การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน vs การวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค

อ่านบทความบนเว็บไซต์ของ FBS

มีบางหัวข้อที่จุดประกายการโต้เถียงที่ไม่มีวันจบสิ้น และสร้างความขัดแย้งกันในหมู่ผู้คน จะซื้ออะไรดี – iPhone หรือ Android? ทีมฟุตบอลทีมใดที่ควรสนับสนุน – แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดหรือลิเวอร์พูล? คุณอาจสังเกตเห็นว่ามันไม่มีคำตอบที่แน่ชัดสำหรับคำถามเหล่านี้ ตามคำพูดเดิมที่เขาว่ากัน: รสนิยมแตกต่างกัน มนุษย์ทุกคนต่างก็มีความชอบเป็นของตัวเอง: เนื้อของคนหนึ่งเป็นยาพิษของอีกคนหนึ่ง (แต่ละคนมีความชอบแตกต่างกัน สิ่งที่คนหนึ่งชอบ อาจเป็นสิ่งที่คนอื่นเกลียดก็ได้) เอาละ คำพูดนี้มีอีกหลายรูปแบบที่จะนำมาพูดได้ เรามาเข้าเรื่องที่เรากำลังจะศึกษาต่อกันดีกว่า สิ่งที่เราต้องการจะพูดถึงนั่นก็คือ เทรดเดอร์นั้นจะต้องโต้เถียงกับตัวเองตลอดเวลา เพื่อที่จะหาคำตอบว่า วิธีการใดที่สามารถทำให้ได้กำไรมากที่สุดในตลาดการเงิน การวิเคราะห์ใดดีกว่ากัน: ปัจจัยพื้นฐานหรือปัจจัยทางเทคนิค?

การวิเคราะห์ทางการซื้อขายคืออะไร?

ก่อนอื่น เรามาหาคำตอบกันก่อนว่า การวิเคราะห์ทางการซื้อขายหมายถึงอะไร การวิเคราะห์ทางการซื้อขาย เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดที่เทรดเดอร์ใช้ในการตัดสินใจลงทุน เขาว่ากันว่า การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานจะบอกคุณว่าจะซื้อขายอะไร และการวิเคราะห์ทางเทคนิคจะบอกคุณว่าควรซื้อขายเมื่อใด ขั้นตอนของการซื้อขายมักประกอบด้วยสามส่วน: การเตรียมการสำหรับการซื้อขาย การวางและการตรวจสอบการซื้อขาย และการประเมินการซื้อขาย เห็นได้ชัดว่าเทรดเดอร์จะทำการวิเคราะห์มากที่สุดในส่วนแรก ดังนั้นความสำเร็จของเทรดเดอร์จึงขึ้นอยู่กับ คุณภาพของการวิเคราะห์ แม้ว่าจะเป็นความรู้ทั่วไปที่ว่าเทรดเดอร์ควรพึ่งทั้ง การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานและการวิเคราะห์ทางเทคนิค แต่เทรดเดอร์บางรายก็ยังคงชอบอย่างใดอย่างหนึ่งมากกว่า ลองมาดูทั้งสองอย่างนี้แล้วคุณจะมั่นใจว่า มันมีความสำคัญเท่ากันทั้งคู่!

การวิเคราะห์ทางเทคนิค

เทรดเดอร์บางคนก็คิดว่าตัวเองเป็น “เทรดเดอร์ทางเทคนิค” พวกเขาอาศัยรูปแบบการเคลื่อนไหวของราคา และเครื่องมือทางเทคนิคในการวิเคราะห์ และไม่ได้ใส่ใจกับกระแสข่าวเศรษฐกิจมากนัก สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับพวกเขาก็คือ ราคาของสกุลเงิน / สินทรัพย์ทางการเงิน สิ่งอื่นๆ นั้นเป็นเพียงแค่สิ่งที่เบี่ยงเบนความสนใจของพวกเขา

การวิเคราะห์ทางเทคนิคในการเทรด Forex และการเทรดหุ้น

การวิเคราะห์ทางเทคนิคในการเทรด Forex และการเทรดหุ้น โดยทั่วไปแล้วเทรดเดอร์จะเปิดกราฟ และติดตามการเคลื่อนไหวของราคา เพื่อคาดการณ์ว่าราคาจะเคลื่อนไหวไปในทิศทางใดต่อไป เขา/เธอมักใช้เครื่องมือทางเทคนิคที่แตกต่างกัน เพื่อหาแนวโน้มและการกลับตัวของแนวโน้ม และยังพยายามระบุรูปแบบบางอย่างของกราฟ เครื่องมือเหล่านี้ใช้สูตรทางคณิตศาสตร์ แต่เทรดเดอร์ไม่จำเป็นต้องเข้าใจสูตรเหล่านั้น เพราะว่ามันได้นำมาแสดงในรูปแบบของกราฟ เพื่อให้เข้าใจได้ง่าย เมื่ออินดิเคเตอร์ทางเทคนิคบางตัวกลายเป็นที่ชื่นชอบสำหรับเทรดเดอร์ เขา/เธอสามารถสรรค์สร้างกลยุทธ์การลงทุนของตัวเองได้! หากคุณต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ การวิเคราะห์ทางเทคนิคคุณสามารถอ่าน หนังสือการวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิคของเราได้

การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน

ทีมเทรดเดอร์อีกทีมไม่เห็นด้วยกับ “นักเทคนิค” เหล่านี้ และสนับสนุนวิธีการวิเคราะห์ตลาดด้วยปัจจัยพื้นฐาน พวกเขาจะพินิจพิเคราะห์และกลั่นกรองข่าวเศรษฐกิจมหภาค เขาจะให้ความสนใจกับข่าว เพื่อที่จะได้คิดวางแผนและแก้ไขแนวทางในอนาคตของตลาด พวกเขาคือคนที่ยึดมั่นในการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน

กลุ่มแรกนั้นโดยทั่วโปแล้วก็คือ เทรดเดอร์ที่เก็งกำไรตามแรงเหวี่ยงของราคา และ เทรดเดอร์ที่ใช้เวลาเทรดในระยะเวลาสั้นๆ หรือ เปิดและปิดตำแหน่งภายโดยใช้เวลา ภายในหนึ่งวัน เป็นชั่วโมง เป็นนาที หรือแม้กระทั่งวินาที ส่วนอีกกลุ่มนั้นเป็นนักเทรดที่เน้นไปในเชิงกลยุทธ์มากกว่า นั่นก็คือพวกเขาชอบที่จะถือตำแหน่งไว้หลายวัน หลายสัปดาห์ หรือกระทั่งหลายเดือน พวกเขาเป็นกลุ่มคนที่แข็งแกร่งและมีความอดทนสูง

การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานในการเทรด Forex และการเทรดหุ้น

การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานสำหรับเทรด Forex นั้นต่างจากการเทรดหุ้น เมื่อคนคนหนึ่งซื้อขายคู่สกุลเงิน เขา/เธอจะคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงของ ตัวบ่งชี้ทางเศรษฐกิจและเหตุการณ์ข่าว ที่รวบรวมไว้ในปฏิทินเศรษฐกิจ เมื่อคนคนหนึ่งซื้อขายหุ้น เขา/เธอจะวางเดิมพันของตนตามรายงานผลประกอบการ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าบริษัทมีผลการดำเนินงานอย่างไรในไตรมาสก่อนหน้า หากต้องการทราบวิธีการเทรดตามข่าว และวิธีการเทรดตามรายงานผลประกอบการ ไปอ่านบทความ “การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานสำหรับการเทรด Forex และการเทรดหุ้น” ของเราได้เลย

การเปรียบเทียบระหว่าง การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน vs การวิเคราะห์ทางเทคนิค

การวิเคราะห์ทางเทคนิค การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน
คำอธิบาย ใช้การเคลื่อนไหวของราคาเพื่อทำนายทิศทางของราคาในอนาคต อธิบายว่าปัจจัยทางเศรษฐกิจใดที่เป็นสาเหตุของ การเคลื่อนไหวของราคาบนแผนภูมิ และปัจจัยอะไรที่เป็นตัวบ่งบอกการเคลื่อนไหวของราคาในอนาคต
แหล่งที่มาของข้อมูล กราฟราคา ข่าวเศรษฐกิจต่างๆ ข่าวเหตุการณ์ต่างๆ
สัญญาณการเข้า การเกิดขึ้นของราคาและสัญญาณตัวบ่งชี้ทางเทคนิค ซื้อ (ขาย) เมื่อสินทรัพย์มีมูลค่าต่ำกว่า (สูงกว่า)
ประเภทของเทรดเดอร์ เทรดเดอร์ที่เทรดระยะสั้น มักจะเป็นเทรดเดอร์ที่เทรดระยะยาว
ระยะเวลาในการลงทุน ตำแหน่งจะถูกถือไว้เป็นวัน เป็นชั่วโมง เป็นนาที หรือเป็นวินาที ตำแหน่งจะถูกถือไว้เป็นวัน เป็นสัปดาห์ เป็นเดือน
แนวคิดหลัก ทฤษฎี Dow, แนวรับและแนวต้าน, รูปแบบราคา การเปรียบเทียบตัวเลขทางเศรษฐกิจที่เป็นค่าจริง กับตัวเลขที่คาดการณ์หรือตัวเลขในอดีต

ทั้งการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานและการวิเคราะห์ทางเทคนิค ต่างก็มีข้อดีและข้อเสีย ดังนั้นจึงควรประยุกต์ใช้ 2 วิธีนี้เข้าด้วยกัน ด้วยวิธีนี้คุณจะได้ทราบถึงมุมมองที่ครบถ้วนเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นในตลาด ขณะที่ซื้อขายในระหว่างวันก็ใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิคก่อน เพื่อพิจารณาสถานะของตลาด, ระดับของจุดเข้าและออกของการเทรด จากนั้นใช้การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานเพื่อปรับกลยุทธ์ของคุณ โดยคำนึงถึงเหตุการณ์ในปฏิทินเศรษฐกิจ ในการเทรดระยะยาว อันดับแรกให้กำหนดแนวโน้มด้วยการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แล้วมองหาจุดเข้าและออกโดยใช้เครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิค

คุณจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน และการวิเคราะห์ทางเทคนิคเพิ่มมากขึ้นจากคอร์สนี้

เริ่มการเทรด

อัปเดทแล้ว • 2022-01-28

บทความอื่นๆ ในส่วนนี้

FBS เก็บรักษาข้อมูลของคุณไว้เพื่อใช้งานเว็บไซต์นี้ เมื่อกดปุ่ม "ยอมรับ" ถือว่าคุณยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเรา