ความแข็งแกร่งของสกุลเงิน

อ่านบทความบนเว็บไซต์ของ FBS

จะเลือกสกุลเงินที่จะซื้อขายในวันนี้ยังไงดี? คุณสามารถเลือกตราสารที่จะซื้อขายได้โดยใช้ปฏิทินการซื้อขายและค้นหาเหตุการณ์ที่มีผลกระทบต่อตราสาร นอกจากนี้ การวิเคราะห์ทางเทคนิคก็อาจให้คำแนะนำเกี่ยวกับสินทรัพย์ที่มีแนวโน้มที่ดีได้ด้วยเช่นกัน ยังไม่หมดเพียงแค่นั้น โดยในบทความนี้ คุณจะได้รู้เกี่ยวกับความแข็งแกร่งของสกุลเงินและวิธีที่คุณสามารถใช้ตัวบ่งชี้ง่าย ๆ นี้เพื่อทำให้การซื้อขายของคุณขับเคลื่อนด้วยข้อมูลมากขึ้น

จากบทความนี้ คุณจะรู้ว่าความแข็งแกร่งของสกุลเงินคืออะไร, Currency Strength Meter (CSM) คืออะไร, วิธีคำนวณความแข็งแกร่งของสกุลเงิน และวิธีการใช้มันกับการวิเคราะห์ประเภทต่างๆ ตัวอย่างต่าง ๆ จะช่วยให้คุณเข้าใจหัวข้อนี้ได้ดีขึ้นและนำความรู้ใหม่นี้ไปใช้ได้ทันทีหลังจากที่คุณอ่านจบ

ประเด็นสำคัญ

  1. ความแข็งแกร่งของสกุลเงินวัดอำนาจเชิงสัมพัทธ์ของสกุลเงินหนึ่งเมื่อเทียบกับอีกสกุลเงินหนึ่ง และส่งผลต่ออัตราแลกเปลี่ยน
  2. Currency Strength Meter (CSM) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวัดความแข็งแกร่งของสกุลเงินแต่ละสกุลผ่านปัจจัยพื้นฐานหรือการเคลื่อนไหวที่สัมพันธ์กันของสกุลเงินหนึ่งต่ออีกสกุลเงินหนึ่ง
  3. ความแข็งแกร่งของสกุลเงินคำนวณจากข้อมูลปัจจัยพื้นฐานหรือข้อมูลราคา
  4. ความแข็งแกร่งของสกุลเงินทำหน้าที่เป็นตัวบ่งชี้ทางเศรษฐกิจที่มีค่าซึ่งให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสถานะทางการเงินและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศหนึ่ง ๆ โดยธนาคารนำข้อมูลนี้ไปใช้ในการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายการเงิน
  5. นักวิเคราะห์ทางเทคนิคใช้ตัวบ่งชี้ความแข็งแกร่งของสกุลเงินเพื่อระบุแนวโน้มในตลาด Forex

ความแข็งแกร่งของสกุลเงินคืออะไร?

ความแข็งแกร่งของสกุลเงินวัดอำนาจเชิงสัมพัทธ์ของสกุลเงินหนึ่งเมื่อเทียบกับอีกสกุลเงินหนึ่ง และส่งผลต่ออัตราแลกเปลี่ยน สกุลเงินที่แข็งค่าจะมีอุปสงค์สูง มูลค่าเพิ่มขึ้น และมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ในขณะที่สกุลเงินที่อ่อนค่าจะมีมูลค่าลดลงและไม่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ

คุณสามารถมองว่าความแข็งแกร่งของสกุลเงินเป็นตัวบ่งชี้ที่สะท้อนถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสกุลเงินได้ เช่น ข้อมูลปัจจัยพื้นฐาน การดำเนินการของเศรษฐกิจโดยรวม และอัตราดอกเบี้ย ในการคำนวณความแข็งแกร่งของสกุลเงิน มักจะเปรียบเทียบสกุลเงินหนึ่งกับสกุลเงินอื่นโดยใช้ตะกร้าที่กำหนดไว้ล่วงหน้า เช่น ดัชนีดอลลาร์สหรัฐ (DXY) คุณสามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับดัชนีดอลลาร์สหรัฐได้ที่ ช่อง Telegram ของเรา

Currency Strength Meter (CSM) คืออะไร

Currency Strength Meter (CSM) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวัดความแข็งแกร่งของสกุลเงินแต่ละสกุล CSM จะแสดงความแข็งแกร่งสัมพัทธ์ของแต่ละสกุลเงินตามเวลาจริง ช่วยให้เทรดเดอร์และนักลงทุนสามารถระบุได้อย่างรวดเร็วว่าสกุลเงินใดกำลังแข็งค่าหรืออ่อนค่า

โดยปกติแล้วมันจะแสดงความแข็งแกร่งของแต่ละสกุลเงินในระดับ 0 ถึง 10 โดยตัวเลขที่สูงกว่าจะแสดงถึงสกุลเงินที่แข็งแกร่งกว่า CSM สามารถนำมาใช้ได้ในหลากหลายวิธี เช่น ใช้กำหนดคู่สกุลเงินที่จะซื้อขายหรือใช้เป็นสัญญาณสำหรับการเข้าและออกจากการซื้อขาย ในหัวข้อถัดไป เราจะเจาะลึกถึงวิธีการคำนวณความแข็งแกร่งของสกุลเงินและใช้เป็นตัวบ่งชี้ทางเศรษฐกิจ

ที่มา: https://currencystrengthmeter.org/

วิธีการคำนวณความแข็งแกร่งของสกุลเงิน?

การคำนวณความแข็งแกร่งของสกุลเงินมีสองประเภท ได้แก่ คำนวณตามข้อมูลปัจจัยพื้นฐาน และคำนวณตามข้อมูลราคา โดยทั่วไปแล้ว ความแข็งแกร่งของสกุลเงินตามข้อมูลราคาจะคำนวณจาก DXY (ดัชนีดอลลาร์สหรัฐ) ซึ่งเป็นข้อมูลอ้างอิงสำหรับดัชนีสกุลเงินอื่น ๆ หากคู่สกุลเงินบางคู่ (ตัวอย่างเช่น NZDUSD) อยู่ในแนวโน้มขาขึ้น คุณก็จะสามารถระบุได้ว่าสิ่งนี้เกิดขึ้นเนื่องมาจากการแข็งค่าของ NZD หรือการอ่อนค่าของ USD ตัวบ่งชี้นี้มักจะคำนวณจากสกุลเงินหลัก ซึ่งคิดเป็น 90% ของปริมาณการซื้อขายของตลาด Forex ทั้งหมด

โดยการคำนวณตามปัจจัยพื้นฐานจะวัดด้วยการใช้รายงานเศรษฐกิจที่สำคัญต่าง ๆ รวมเข้าด้วยกัน เช่น GDP, PMI, CPI และอัตราดอกเบี้ย คุณสามารถดูข้อมูลเหล่านี้ได้ตามเวลาจริงด้วยปฏิทินเศรษฐกิจของเรา

ถึงแม้ว่าเทรดเดอร์จะสามารถคำนวณความแข็งแกร่งของสกุลเงินได้ด้วยตัวเอง แต่โดยปกติแล้วเทรดเดอร์จะไม่วิเคราะห์ความแข็งแกร่งของสกุลเงินเองหรอกนะ แต่จะใช้ CSM แทน Currency Strength Meter จะเปรียบเทียบระหว่างสกุลเงินหลักต่าง ๆ ที่จับคู่กัน (USD, GBP, EUR, CHF, JPY, CAD, NZD และ AUD) และบอกให้ทราบถึงความแข็งแกร่งของสกุลเงินที่เกี่ยวข้อง

วิธีการคำนวณก็จะแตกต่างกันไป แต่มักจะเกี่ยวข้องกับการถ่วงน้ำหนักของปัจจัยต่าง ๆ การสร้างดัชนี และทำให้ผลลัพธ์เป็นมาตรฐานในระดับ 0 ถึง 10 อย่างไรก็ตาม ลักษณะการคำนวณที่เป็นอัตนัยหมายความว่าการคำนวณนั้นอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับวิธีการและแหล่งข้อมูลที่ใช้ อย่างไรก็ดี Currency Strength Meter นำเสนอมุมมองตามเวลาจริง ซึ่งช่วยให้เทรดเดอร์เทรดได้ดีขึ้น

บริษัทต่างๆ สร้างเครื่องวัดความแข็งแกร่งของสกุลเงินของตนเอง ซึ่งแสดงความแข็งแกร่งสัมพัทธ์ของแต่ละสกุลเงินในช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา ซึ่งบางครั้งก็จะแสดงสกุลเงินแต่ละสกุลเทียบกับสกุลเงินอื่น โดยที่สำคัญคือจะแสดงให้คุณได้เห็นว่าคู่สกุลเงินแต่ละคู่เป็นอย่างไร นอกจากนี้ ยังมีการรวมคู่สกุลเงินทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับสกุลเงินหนึ่ง ๆ เพื่อคำนวณความแข็งแกร่งโดยรวมของสกุลเงินนั้นด้วย ซึ่งข้อมูลมักจะแสดงในรูปแบบของ "แผนภูมิความร้อน" หรือบางครั้งก็อยู่ในรูปแบบของกราฟเส้น ตัวอย่างของเครื่องวัดดังกล่าวแสดงดังด้านล่าง

ความแข็งแกร่งของสกุลเงินในรูปแบบของ "แผนภูมิความร้อน"

ความแข็งแกร่งของสกุลเงินเป็นตัวบ่งชี้ทางเศรษฐกิจ

ความแข็งแกร่งของสกุลเงินทำหน้าที่เป็นตัวบ่งชี้ทางเศรษฐกิจที่มีค่าซึ่งให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสถานะทางการเงินและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศหนึ่ง ๆ สกุลเงินที่แข็งค่ามักเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพ อัตราเงินเฟ้อต่ำ และอัตราดอกเบี้ยต่ำ ซึ่งน่าสนใจสำหรับนักลงทุนและเทรดเดอร์ต่างชาติ ในทางกลับกัน สกุลเงินที่อ่อนค่ามักจะเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจที่ไม่มีความเสถียรภาพ อัตราเงินเฟ้อที่สูง และอัตราดอกเบี้ยที่สูง ตัวอย่างเช่น หากสกุลเงินของประเทศหนึ่งอ่อนค่า อาจบ่งชี้ว่าประเทศนั้นกำลังเผชิญกับความวุ่นวายทางเศรษฐกิจที่เป็นอุปสรรคต่อการลงทุนจากต่างประเทศ

การทำความเข้าใจความแข็งแกร่งของสกุลเงินสามารถให้ข้อมูลที่มีค่าสำหรับธนาคารกลางที่ใช้ข้อมูลนี้เพื่อปรับความเสี่ยงและอัตราแลกเปลี่ยน ความแข็งแกร่งของสกุลเงินเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับทุก ๆ คนที่มีส่วนร่วมในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ เพราะมันแสดงให้เราเห็นว่าเกิดอะไรขึ้นระหว่างสกุลเงินต่าง ๆ

โดยในบางครั้ง สกุลเงินที่แข็งค่าอาจแสดงถึงแนวโน้มระยะยาวที่จะส่งผลกระทบอย่างมากต่อเศรษฐกิจโลก เทรดเดอร์ Forex ขั้นสูงทุกคนใช้ความแข็งแกร่งของสกุลเงินในกลยุทธ์การซื้อขายของพวกเขา แม้ว่าพวกเขาจะไม่ได้เปิด CSM ก็ตาม การเข้าใจความแข็งแกร่งของสกุลเงินได้โดยสัญชาตญาณยังคงมีความสำคัญต่อผู้เข้าร่วมตลาด

ตัวบ่งชี้ความแข็งแกร่งของสกุลเงินในการวิเคราะห์ทางเทคนิค

นักวิเคราะห์ทางเทคนิคใช้ตัวบ่งชี้ความแข็งแกร่งของสกุลเงินเพื่อระบุแนวโน้มในตลาด Forex การวัดความแข็งแกร่งของสกุลเงินนั้นมีหลายวิธี ได้แก่ ความแข็งแกร่งของสกุลเงินแบบสัมบูรณ์ (Absolute Currency Strength : ACS) และความแข็งแกร่งของสกุลเงินแบบสัมพัทธ์ (Relative Currency Strength : RCS)

ความแข็งแกร่งของสกุลเงินแบบสัมบูรณ์ (ACS)

ความแข็งแกร่งของสกุลเงินแบบสัมบูรณ์ (ACS) กำหนดค่าให้แต่ละสกุลเงินตามความแข็งแกร่งของตนเอง โดยไม่คำนึงถึงความสัมพันธ์กับสกุลเงินอื่น ตัวอย่างเช่น ค่าที่สูงของดอลลาร์สหรัฐในการวัดค่า ACS จะบ่งชี้ว่าดอลลาร์สหรัฐนั้นแข็งค่า โดยไม่คำนึงถึงความแข็งแกร่งสัมพัทธ์เมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่น ๆ

เทรดเดอร์ใช้ตัวบ่งชี้ต่าง ๆ เช่น ข้อมูลเศรษฐกิจ นโยบายของธนาคารกลาง ความเสถียรภาพทางการเมือง และความเชื่อมั่นของนักลงทุนในการคำนวณค่า ACS ยิ่งมูลค่าสูงเท่าไร สกุลเงินก็ยิ่งแข็งแกร่งเท่านั้น

ความแข็งแกร่งของสกุลเงินแบบสัมพัทธ์ (RCS)

ในทางกลับกัน ความแข็งแกร่งของสกุลเงินแบบสัมพัทธ์ (RCS) จะวัดความแข็งแกร่งของสกุลเงินหนึ่งเทียบกับอีกสกุลเงินหนึ่ง ตัวอย่างเช่น หาก GBP แข็งแกร่งเมื่อเทียบกับ AUD ค่า RCS สำหรับ GBP จะสูงกว่าค่าของ AUD

ในการคำนวณ RCS เทรดเดอร์ (หรือบริษัท) จะวางแผนอัตราแลกเปลี่ยนโดยใช้สูตรต่าง ๆ และคำนวณส่วนต่าง หากอัตราแลกเปลี่ยนของสกุลเงินแรกสูงกว่าสกุลเงินที่สอง แสดงว่าสกุลเงินแรกแข็งค่ากว่า หากเป็นในทางตรงกันข้าม สกุลเงินที่สองก็จะแข็งแกร่งกว่า

นักวิเคราะห์ทางเทคนิคมักใช้ตัวบ่งชี้ความแข็งแกร่งของสกุลเงินและตัวบ่งชี้ทางเทคนิคอื่น ๆ เช่น เส้นแนวโน้มและเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ เพื่อระบุแนวโน้มของสกุลเงิน

โดยสรุปแล้ว ตัวบ่งชี้ความแข็งแกร่งของสกุลเงินในการวิเคราะห์ทางเทคนิคมีค่าในรูปแบบที่แตกต่างกัน ในขณะที่ความแข็งแกร่งแบบสัมพัทธ์ช่วยให้เทรดเดอร์เปรียบเทียบสองสกุลเงิน ความแข็งแกร่งแบบสัมบูรณ์ชี้ไปที่สถานะโดยรวมของตลาด

วิธีการซื้อขายด้วยความแข็งแกร่งของสกุลเงิน?

การซื้อขายด้วยความแข็งแกร่งของสกุลเงินต้องทำหลายขั้นตอน ขั้นแรก เทรดเดอร์จะดูที่ Currency Strength Meter เพื่อระบุว่าจะเทรดอะไรและเทรดไปในทิศทางใด จากนั้น เทรดเดอร์สามารถใช้หลาย ๆ กลยุทธ์เพื่อใช้ประโยชน์จากความแข็งแกร่งของสกุลเงินได้ ตัวอย่างเช่น:

1. การซื้อขายคู่สกุลเงิน: สิ่งนี้เกี่ยวข้องกับการซื้อขายคู่สกุลเงินโดยที่สกุลเงินที่แข็งค่ากว่าจับคู่กับสกุลเงินที่อ่อนค่ากว่า ตัวอย่างเช่น หากดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าและยูโรอ่อนค่า เทรดเดอร์อาจเข้าขายคู่ EURUSD

2. การซื้อขายความสัมพันธ์เชิงบวก: ในกลยุทธ์นี้ เทรดเดอร์จำเป็นต้องค้นหาคู่สกุลเงินสองคู่ที่เคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกันและเทรดสกุลเงินทั้งคู่ในทิศทางเดียวกัน ตัวอย่างเช่น หาก AUDUSD และ EURUSD มีความสัมพันธ์กันในเชิงบวก เทรดเดอร์อาจเข้าขายคู่สกุลเงินทั้งสองเมื่อดอลลาร์สหรัฐแข็งค่า

3. การซื้อขายความสัมพันธ์เชิงลบ: เทรดเดอร์พบคู่สกุลเงินสองคู่ที่เคลื่อนไหวในทิศทางตรงกันข้ามและเทรดในทิศทางตรงกันข้าม ตัวอย่างเช่น หาก GBPUSD และ EURUSD มีความสัมพันธ์กันในเชิงลบ เทรดเดอร์อาจเข้าขายคู่สกุลเงินหนึ่ง ในขณะที่เข้าซื้ออีกคู่หนึ่งเมื่อดอลลาร์สหรัฐแข็งค่า

สิ่งสำคัญคือต้องจำไว้ให้ดีว่าแม้ความแข็งแกร่งของสกุลเงินจะเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ แต่ก็ไม่ได้เป็นสิ่งที่รับประกันความสำเร็จ เทรดเดอร์ควรพิจารณาปัจจัยหลายประการและมีแผนการจัดการความเสี่ยงอยู่เสมอ

ทำไมต้องซื้อขายตามรายงานความแข็งแกร่งของสกุลเงินกับ FBS

ในฐานะโบรกเกอร์ Forex ที่มีชื่อเสียง FBS อนุญาตให้คุณซื้อขายคู่สกุลเงินต่าง ๆ มากมาย รวมถึงสกุลเงินหลักทั้งหมด (USD, GBP, EUR, CHF, JPY, CAD, NZD และ AUD) รวมถึงสกุลเงินแปลกใหม่ เช่น TRY, CNH, SGD และ MXN

เมื่อดูที่ CSM คุณสามารถตัดสินใจได้ว่าจะเข้าซื้อหรือเข้าขายคู่สกุลเงินหนึ่ง ๆ ด้วย FBS คุณสามารถใช้ประโยชน์สูงสุดจากการตัดสินใจของคุณได้ วางคำสั่งซื้อขายที่จะได้รับการดำเนินการที่รวดเร็วอย่างเหลือเชื่อ และได้รับประโยชน์จากค่าสเปรดที่แคบและตราสารการซื้อขายที่หลากหลาย

ความแข็งแกร่งของสกุลเงินเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับทุกคนที่มีส่วนร่วมในตลาด Forex และสามารถให้ข้อมูลที่มีค่าเกี่ยวกับเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและสถานะทางการเงินของประเทศ เทรดเดอร์สามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลและปรับปรุงประสิทธิภาพการซื้อขายด้วยเครื่องมือนี้ได้ นักวิเคราะห์ทางเทคนิคยังสามารถใช้ตัวบ่งชี้ความแข็งแกร่งเพื่อระบุแนวโน้มในตลาดได้ด้วยเช่นกัน

แซงหน้าคู่แข่งของคุณด้วยการใช้ความแข็งแกร่งของสกุลเงินผสานรวมเข้ากับกลยุทธ์การซื้อขายของคุณ!

เริ่มการเทรด

อัปเดทแล้ว • 2023-02-16

บทความอื่นๆ ในส่วนนี้

FBS เก็บรักษาข้อมูลของคุณไว้เพื่อใช้งานเว็บไซต์นี้ เมื่อกดปุ่ม "ยอมรับ" ถือว่าคุณยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเรา