การซื้อขายในโซนที่ราบเรียบ

อ่านบทความบนเว็บไซต์ของ FBS

สำหรับเทรดเดอร์จำนวนมาก อาจมีปัญหาในการเลือกกลยุทธ์การซื้อขายในตอนที่ตลาดเข้าสู่โซนที่ไม่แน่นอน มันอาจเป็นโซนในแนวราบดังตัวอย่างกราฟ H1 ของคู่เงิน EUR/CAD ด้านล่างนี้ ไปดูกัน

Zone-1.jpg

เบาะแสในการระบุความเคลื่อนไหวของตลาดกำลังที่กำลังจะเกิดขึ้นอยู่ที่แต่ละโซนของระดับแนวรับหรือแนวต้านที่สอดคล้องกันในแผนภูมิด้านบนสี่เหลี่ยมสีเทาหมายถึงภาคการเคลื่อนไหวในแนวราบระหว่างระดับแนวรับที่ 1.4586 และระดับแนวต้านที่ 1.4642

โซน 1 มีโซนราบอยู่ทางด้านข้างของแนวต้าน โซนดังกล่าวเกิดจากการสะสมราคาระยะสั้นของตลาด สำหรับเทรดเดอร์หลายคนมันจะเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงการพุ่งทะลุและการไปต่อของแนวโน้มขาขึ้น แต่จริงๆแล้วมันกลับตรงกันข้าม: ความแออัดที่แนวต้านส่งผลให้เกิดการร่วงลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้นผู้ที่ถือตำแหน่ง short ภายในโซน 1 จะได้รับประโยชน์จากการร่วงลงที่ไม่คาดคิดนี้

โซน 2 มีโซนราบที่คล้ายกันแต่ตอนนี้อยู่ในระดับแนวรับ สำหรับบางคนมันอาจตีความได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่รอคอยที่จะเห็นกราฟร่วงลงไปอีก แต่อีกครั้งที่มันเกิดขึ้นตรงกันข้าม หลังจากแตะโซน 2 เงินยูโรเริ่มเคลื่อนไหวสูงขึ้นแล้วทำลายระดับแนวต้านแล้วสร้างจุดสูงสุดใหม่

มันดูเหมือนง่ายที่จะกำหนดโซนดังกล่าว แต่บางครั้งในสถานการณ์จริงมันก็ไม่ชัดเจนอะไรขนาดนั้น คุณควรจำไว้ว่าตลาดสามารถเคลื่อนไหวได้ทั้งสองทาง จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องได้รับการยืนยันเพิ่มเติมจากตัวบ่งชี้อื่นๆ, รูปแบบกราฟ หรือรูปแบบแท่งเทียน ตัวอย่างเช่น หากตัวบ่งชี้ MACD หรือ Awesome Oscillator สร้าง bearish/bullish divergence ก็ถึงเวลาของการกลับตัว ไปดูกันชัดๆเลยดีกว่า

ภาพด้านล่างนี้จะแสดง Zone 1 ของกราฟเริ่มต้นเดียวกัน เราเห็นการสะสมราคาของตลาดที่ระดับแนวต้านทั่วไป และค่อยๆเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆภายในระดับแนวต้านที่ขีดด้วยเส้นสีน้ำตาล ตัวบ่งชี้ MACD ที่สอดคล้องกับส่วนเดียวกันจะแสดงการลดลงทีละน้อยที่ขีดด้วยเส้นสีน้ำตาลอีกเส้น ทั้งสองเส้นรวมกันสร้าง bearish divergence ที่จุดเริ่มต้นของการกลับตัวขาลง ซึ่งเราเห็นจะได้ทันทีหลังจากส่วนที่เราจะได้ตรวจสอบ ดังนั้นจึงควรที่จะเข้า sell ภายในโซน 1

โซน 2 จะถูกตรวจสอบในภาพถัดไป มันแสดงให้เห็นถึงการเคลื่อนไหวของราคาในแนวราบเหนือระดับแนวรับ ราวกับว่าตลาดกำลังนิ่งเงียบเพื่อรวบรวมความแข็งแกร่งและตัดสินใจว่าจะไปในทิศทางไหน เฉพาะโซนนี้ระดับแนวต้านจะอยู่ที่ 1.4601 เมื่อแท่งกระทิงที่อยู่ที่จุดสิ้นสุดของโซนที่เลือกได้ทำลายแนวต้านนี้ก็หมายความว่าตลาดมีความตั้งใจที่จะไปต่อในขาขึ้น ดังนั้นจึงควรที่จะเปิดตำแหน่ง long ภายในโซน 2

Zone-3.jpg

สรุป

ตอนนี้เราสามารถระบุการสะสมราคาของตลาดที่ระดับแนวรับหรือแนวต้านให้เป็นเหมือนตัวบ่งชี้การเด้งกลับจากระดับนั้นๆ การที่ราคาวิ่งเป็นแนวราบแถวๆระดับแนวต้านบ่งชี้ถึงศักยภาพของการเคลื่อนไหวขาลง ขณะที่การที่ราคาวิ่งเป็นแนวราบแถวๆแนวรับนั้นบ่งชี้ถึงศักยภาพของการเคลื่อนไหวขาขึ้น ด้วยเหตุนี้เราจึงเข้า buy เมื่อราคาวิ่งเป็นแนวราบที่ระดับแนวรับ และเราเข้า sell เมื่อราคาวิ่งเป็นแนวราบที่ระดับแนวต้าน

FBS Analyst Team

แบ่งปันกับเพื่อน:

คล้ายกัน

เปิดทันที

FBS เก็บรักษาข้อมูลของคุณไว้เพื่อใช้งานเว็บไซต์นี้ เมื่อกดปุ่ม "ยอมรับ" ถือว่าคุณยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเรา