BOJ ไม่ต้องการช่วยเงินเยน

อ่านบทความบนเว็บไซต์ของ FBS

ในปีที่ผ่านมา ค่าเงินเยนอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากโดยรวมค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น อย่างไรก็ตาม มันมีสาเหตุหลายประการที่ทำให้เงินเยนอ่อนค่าลง ซึ่งรวมถึงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก การตัดสินใจด้านนโยบายการเงิน และแบบจำลองภาวะเงินฝืดของญี่ปุ่น ค่าเงินนี้จะดิ่งลงไปถึงไหน และอะไรเป็นตัวขับเคลื่อน USDJPY? นี่คือสิ่งที่เราพบ

ทำไมเงินเยนจึงอ่อนค่าลง?

อย่างแรกเลย USD อยู่ในภาวะตลาดกระทิงมานานกว่าหนึ่งปีแล้ว ดัชนีดอลลาร์สหรัฐได้เพิ่มขึ้นเกือบ 19% ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ปี 2021 ส่งผลให้ค่าเงินอื่นๆ ร่วงลงเมื่อเทียบกับดัชนีนี้ ในช่วงระยะเวลา 16 เดือน ดัชนีนี้เพิ่มขึ้นจาก 89.570 เป็น 110.785 นักวิเคราะห์บางคนยังคงเชื่อว่าค่าเงินดอลลาร์สหรัฐจะทะยานขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 20 ปีที่ 120.500

1.png

ฉันจะพูดถึงนโยบายการเงินที่ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นในบทความนี้กัน สิ่งสำคัญคือไม่ว่าเราจะพูดถึงสกุลเงินใดก็ตาม สกุลเงินเหล่านั้นล้วนได้รับความเดือดร้อนจากความแข็งแกร่งของ USD และรวมถึง JPY ด้วย เงินเยนอ่อนค่าลง 34.5% ในช่วงเวลาเดียวกัน โดยขยับจาก 107.63 เป็นเกือบ 145.00 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ

2.png

อย่างไรก็ตาม หากดูแผนภูมิ EURJPY เงินเยนสูญเสียเพียง 8% ในช่วง 16 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งบ่งชี้ว่าเหตุผลที่มันร่วงลงไม่ได้เป็นเพราะ USD เพียงอย่างเดียว JPY เองก็อ่อนค่าลงอย่างรวดเร็วด้วยเช่นกัน ดังนั้น เหตุผลที่เป็นปัจจัยพื้นฐานที่อยู่เบื้องหลังการเคลื่อนไหวนี้ก็คงมีมากมาย

3.png

เหตุผลแรกคือนโยบายการเงินของญี่ปุ่น ในทางตรงกันข้ามกับธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ซึ่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเชิงรุกเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ได้เลือกใช้นโยบายที่ผ่อนปรนและผ่อนคลายมากกว่าหลังจากที่เผชิญกับภาวะเงินฝืดมาหลายปี

ภาวะเงินฝืด คือการลดลงของระดับราคาของสินค้าและบริการทั่วไป

ภาวะเงินฝืดเกิดขึ้นเมื่ออัตราเงินเฟ้อลดลงต่ำกว่า 0%

4.jpg

ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีภาวะเงินฝืดเกิดขึ้นบ่อย ที่มา: tradingeconomics.com

เนื่องจากภาวะเงินฝืดและส่วนเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของญี่ปุ่น เงินเยนจึงถือเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย สกุลเงินนี้หลักๆ แล้วจะปลอดภัยจากความผันผวนที่ไม่คาดคิด และเป็นที่สำหรับนักลงทุนสถาบันในการถือเงินของพวกเขา โดยในทางกลับกัน ภาวะเงินฝืดมักขาดการเติบโตเพราะผู้คนไม่ต้องการใช้เงินและมักจะเก็บเงินไว้แทน และที่ญี่ปุ่นก็เช่นกัน

5.jpg

การเปลี่ยนแปลง GDP ของญี่ปุ่น ที่มา: tradingeconomics.com

ในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจญี่ปุ่นเติบโตขึ้นโดยเฉลี่ย 1.6% ต่อปี ผลลัพธ์นี้เป็นหนึ่งในผลลัพธ์ที่แย่ที่สุดในโลก (ญี่ปุ่นอยู่ในลำดับที่ 158 จาก 193 ประเทศ) รัฐบาลพยายามที่จะรักษาอัตราเงินเฟ้อให้ต่ำแต่เป็นบวกเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ตัวอย่างเช่น Fed ตั้งเป้าอัตราเงินเฟ้อระยะยาวไว้ที่ 2%

ราคาที่สูงขึ้นกระตุ้นให้ผู้คนใช้จ่ายเงินมากขึ้น กระตุ้นเศรษฐกิจและทำให้ทุกคนมีความสุขมากขึ้น เป้าหมายสุดท้ายของธนาคารคือการไปถึงเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อที่ 2% (ในขณะนี้สูงกว่า 2.5% เล็กน้อย) เพื่อ "อำนวยความสะดวกในผลกำไรขององค์กรที่สูงขึ้นและสภาวะตลาดแรงงานที่ดีขึ้น และด้วยเหตุนี้จึงสร้างวัฏจักรที่ดีซึ่งค่าจ้างและราคาจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง" นั่นเป็นเหตุผลที่ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นไม่ต้องการลดอัตราเงินเฟ้อ

นอกจากนี้ ฟุมิโอะ คิชิดะ นายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่นกำลังพิจารณาพิมพ์เงินเพิ่มเพื่ออัดฉีดเข้าสู่ระบบการเงิน แม้ว่าเป้าหมายหลักของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจคือการต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้อ (ตามที่ธนาคารกล่าวไว้) การพิมพ์เงินเป็นวิธีหนึ่งในการกระตุ้นเศรษฐกิจ

การพิมพ์เงินเป็นมาตรการมาตรฐานที่จะช่วยเศรษฐกิจในปัจจุบัน แต่ในอนาคตจะส่งผลให้เงินเฟ้อสูงขึ้นและอาจเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้ ในความคิดของฉัน กลยุทธ์นี้ล้มเหลวมาแล้วหลายครั้ง และครั้งนี้ก็ไม่ต่างกัน อย่างไรก็ตาม ญี่ปุ่นอาจต้องพยายามอย่างเต็มที่เพื่อช่วยเหลือผู้คนในยามที่เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยโลก

จะเกิดอะไรขึ้นกับเงินเยน?

คุโรดะ ผู้ว่าการ BOJ กำลังหารือเกี่ยวกับการแทรกแซงราคา JPY ที่เป็นไปได้เพื่อสนับสนุนสกุลเงิน ฉันคิดว่าการแทรกแซงเหล่านี้หากไม่อ่อนแอก็เป็นแค่ในระยะสั้น ดังนั้นมันจะไม่ส่งผลกระทบต่อสกุลเงินมากพอที่จะหยุดการร่วงลง อย่างไรก็ตาม เราอาจเห็นการปรับฐานของ USDJPY ไปที่แนวรับที่ 139.50 หลังจากนั้นฉันคาดว่าจะมีการสะสมราคาพร้อมกับการพุ่งทะลุหลอกทั้งสองทิศทาง

หากไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง มาตรการทางการเงินจาก BOJ จะทำให้เงินเยนอ่อนค่าลงอีก ส่งผลให้คู่ USDJPY ไปอยู่ตรงแนวต้านที่ 150.00 มันอาจเกิดขึ้นในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า ดังนั้นฉันคิดว่านี่เป็นการเทรดระยะกลางที่คุ้มค่าที่จะลอง อย่างไรก็ตาม ระดับ 150.00 เป็นแนวต้านที่แข็งแกร่ง BOJ มีแนวโน้มที่จะใช้มาตรการที่รุนแรงมากขึ้นเพื่อหยุดการอ่อนค่าของเงินเยน ดังนั้น การสะสมราคาจะเกิดขึ้นที่แนวต้านที่ 150.00 โดยอาจมีการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มได้

แผนภูมิรายวันของ USDJPY

แนวต้าน: 145.00, 150.00

แนวรับ: 139.50, 133.00, 125.00

6.png

เราจะเจาะลึกถึงเศรษฐกิจของญี่ปุ่น กดติดตาม ช่อง Telegram @FBSAnalytics ที่ฉันโพสต์ไอเดียการเทรดรายวันเพิ่มเติมได้เลย!

เทรดเลย

FBS Analyst Team

แบ่งปันกับเพื่อน:

คล้ายกัน

ข่าวล่าสุด

เปิดทันที

FBS เก็บรักษาข้อมูลของคุณไว้เพื่อใช้งานเว็บไซต์นี้ เมื่อกดปุ่ม "ยอมรับ" ถือว่าคุณยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเรา