เหตุการณ์กดดันสกุลเงินยูโรจากประเทศตุรกีที่มีความผันผวนในช่วงนี้

เหตุการณ์กดดันสกุลเงินยูโรจากประเทศตุรกีที่มีความผันผวนในช่วงนี้

อัปเดทแล้ว • 2019-11-11

วันนี้ 13 สิงหาคม 2018 เหตุการณ์ในตารางยังไม่มีเหตุการณ์ที่สร้างความกดดันและสร้างความผันผวนให้กับแต่ละสกุลเงินจึงควรติดตามเหตุการณ์เอาตารางและปัจจัยหนุนต่างๆโดยที่จะมีเหตุการณ์นอกตารางและปัจจัยหนุนต่างๆที่แต่ละสำนักข่าวได้วิตกกังวลในวันนี้

EUR20.jpg

ปัจจัยที่หน้าที่ตามในช่วงวันสองวันนี้ก็คือสกุลเงินยูโรเนื่องจากว่าเหตุการณ์ของประเทศตุรกีที่ทำให้สกุลเงิน Lira มีการอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็นทั้งทางด้านการเมืองและทางด้านสงครามทางการค้าของสหรัฐอเมริกาและจีนซึ่ง ประเด็นที่สำคัญของประเทศตุรกีก็คือสามประเด็นหลักดังนี้

  1. ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่แข็งค่า
  2. ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นเรื่อยๆ
  3. สงครามการค้า

ล่าสุด เคราะห์ยังซ้ำประเทศตุรกีไปอีกรอบ เมื่อประธานาธิบดีสหรัฐได้ประกาศขึ้นภาษีนำเข้าเหล็กและอลูมิเนียมจากตุรกีเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 50% และ 20% ตามลำดับ ทำให้ค่าเงิน Lira ของตุรกีทรุดลงหนักไปอีก ซึ่งทรัมป์มองว่าค่าเงินของตุรกีที่อ่อนค่าลงเพิ่ม ทำให้สหรัฐต้องเพิ่มภาษีนำเข้าอีก และยังแถมท้ายด้วยว่าความสัมพันธ์ของ 2 ประเทศยังไม่ค่อยดีเท่าไหร่

ยุโรปอาจได้รับผลกระทบ

ธุรกิจในประเทศตุรกีส่วนมากจะมีการกู้เงินผ่านทวีปยุโรปเป็นส่วนใหญ่ โดย 2 ประเทศที่รับเคราะห์มากที่สุดในเรื่องนี้คือ สเปน รวมไปถึง ฝรั่งเศส ซึ่งมูลค่าหนี้ที่ 2 ประเทศเป็นเจ้าหนี้อยู่ประมาณ 121,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

เคราะห์กรรมยังอาจไปตกกับธนาคารใหญ่ในยุโรปซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ธนาคารในประเทศตุรกีอย่าง Garanti Bank ซึ่ง BBVA จากสเปนถือหุ้นมากถึง 50% ส่วนทางด้าน BNP Paribas ของฝรั่งเศสที่ถือหุ้น 72.5% ในธนาคาร TEB ยังรวมไปถึง Unicredit ของอิตาลีถือหุ้นในธนาคาร Yapi Kredi Bank อีก 41% นอกจากนั้นยังมีธนาคารอื่นๆ ที่มีธุรกรรมสำคัญๆ ในประเทศตุรกี เช่น HSBC หรือ Citi ที่มีสาขาในตุรกี

ถ้าหากปัญหาค่าเงิน Lira ระเบิดขึ้นมา ย่อมส่งผลกระทบต่อธนาคารและรวมไปถึง 2 ประเทศที่กล่าวไว้ข้างต้น

ทางออกที่เหลือไม่กี่ทาง

ตลาดกำลังมองว่าธนาคารกลางของตุรกีแทบจะไม่เหลือเครื่องมือในการฟื้นความเชื่อมั่นของค่าเงิน Lira กลับมาได้เลย นอกจากนั้นการที่จะให้ธนาคารกลางแทรกแซงค่าเงิน Lira แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย เนื่องจากธนาคารกลางตุรกีแทบจะไม่เหลือกระสุนในการปกป้องค่าเงินเลย

ทางออกของตุรกีจึงเหลือไม่กี่ทางได้แก่ การกู้เงินจาก IMF ซึ่งรัฐบาลของประธานาธิบดี Erdogan ได้เคยประกาศความสำเร็จในการคืนเงินกู้ให้กับ IMF มาแล้ว ดังนั้นอาจเป็นเรื่องที่น่าหนักใจถ้าหากเขาเองต้องเป็นคนกู้เงินจาก IMF เพื่อมาแก้ปัญหา ส่วนอีกแนวทางคือการควบคุมเงินไหลเข้าออกประเทศ อาจเป็นอีกวิธีที่ธนาคารกลางและรัฐบาลตุรกีอาจต้องประกาศออกมา ซึ่งจะเหมือนประเทศกรีซ หรือแม้แต่ไซปรัส ช่วงวิกฤติการเงิน

ดังนั้นวิกฤติค่าเงินในตุรกีจึงเป็นเรื่องที่ต้องจับตาอย่างยิ่ง

ซึ่งปัจจัยโดยตรงหลักของนักลงทุนที่จับตามองว่ายุโรปอาจจะมีผลกระทบโดยตรงจึงทำให้สกุลเงินยูโรมีการอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องหลังจากที่เหตุการณ์เพราะว่าซ้ำซ้อนของประเทศตุรกีที่ส่งผลกระทบโดยตรงและธนาคารกลางยุโรป ได้มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับผลกระทบต่อเนื่องจึงต้อง จับตาดูการแก้ปัญหาของธนาคารกลางยุโรปและประเทศตุรกีว่าจะมีการแก้ปัญหาตามทางออกที่กล่าวไว้อย่างไรซึ่งจะส่งผลสร้างความผันผวนให้กับอัตราแลกเปลี่ยนของสกุลเงินยูโรโดยตรงด้วยเช่นเดียวกัน

Screen Shot 2561-08-13 at 13.37.47.png

โดยคู่สกุลเงินที่น่าจับตามองคู่สกุลเงินแรกก็คือ EURUSD คู่สกุลเงินนี้ได้ร่วงลงแตะระดับต่ำสุดของหนึ่งปีสามเดือนโดยที่ร่วงลงมาถึง 1.13952 โดยประมาณต้องติดตามว่าสกุลเงินยูโรจะมีการอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องหรือไม่ซึ่งกดดันคู่เงินนี้อย่างแน่นอน แต่อย่างไรก็ตามควรติดตามในแนวรับแนวต้าน (MODULE) ที่สำคัญซึ่งแนวรับแนวต้านที่สำคัญนี้จะเป็นจุดที่ ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดเนื่องจากว่าจะมีการพักตัวของราคาเพื่อที่จะรอเหตุการณ์ที่สำคัญของในแต่ละเหตุการณ์โดยถ้าเกิดว่าสกุลเงินยูโรยังมีการอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องแนะนำควรติดตามในแนวรับ (MODULE) ที่หนึ่งก็คือ 1.13667 และท่านยังมีการร่วงลงอย่างต่อเนื่องควรติดตามแนวรับ (MODULE) ที่สองที่สำคัญอย่างมากก็คือ 1.13207 และแนวรับ (MODULE) ที่สามที่จะต้องติดตามก็คือ 1.12855 อย่างไรก็ตามถ้าเกิดว่ามีการดีดตัวขึ้นของสกุลเงินยูโรหรือว่าการปั่นค่าลงของสกุลเงินดอลล่าร์ซึ่งทำให้คู่เงินนี้มีการดีดตัวขึ้นควรติดตามกรอบแนวต้าน (MODULE) ที่หนึ่งก็คือ 1.14332 และแนะนำควรติดตามกรอบแนวต้าน (MODULE) ที่สองและที่สามก็คือ 1.14665 และ 1.15344 ซึ่งเป็นกรอบแนวรับแนวต้านที่สำคัญในครั้งนี้

Screen Shot 2561-08-13 at 13.39.57.png

อีกหนึ่งคู่เงินที่มีความผันผวนเช่นเดียวกันก็คือ EURCHF ในคู่เงินนี้ก็ยังมีการร่วงลงอย่างต่อเนื่องเนื่องจากว่าสกุลเงินยูโรมีการกดดันอัตราแลกเปลี่ยนของคู่เงินนี้โดยที่อาจจะมีการร่วงลงอย่างต่อเนื่องต้องรอดูว่าสกุลเงินสวิตฟังจะมีการสร้างความผันผวนให้กับคู่เงินนี้ได้หรือไม่ ถ้าเกิดว่ายังมีการร่วงลงอย่างต่อเนื่องควรติดตามในกรอบแนวรับแนวต้านที่สำคัญโดยให้กรอบแนวรับ (MODULE) ไว้ก็คือ 1.12894 ซึ่งเป็นกรอบแนวรับแรกถ้าเกิดว่ายังมีการร่วงลงต่อเนื่องก็อาจจะควรติดตามในกรอบแนวรับ (MODULE) ที่สองและที่สามก็คือ 1.12690 และ 1.12308 อย่างไรก็ตามถ้ามีการปรับตัวหรือมีการกดดันทำให้สกุลเงินนี้มีการดีดตัวขึ้นควรติดตามกรอบแนวต้าน (MODULE) ที่หนึ่งก็คือ 1.13576 ถ้าเกิดมีความรุนแรงมากหรือมีการกดดันและดีดตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องควร ติดตามกรอบแนวต้านที่สองและที่สามก็คือ 1.14061 และ 1.146050 เป็นกรอบแนวรับแนวต้านที่สำคัญในวันนี้

ในช่วงนี้ติดตามแต่ละสำนักเกี่ยวกับการผันผวนของเหตุการณ์ที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับตุรกีอย่างใกล้ชิดเนื่องจากว่าธนาคารกลางยุโรปได้จับตามองการตัดสินใจของตุรกีว่าจะออกมาในทิศทางไหนเนื่องจากสกุลเงิน Lira ยังมีความผันผวนและอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องซึ่งต้องติดตามสหรัฐอเมริกาว่าจะมีทิศทางอย่างไรเกี่ยวกับสงครามทางการค้าพร้อมกับการปรับขึ้นภาษี ของประเทศสหรัฐอเมริกาที่จะมีการกดดันประเทศตุรกีโดยตรงในช่วงนี้จึงควรติดตามอย่างใกล้ชิด

ท่านที่เทรดสกุลเงินนี้ นั้นควรให้สังเกตตาม Zone แนวรับแนวต้าน หรือเรียกว่า (MODULE) ตรงที่แจ้งไว้ด้วยเนื่องจากอาจจะมีความผันผวนจนสุด Zone หรือ (MODULE) ซึ่งในการเทรดนั้นท่านที่ยังไม่มี Order หรือมีออเดอร์ EUR ติดอยู่ ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดด้วยนะครับ

(แนวรับแนวต้านหรือเรียกว่า Module นั้นก็คือ ZONE ดังนั้นเป้าหมายที่แจ้งไปคือ Zone ดังนั้นไม่ต้องตามเป้าหมายเป๊ะแต่ให้ดูตาม Zone เพื่อจะเป็นจุดสำคัญในการตัดสินใจว่าจะเข้าเทรดหรือตัดสินใจของการเข้าออกออเดอร์หรือการจัดการออเดอร์ที่ดีที่สุด

คล้ายกัน

เงินเฟ้อสวิส
เงินเฟ้อสวิส

การประกาศของสวิตเซอร์แลนด์ที่จะมีการประกาศที่สำคัญไม่ว่าจะเป็นทั้งในส่วนของการประกาศอัตราเงินเฟ้อของซื้อซะเลนส์

PMI ภาคการผลิตยูโรโซน
PMI ภาคการผลิตยูโรโซน

โดยการคาดหวังในครั้งนี้นักวิเคราะห์ได้มีการคาดการณ์ในหลายปัจจัยไม่ว่าจะเป็นทั้งดัชนีพีเอ็มไอภาคการผลิตของเยอรมนีประจำ เดือนสิงหาคมนักวิเคราะห์

ข่าวล่าสุด

NASDAQ มีโอกาสลงต่อได้ ถ้าราคาสามารถเคลื่อนที่ลงไปถึง 17,700 จุด ได้
NASDAQ มีโอกาสลงต่อได้ ถ้าราคาสามารถเคลื่อนที่ลงไปถึง 17,700 จุด ได้

ก่อนหน้านี้ เรามีการประเมินว่า ให้รอเข้าเทรด BUY NASDAQ (US500) ที่ระดับ 17,200 จุด โดยสามารถตั้งจุด TP ได้ที่บริเวณ 19,300 จุด และตั้งจุด SL

ฝากเงินกับระบบการชำระเงินในประเทศของคุณ

ประกาศการเก็บรวบรวมข้อมูล

FBS เก็บรักษาข้อมูลของคุณไว้เพื่อใช้งานเว็บไซต์นี้ เมื่อกดปุ่ม "ยอมรับ" ถือว่าคุณยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเรา

โทรกลับ

ผู้จัดการของเราจะโทรหาคุณในเร็ว ๆ นี้

เปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์

เราได้รับคำร้องของคุณแล้ว

ผู้จัดการของเราจะโทรหาคุณในเร็ว ๆ นี้

คำขอโทรกลับครั้งต่อไปสำหรับหมายเลขโทรศัพท์นี้
จะพร้อมใช้งานใน

หากคุณมีปัญหาเร่งด่วนโปรดติดต่อเราผ่านทาง
สนทนาออนไลน์

เกิดข้อผิดพลาดภายใน กรุณาลองใหม่อีกครั้งในภายหลัง

อย่ามัวเสียเวลา - ติดตามดูว่า NFP ส่งผลกระทบอย่างไร ต่อ USD แล้วทำกำไรเลยสิ!

คุณกำลังใช้เบราว์เซอร์เวอร์ชันเก่ากว่านี้

อัปเดตเป็นเวอร์ชันล่าสุดหรือลองใช้เพื่อการเทรดที่สะดวกสบายและมีประสิทธิผลยิ่งขึ้น

Safari Chrome Firefox Opera