เหตุการณ์กดดันสกุลเงินยูโรจากประเทศตุรกีที่มีความผันผวนในช่วงนี้

อ่านบทความบนเว็บไซต์ของ FBS

วันนี้ 13 สิงหาคม 2018 เหตุการณ์ในตารางยังไม่มีเหตุการณ์ที่สร้างความกดดันและสร้างความผันผวนให้กับแต่ละสกุลเงินจึงควรติดตามเหตุการณ์เอาตารางและปัจจัยหนุนต่างๆโดยที่จะมีเหตุการณ์นอกตารางและปัจจัยหนุนต่างๆที่แต่ละสำนักข่าวได้วิตกกังวลในวันนี้

EUR20.jpg

ปัจจัยที่หน้าที่ตามในช่วงวันสองวันนี้ก็คือสกุลเงินยูโรเนื่องจากว่าเหตุการณ์ของประเทศตุรกีที่ทำให้สกุลเงิน Lira มีการอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็นทั้งทางด้านการเมืองและทางด้านสงครามทางการค้าของสหรัฐอเมริกาและจีนซึ่ง ประเด็นที่สำคัญของประเทศตุรกีก็คือสามประเด็นหลักดังนี้

  1. ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่แข็งค่า
  2. ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นเรื่อยๆ
  3. สงครามการค้า

ล่าสุด เคราะห์ยังซ้ำประเทศตุรกีไปอีกรอบ เมื่อประธานาธิบดีสหรัฐได้ประกาศขึ้นภาษีนำเข้าเหล็กและอลูมิเนียมจากตุรกีเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 50% และ 20% ตามลำดับ ทำให้ค่าเงิน Lira ของตุรกีทรุดลงหนักไปอีก ซึ่งทรัมป์มองว่าค่าเงินของตุรกีที่อ่อนค่าลงเพิ่ม ทำให้สหรัฐต้องเพิ่มภาษีนำเข้าอีก และยังแถมท้ายด้วยว่าความสัมพันธ์ของ 2 ประเทศยังไม่ค่อยดีเท่าไหร่

ยุโรปอาจได้รับผลกระทบ

ธุรกิจในประเทศตุรกีส่วนมากจะมีการกู้เงินผ่านทวีปยุโรปเป็นส่วนใหญ่ โดย 2 ประเทศที่รับเคราะห์มากที่สุดในเรื่องนี้คือ สเปน รวมไปถึง ฝรั่งเศส ซึ่งมูลค่าหนี้ที่ 2 ประเทศเป็นเจ้าหนี้อยู่ประมาณ 121,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

เคราะห์กรรมยังอาจไปตกกับธนาคารใหญ่ในยุโรปซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ธนาคารในประเทศตุรกีอย่าง Garanti Bank ซึ่ง BBVA จากสเปนถือหุ้นมากถึง 50% ส่วนทางด้าน BNP Paribas ของฝรั่งเศสที่ถือหุ้น 72.5% ในธนาคาร TEB ยังรวมไปถึง Unicredit ของอิตาลีถือหุ้นในธนาคาร Yapi Kredi Bank อีก 41% นอกจากนั้นยังมีธนาคารอื่นๆ ที่มีธุรกรรมสำคัญๆ ในประเทศตุรกี เช่น HSBC หรือ Citi ที่มีสาขาในตุรกี

ถ้าหากปัญหาค่าเงิน Lira ระเบิดขึ้นมา ย่อมส่งผลกระทบต่อธนาคารและรวมไปถึง 2 ประเทศที่กล่าวไว้ข้างต้น

ทางออกที่เหลือไม่กี่ทาง

ตลาดกำลังมองว่าธนาคารกลางของตุรกีแทบจะไม่เหลือเครื่องมือในการฟื้นความเชื่อมั่นของค่าเงิน Lira กลับมาได้เลย นอกจากนั้นการที่จะให้ธนาคารกลางแทรกแซงค่าเงิน Lira แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย เนื่องจากธนาคารกลางตุรกีแทบจะไม่เหลือกระสุนในการปกป้องค่าเงินเลย

ทางออกของตุรกีจึงเหลือไม่กี่ทางได้แก่ การกู้เงินจาก IMF ซึ่งรัฐบาลของประธานาธิบดี Erdogan ได้เคยประกาศความสำเร็จในการคืนเงินกู้ให้กับ IMF มาแล้ว ดังนั้นอาจเป็นเรื่องที่น่าหนักใจถ้าหากเขาเองต้องเป็นคนกู้เงินจาก IMF เพื่อมาแก้ปัญหา ส่วนอีกแนวทางคือการควบคุมเงินไหลเข้าออกประเทศ อาจเป็นอีกวิธีที่ธนาคารกลางและรัฐบาลตุรกีอาจต้องประกาศออกมา ซึ่งจะเหมือนประเทศกรีซ หรือแม้แต่ไซปรัส ช่วงวิกฤติการเงิน

ดังนั้นวิกฤติค่าเงินในตุรกีจึงเป็นเรื่องที่ต้องจับตาอย่างยิ่ง

ซึ่งปัจจัยโดยตรงหลักของนักลงทุนที่จับตามองว่ายุโรปอาจจะมีผลกระทบโดยตรงจึงทำให้สกุลเงินยูโรมีการอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องหลังจากที่เหตุการณ์เพราะว่าซ้ำซ้อนของประเทศตุรกีที่ส่งผลกระทบโดยตรงและธนาคารกลางยุโรป ได้มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับผลกระทบต่อเนื่องจึงต้อง จับตาดูการแก้ปัญหาของธนาคารกลางยุโรปและประเทศตุรกีว่าจะมีการแก้ปัญหาตามทางออกที่กล่าวไว้อย่างไรซึ่งจะส่งผลสร้างความผันผวนให้กับอัตราแลกเปลี่ยนของสกุลเงินยูโรโดยตรงด้วยเช่นเดียวกัน

Screen Shot 2561-08-13 at 13.37.47.png

โดยคู่สกุลเงินที่น่าจับตามองคู่สกุลเงินแรกก็คือ EURUSD คู่สกุลเงินนี้ได้ร่วงลงแตะระดับต่ำสุดของหนึ่งปีสามเดือนโดยที่ร่วงลงมาถึง 1.13952 โดยประมาณต้องติดตามว่าสกุลเงินยูโรจะมีการอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องหรือไม่ซึ่งกดดันคู่เงินนี้อย่างแน่นอน แต่อย่างไรก็ตามควรติดตามในแนวรับแนวต้าน (MODULE) ที่สำคัญซึ่งแนวรับแนวต้านที่สำคัญนี้จะเป็นจุดที่ ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดเนื่องจากว่าจะมีการพักตัวของราคาเพื่อที่จะรอเหตุการณ์ที่สำคัญของในแต่ละเหตุการณ์โดยถ้าเกิดว่าสกุลเงินยูโรยังมีการอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องแนะนำควรติดตามในแนวรับ (MODULE) ที่หนึ่งก็คือ 1.13667 และท่านยังมีการร่วงลงอย่างต่อเนื่องควรติดตามแนวรับ (MODULE) ที่สองที่สำคัญอย่างมากก็คือ 1.13207 และแนวรับ (MODULE) ที่สามที่จะต้องติดตามก็คือ 1.12855 อย่างไรก็ตามถ้าเกิดว่ามีการดีดตัวขึ้นของสกุลเงินยูโรหรือว่าการปั่นค่าลงของสกุลเงินดอลล่าร์ซึ่งทำให้คู่เงินนี้มีการดีดตัวขึ้นควรติดตามกรอบแนวต้าน (MODULE) ที่หนึ่งก็คือ 1.14332 และแนะนำควรติดตามกรอบแนวต้าน (MODULE) ที่สองและที่สามก็คือ 1.14665 และ 1.15344 ซึ่งเป็นกรอบแนวรับแนวต้านที่สำคัญในครั้งนี้

Screen Shot 2561-08-13 at 13.39.57.png

อีกหนึ่งคู่เงินที่มีความผันผวนเช่นเดียวกันก็คือ EURCHF ในคู่เงินนี้ก็ยังมีการร่วงลงอย่างต่อเนื่องเนื่องจากว่าสกุลเงินยูโรมีการกดดันอัตราแลกเปลี่ยนของคู่เงินนี้โดยที่อาจจะมีการร่วงลงอย่างต่อเนื่องต้องรอดูว่าสกุลเงินสวิตฟังจะมีการสร้างความผันผวนให้กับคู่เงินนี้ได้หรือไม่ ถ้าเกิดว่ายังมีการร่วงลงอย่างต่อเนื่องควรติดตามในกรอบแนวรับแนวต้านที่สำคัญโดยให้กรอบแนวรับ (MODULE) ไว้ก็คือ 1.12894 ซึ่งเป็นกรอบแนวรับแรกถ้าเกิดว่ายังมีการร่วงลงต่อเนื่องก็อาจจะควรติดตามในกรอบแนวรับ (MODULE) ที่สองและที่สามก็คือ 1.12690 และ 1.12308 อย่างไรก็ตามถ้ามีการปรับตัวหรือมีการกดดันทำให้สกุลเงินนี้มีการดีดตัวขึ้นควรติดตามกรอบแนวต้าน (MODULE) ที่หนึ่งก็คือ 1.13576 ถ้าเกิดมีความรุนแรงมากหรือมีการกดดันและดีดตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องควร ติดตามกรอบแนวต้านที่สองและที่สามก็คือ 1.14061 และ 1.146050 เป็นกรอบแนวรับแนวต้านที่สำคัญในวันนี้

ในช่วงนี้ติดตามแต่ละสำนักเกี่ยวกับการผันผวนของเหตุการณ์ที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับตุรกีอย่างใกล้ชิดเนื่องจากว่าธนาคารกลางยุโรปได้จับตามองการตัดสินใจของตุรกีว่าจะออกมาในทิศทางไหนเนื่องจากสกุลเงิน Lira ยังมีความผันผวนและอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องซึ่งต้องติดตามสหรัฐอเมริกาว่าจะมีทิศทางอย่างไรเกี่ยวกับสงครามทางการค้าพร้อมกับการปรับขึ้นภาษี ของประเทศสหรัฐอเมริกาที่จะมีการกดดันประเทศตุรกีโดยตรงในช่วงนี้จึงควรติดตามอย่างใกล้ชิด

ท่านที่เทรดสกุลเงินนี้ นั้นควรให้สังเกตตาม Zone แนวรับแนวต้าน หรือเรียกว่า (MODULE) ตรงที่แจ้งไว้ด้วยเนื่องจากอาจจะมีความผันผวนจนสุด Zone หรือ (MODULE) ซึ่งในการเทรดนั้นท่านที่ยังไม่มี Order หรือมีออเดอร์ EUR ติดอยู่ ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดด้วยนะครับ

(แนวรับแนวต้านหรือเรียกว่า Module นั้นก็คือ ZONE ดังนั้นเป้าหมายที่แจ้งไปคือ Zone ดังนั้นไม่ต้องตามเป้าหมายเป๊ะแต่ให้ดูตาม Zone เพื่อจะเป็นจุดสำคัญในการตัดสินใจว่าจะเข้าเทรดหรือตัดสินใจของการเข้าออกออเดอร์หรือการจัดการออเดอร์ที่ดีที่สุด

Purich Mahayosanan

แบ่งปันกับเพื่อน:

คล้ายกัน

ข่าวล่าสุด

เปิดทันที

FBS เก็บรักษาข้อมูลของคุณไว้เพื่อใช้งานเว็บไซต์นี้ เมื่อกดปุ่ม "ยอมรับ" ถือว่าคุณยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเรา