โมเมนตัม
ในการวิเคราะห์ทางเทคนิคมีคำว่า "โมเมนตัม" ซึ่งหมายถึงความแข็งแกร่งที่อยู่เบื้องหลังแนวโน้ม โมเมนตัมวัดโดยตัวชี้วัดทางเทคนิค (RSI, Stochastic Oscillator, MACD) ตัวบ่งชี้แต่ละตัวใช้วิธีการที่แตกต่างกันเล็กน้อยและมีสูตรของตัวเอง ที่นี่เราจะนำเสนอตัวบ่งชี้อื่นจากกลุ่มนี้ มีชื่อเรียกง่ายๆว่า "โมเมนตัม"
ตัวบ่งชี้ทางเทคนิคโมเมนตัมวัดจำนวนเงินที่ราคาของสินทรัพย์ที่มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาที่กำหนด สูตรของตัวบ่งชี้จะเปรียบเทียบราคาปิดล่าสุดกับราคาปิดก่อนหน้า
วิธีการใช้งาน
ในการเพิ่มโมเมนตัมในแผนภูมิคลิก “Insert” – “Indicators” – “Oscillators” – แล้วคุณจะเห็น “Momentum”
พารามิเตอร์เริ่มต้นสำหรับโมเมนตัมใน MT4 คือ 14 แต่คุณสามารถตั้งค่าเป็นค่าใดก็ได้ที่คุณต้องการ ตัวบ่งชี้สามารถใช้ในกรอบเวลาใดก็ได้สำเร็จ ขอให้สังเกตว่ายิ่งใช้กรอบเวลาเล็กลงมากแค่ไหน ประสิทธิภาพก็จะยิ่งอ่อนลง และตัวบ่งชี้ก็มีแนวโน้มที่จะสร้างสัญญาณที่ผิดพลาดมากขึ้นเมื่อเทียบกับการทำงานในกรอบเวลาที่ใหญ่กว่า
วิธีการตีความ
Momentum oscillates แกว่งไปมารอบๆค่า 100 ซึ่งเป็นค่ากลาง MetaTrader ไม่ได้สร้างระดับนี้ไม่ได้ถูกสร้างขึ้นโดยอัตโนมัติ แต่คุณสามารถวาดมันขึ้นเองได้ เมื่อค่าของตัวบ่งชี้สูงกว่า 100 แสดงว่ากระทิงกำลังเป็นต่อ แต่ตรงกันข้ามหากเคลื่อนลงมาต่ำกว่า 100 จะแสดงถึงหมีที่กำลังเป็นต่อ
หากโมเมนตัมพุ่งไปถึงค่าสูงสุดหรือต่ำสุด (เทียบกับค่าในอดีต) จะให้สัญญาณว่าแนวโน้มขาขึ้น/ลงในปัจจุบันจะดำเนินต่อไป ระดับสูงสุดของตัวบ่งชี้บ่งบอกถึงแรงโมเมนัมที่มากพอที่จะทำให้ราคาดำเนินต่อไปในทิศทางนั้นๆ
ในเวลาเดียวกันตัวบ่งชี้โมเมนตัมยังสามารถช่วยระบุว่าเมื่อใดที่ตลาดมีการซื้อมากเกินไปหรือขายมากเกินไป เมื่อตลาดขาลงตกลงถึงจุดที่มีการขายมากเกินไป มันอาจจะเริ่มมีการดีดตัวกลับขึ้นด้านบน หากโมเมนตัมดิ่งลงจนถึงต้ำสุดแล้วเริ่มกลับตัวขึ้น มันจะเป็นสัญญาณการเข้าซื้อ เมื่อตลาดพุ่งขึ้นถึงจุกที่มีการซื้อมากเกินไป มันอาจจะเริ่มดีดตัวกลับลงด้านล่าง หากโมเมนตัมพุ่งขึ้นสูงสุดแล้วเริ่มกลับตัวลง มันจะเป็นสัญญาณการเข้าขายคุณสามารถใช้ค่าเฉลี่ยการเคลื่อนที่ในระยะสั้นกับตัวบ่งชี้เพื่อให้ง่ายต่อการหาจุดกลับตัว โดยการเลือก "Moving Average" ที่อยู่หมวดตัวบ่งชี้แนวโน้มของ MT4 ในแผง "Navigator" จากนั้นลากแล้ววางลงในแผนภูมิของตัวบ่งชี้ Momentum ในหน้าต่างที่ปรากฏขึ้นเลือก "First Indicator’s Data" จากเมนูแบบเลื่อนลง “Apply to” ของแท็บ "Parameters"
กลยุทธ์นั้นจะเป็นการเข้าซื้อเมื่อโมเมนตัมตัดข้าม MA ไปด้านบน และเข้าขายเมื่อมันตัดข้าม SMA ไปด้านล่าง ด้วยวิธีนี้เวลาของสัญญาณจะค่อนข้างดีขึ้น
คุณควรเลือกสัญญาณที่สอดคล้องกับแนวโน้มที่คุณสังเกตเห็นในกรอบเวลาที่ใหญ่ขึ้นหรือใช้ตัวบ่งชี้แนวโน้มอื่นๆเข้าสู่ตลาดเฉพาะหลังจากที่ราคายืนยันสัญญาณที่สร้างโดยตัวบ่งชี้ หากโมเมนตัมไปถึงจุดสูงสุดแล้วรอให้ราคาเริ่มลดลง เช่นนั้นให้เข้าขายบ่อยครั้งที่โมเมนตัมเริ่มกลับตัวก่อนราคา เมื่อโมเมนตัมแตกต่างจากราคา มันอาจถูกมองว่าเป็นชี้นำที่ชี้ไปจุดสูงสุดที่มีศักยภาพ (เมื่อโมเมนตัมกำลังลดลงแต่ราคากำลังเพิ่มขึ้น) หรือจุดต่ำสุด (เมื่อโมเมนตัมกำลังเพิ่มขึ้นแต่ราคากำลังลดลง)
สรุป
Momentum oscillator ช่วยให้เทรดเดอร์สังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยในการซื้อหรือขาย เป็นไปได้ที่จะใช้เพื่อสร้างสัญญาณการซื้อขาย แม้ว่าในกรณีนี้เราขอแนะนำให้คุณรวมตัวบ่งชี้เข้ากับสัญญาณของ price action โปรดสังเกตว่าตัวบ่งชี้ Momentum สามารถให้กำไรได้มากกว่าถ้ามันถูกนำมาใช้เพื่อยืนยันสัญญาณที่ได้รับจากเครื่องมืออื่นๆ
เริ่มการเทรดอัปเดทแล้ว • 2022-04-05
บทความอื่นๆ ในส่วนนี้
- McClellan Oscillator
- กลยุทธ์การซื้อขายด้วยตัวบ่งชี้ Aroon
- ความแข็งแกร่งของสกุลเงิน
- กรอบเวลาที่ดีที่สุดสำหรับการเทรด
- Renko chart
- ประเภทของแผนภูมิ
- จะใช้ Heikin-Ashi อย่างไร?
- นโยบายผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE)
- Pivot Points
- ตัวบ่งชี้ ZigZag คืออะไร?
- Moving Average: วิธีง่ายๆในการหาเทรนด์
- Williams’ Percent Range (%R)
- Relative Vigor Index (ตัวบ่งชี้ RVI) คืออะไร?
- Force index
- ตัวบ่งชี้ Envelopes คืออะไร?
- Bulls Power และ Bears Power
- Average True Range
- จะเทรดจากการตัดสินใจของธนาคารกลางอย่างไร?
- CCI (Commodity Channel Index)
- Standard deviation
- Parabolic SAR
- การซื้อขายด้วย Stochastic Oscillator
- Relative Strength Index (RSI)
- MACD (Moving Average Convergence/Divergence)
- ออสซิลเลเตอร์
- ตัวบ่งชี้ ADX: วิธีใช้สำหรับการวิเคราะห์แนวโน้ม Forex อย่างมีประสิทธิภาพ
- Bollinger bands
- ตัวบ่งชี้เทรนด์
- การแนะนำตัวชี้วัดทางเทคนิค
- แนวรับและแนวต้าน
- แนวโน้ม
- การวิเคราะห์ทางเทคนิค
- ธนาคารกลาง: นโยบายและผลกระทบ
- ปัจจัยพื้นฐาน
- การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานในการเทรด Forex และการเทรดหุ้น
- การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน vs การวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค