทั่วไปแล้วเมื่อ RSI ตัดผ่านเส้น 30 ที่อยู่ด้านล่างขึ้นไป มันจะเป็นสัญญานของขาขึ้น และเมื่อมันตัดผ่านเส้น 70 ลงมา มันจะเป็นสัญญานของขาลง ในอีกทางหนึ่ง เราสามารถตีความได้ว่าค่า RSI ที่ 70 หรือสูงกว่านั้นจะบ่งชี้ว่าสินทรัพย์ถูกซื้อมากเกินไป หรือมีมูลค่าสูงเกินไป และอาจจะเกิดการกลับตัว ของแนวโน้มหรือการพักตัวสั้นๆเพื่อปรับฐานของราคา RSI ระดับ 30 หรือต่ำกว่านั้นจะบ่งชี้ถึงสภาวะที่มี การขายมากเกินไป หรือมูลค่าต่ำมากเกินไป
ในระหว่างแนวโน้ม RSI อาจพุ่งไปอยู่ขอบข้างใดข้างหนึ่ง
ในข่วงขาขึ้น RSI มีแนวโน้มที่จะอยู่เหนือระดับ 30 และชนระดับ 70 อยู่บ่อยครั้ง ในช่วงที่เกิดแนวโน้มขาลงก็แทบจะไม่เห็นว่า RSI อยู่เหนือระดับ 70 และตัวบ่งชี้จะชนระดับ 30 หรือต่ำกว่าอยู่บ่อยครั้ง แนวทางเหล่านี้สามารถช่วยระบุความแข็งแกร่งของแนวโน้ม และระบุการกลับตัวที่อาจเกิดขึ้นได้ ตัวอย่างเช่น ราคาแกว่งตัวติดต่อกันหลายครั้งในช่วงขาขึ้น แต่ RSI ไม่สามารถไปถึงระดับ 70 ได้ แถมยังร่วงลงต่ำกว่า 30 อาจเป็นไปได้ที่แนวโน้มจะอ่อนแรงลงและเกิดการกลับตัว
ในทางกลับกัน หากแนวโน้มขาลงไม่สามารถแตะระดับ 30 หรือต่ำกว่าได้ แถมยังไต่กลับขึ้นเหนือ 70 แสดงว่าแนวโน้มขาลง กำลังอ่อนแรงและอาจกลับตัวเป็นขาขึ้นได้ เส้นแนวโน้มและเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่สามารถช่วย ในการวิเคราะห์ได้เช่นกัน
เทคนิคการเทรดด้วย RSI ที่ดีที่สุด
RSI เป็นตัวบ่งชี้ที่ใช้งานได้หลากหลาย มันไม่ได้แสดงเพียงราคาสูง/ต่ำแต่สามารถให้สัญญาณต่างๆ แก่เทรดเดอร์ได้ เช่น ไดเวอร์เจนซ์ และรูปแบบกราฟ
มาดูตัวอย่างและค้นหาวิธีที่ดีที่สุดในการใช้ oscillator ตัวนี้กัน
ไดเวอร์เจนซ์
ไดเวอร์เจนซ์ขาขึ้นของ RSI จะเกิดขึ้นเมื่อตัวบ่งชี้ สร้างระดับต่ำสุดที่ยกตัวขึ้น แต่ในขณะเดียวกันราคา กลับแสดงค่าต่ำสุดที่กดตัวต่ำลง สิ่งนี้บ่งบอกถึงโมเมนตัมขาขึ้นที่เพิ่มขึ้น สามารถใช้การพุ่งทะลุพื้นที่ขายมากเกินไปเพื่อเปิดตำแหน่งยาวใหม่ได้
ไดเวอร์เจนซ์ขาลงของ RSI จะเกิดขึ้นเมื่อตัวบ่งชี้ สร้างระดับสูงสุดที่กดตัวลง แต่ในขณะเดียวกันราคา กลับแสดงค่าสูงสุดที่ยกตัวขึ้น
ในจังหวะที่แถบสีเขียวแรกปรากฏขึ้นและมีการยืนยัน การเกิดไดเวอร์เจนซ์ เทรดเดอร์อาจเปิดการคำสั่งซื้อ พร้อมตั้ง Stop Loss ไว้ต่ำกว่าระดับต่ำสุดล่าสุด
การปฏิเสธการแกว่งตัว
อีกเทคนิคการซื้อขายคือการตรวจสอบพฤติกรรมของ RSI เมื่อมีการรวมตัวจากพื้นที่ซื้อมากเกินไปหรือขายมากเกินไป การปฏิเสธการแกว่งตัวโดยทั่วไปประกอบด้วย 4 ส่วน
- RSI ต่ำลง (ในกรณีนี้) ต่ำกว่า 30
- RSI กลับไปเหนืออยู่ 30
- RSI ย่อตัวอีกครั้งแต่ไม่ลงต่ำกว่า 30
- RSI ทะลุจุดสูงสุดล่าสุด
จังหวะที่มีการพุ่งทะลุคือจุดเปิดคำสั่งของเทรดเดอร์ ตั้ง stop loss ไว้ใต้ระดับต่ำสุดล่าสุด
การสะสม
เมื่อราคาอยู่ในช่วงและ RSI เคลื่อนที่ภายในแชนเนล หมายความว่านักลงทุน (เทรดเดอร์) กำลังสะสมพลัง เพื่อการเคลื่อนไหวครั้งต่อไป โดยปกติ ในจังหวะเหล่านี้ RSI จะอยู่ในช่วง 40-60 แล้วหลังจากนั้น แชนแนลจะถูกทำลายแล้วเกิด การเคลื่อนไหวครั้งใหญ่
รูปแบบ
ข้อดีอีกอย่างของ RSI คือรูปแบบของมันก็ใช้ได้เช่นกัน ในกราฟด้านบน เทรดเดอร์ไม่สามารถสังเกตเห็น การกลับตัวของแนวโน้มตามการเคลื่อนไหวของราคาได้ แต่รูปแบบ "หัวกับไหล่" กลับปรากฏบน RSI ทันทีที่เส้น RSI ตัดข้ามเส้นไหล่ ราคาก็ร่วงลง
สรุป
- RSI เปรียบเทียบโมเมนตัมราคาขาขึ้นและขาลง แล้วแสดงผลบน oscillator ที่อยู่ใต้กราฟราคา
- สามารถใช้ RSI เพื่อคาดการณ์จุดสิ้นสุดของ การปรับฐานระหว่างแนวโน้มได้
- สามารถใช้กับกรอบเวลาที่ใหญ่ที่สุดเพื่อระบุ การกลับตัวของแนวโน้ม
- ในช่วงที่ตลาดซบเซา อาจใช้มันเป็นสัญญาณของการสะสมอำนาจของตลาดกระทิง/หมี
- รูปแบบของ RSI ก็ใช้งานได้เช่นกัน