-
จะเริ่มเทรดอย่างไร?
หากคุณอายุ 18 ปีขึ้นไปคุณสามารถเข้าร่วม FBS ได้และเริ่มต้นการเดินทาง FX ของคุณ ในการซื้อขายคุณจะต้องมีบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์และมีความรู้ที่เพียงพอเกี่ยวกับวิธีการทำงานของสินทรัพย์ในตลาดการเงิน เริ่มด้วยการศึกษาขั้นพื้นฐานด้วย สื่อการเรียนรู้ฟรี และ สร้างบัญชี FBS คุณอาจต้องการทดสอบสภาพแวดล้อมด้วยเงินเสมือนจริงผ่านบัญชีทดลอง เมื่อคุณพร้อมเข้าสู่ตลาดจริงแล้ว ก็เริ่มทำการซื้อขายเพื่อที่จะได้ประสบความสำเร็จ
-
จะเปิดบัญชี FBS ได้อย่างไร?
คลิกที่ปุ่ม 'เปิดบัญชี' บนเว็บไซต์ของเราแล้วไปที่ Trader Area ก่อนที่คุณจะเริ่มซื้อขายได้ โปรไฟล์ของคุณจะต้องได้รับการยืนยันเสียก่อน ยืนยันอีเมลและเบอร์โทรศัพท์ของคุณ จากนั้นให้ทำการยืนยันตัวตนของคุณ ขั้นตอนนี้จะช่วยรับประกันความปลอดภัยของเงินและตัวตนของคุณ เมื่อคุณผ่านการตรวจสอบทั้งหมดแล้ว ให้ไปที่แพลตฟอร์มการซื้อขายที่ต้องการ แล้วเริ่มซื้อขายได้เลย
-
จะถอนเงินที่ทำได้กับ FBS ได้อย่างไร?
กระบวนการนี้ไม่มีอะไรซับซ้อนเลย ไปที่หน้า การถอนเงิน บนเว็บไซต์หรือส่วนการเงินของ FBS Trader Area และเข้าไปที่การถอนเงิน คุณจะได้รับเงินที่ทำได้รับผ่านระบบการชำระเงินเดียวกับที่คุณใช้ในการฝากเงิน ในกรณีที่คุณฝากเงินเข้าบัญชีผ่านหลายวิธี ให้ถอนกำไรของคุณผ่านวิธีเดียวกันในอัตราส่วนตามยอดเงินที่ฝากเข้ามา
Force index
Force Index คืออะไร?
Force Index (FI) เป็นตัวบ่งชี้ที่พัฒนาโดย Alexander Elder มันจะช่วยวัดพลังของหมีและกระทิงในตลาดที่มีแนวโน้ม ตัวบ่งชี้นี้ขึ้นอยู่กับราคา ทิศทาง และปริมาณการซื้อขาย ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญสามประการของการเคลื่อนไหวของราคา ตามที่ Elder กล่าวไว้
FI สามารถช่วยยืนยันแนวโน้ม ระบุการปรับฐานที่ควรค่าแก่การซื้อขาย และคาดการณ์การกลับตัว
บทความนี้จะทำการสำรวจ Force Index วิธีการคำนวณ และวิธีการนำไปใช้และวิธีการตีความเพื่อทำการตัดสินใจซื้อขายอย่างรอบรู้ นอกจากนี้ เราจะทำการเปรียบเทียบ Force Index กับ Money Flow Index พร้อมทำการตรวจสอบข้อจำกัดของมันด้วย
ทำความเข้าใจ Force Index
เพื่อให้เข้าใจตัวบ่งชี้ Force Index สิ่งสำคัญอันดับแรกคือต้องเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างการเคลื่อนไหวของราคาและปริมาณการซื้อขาย แนวโน้มที่แข็งแกร่งมักจะมาพร้อมกับปริมาณการซื้อขายที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่แนวโน้มที่อ่อนแอจะมีปริมาณการซื้อขายที่ลดลง Force Index จะวัดความแข็งแกร่งของแนวโน้มโดยการเปรียบเทียบราคาปิดของช่วงเวลาปัจจุบัน ราคาปิดของช่วงเวลาก่อนหน้า และปริมาณการซื้อขายในช่วงเวลาเดียวกัน
มันมีวิธีการคำนวณอย่างไร?
Force Index จะถูกคำนวณโดยใช้สูตรง่าย ๆ ดังนี้:
Force Index = (ราคาปิดปัจจุบัน – ราคาปิดก่อนหน้า) x ปริมาณ
จากนั้นจึงใช้ค่าเฉลี่ยการเคลื่อนที่แบบเอ็กซ์โพเนนเชียล (EMA) กับค่าผลลัพธ์เพื่อให้คุณได้ฮิสโตแกรมและเส้นในหน้าต่างของตัวบ่งชี้
เทรดเดอร์สามารถปรับแต่ง Force Index ได้โดยการปรับช่วงเวลาที่ใช้สำหรับเส้นค่าเฉลี่ยการเคลื่อนที่ของข้อมูลปริมาณ ยิ่งช่วงเวลายาวนานมากขึ้น ก็ยิ่งทำให้ตัวบ่งชี้มีความเสถียรมากขึ้น ในขณะที่ช่วงเวลาที่สั้นลงจะไวต่อการเปลี่ยนแปลงในระยะสั้นมากกว่า
วิธีการนำมาใช้งาน
Force Index นั้นรวมอยู่ในชุดเริ่มต้นของ MetaTrader คุณสามารถเพิ่มลงไปในกราฟได้โดยการคลิกที่ “Insert” – “Indicators” – “Oscillators” จากนั้นเลือก “Force Index”
วิธีการตีความ Force Index
ดัชนีจะมีค่าเป็นบวกหากราคาปิดปัจจุบันสูงกว่าราคาปิดก่อนหน้า เมื่อตัวบ่งชี้พุ่งขึ้น มันจะแสดงถึงแรงกระทิง ในทำนองกลับกัน หากราคาปิดปัจจุบันต่ำกว่าราคาปิดก่อนหน้า ตัวบ่งชี้จะติดลบ ซึ่งแสดงถึงแรงหมี ด้วยเหตุนี้ มันจึงคุ้มค่าที่จะคอยจับตามองจังหวะที่ FI ข้ามเส้นศูนย์
นอกจากนี้ ตัวบ่งชี้ยังประกอบไปด้วยข้อมูลปริมาณ สิ่งนี้ช่วยให้สามารถทำการตัดสินได้ดีขึ้นเกี่ยวกับแนวโน้มและโมเมนตัมของมัน แนวโน้มขาขึ้นในปัจจุบันนั้นมีแนวโน้มที่จะดำเนินต่อไปเมื่อ Force Index ทำจุดสูงสุดใหม่ โดยเมื่อ FI เลื่อนไปทำจุดต่ำสุดใหม่ แนวโน้มขาลงจะดำเนินต่อไป แต่แนวโน้มอาจเกิดการกลับตัวขึ้นเมื่อ FI ทำจุดต่ำสุดที่สูงขึ้น
หากแนวโน้มมีความแข็งแกร่ง Force Index ก็จะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีโอกาสมากขึ้นที่มันจะส่งสัญญาณความต่อเนื่องของแนวโน้ม ในเวลาเดียวกัน หากราคาเปลี่ยนแปลงตามความเฉื่อย FI จะเคลื่อนไหวเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แนวโน้มขาขึ้นจะอ่อนแรงลงหากราคาปัจจุบันเพิ่มขึ้น แต่ตัวบ่งชี้กลับไม่เป็นเช่นนั้น
ด้านล่างนี้ เราได้รวบรวมสัญญาณต่าง ๆ ที่ได้มาจาก Force Index โปรดใช้มันด้วยความรอบคอบ และอย่าลืมพิจารณาการยืนยันจากเครื่องมืออื่น ๆ ด้วย
สัญญาณขาขึ้นที่เกิดจาก FI:
- Force Index กำลังสร้างจุดสูงสุดใหม่ในแนวโน้มขาขึ้น (ความต่อเนื่องของแนวโน้ม)
- Force Index ร่วงลงต่ำกว่าเส้นศูนย์ในช่วงแนวโน้มขาขึ้น (เข้าซื้อตอนราคาย่อตัว)
- Force Index พุ่งขึ้นสูงกว่าเส้นศูนย์ในแนวโน้มขาลง (เข้าซื้อเมื่อมีการปรับฐานสวนแนวโน้มหลัก)
- Force Index ตัดข้ามเส้น MA ไปด้านบน (หากคุณใช้เส้น MA ร่วมกับตัวบ่งชี้นี้)
- ไดเวอร์เจนซ์ (ราคาสร้างจุดต่ำสุดที่ต่ำลง แต่ FI สร้างจุดต่ำสุดที่สูงขึ้น)
สัญญาณขาลงที่เกิดจาก FI:
- Force Index กำลังสร้างจุดต่ำสุดใหม่ในแนวโน้มขาลง (ความต่อเนื่องของแนวโน้ม)
- Force Index พุ่งขึ้นสูงกว่าเส้นศูนย์ในช่วงที่มีแนวโน้มขาลง (เข้าขายช่วงดึงกลับ)
- Force Index ร่วงลงต่ำกว่าเส้นศูนย์ในแนวโน้มขาขึ้น (เข้าขายเมื่อมีการปรับฐานสวนแนวโน้มหลัก)
- Force Index ตัดข้ามเส้น MA ลงด้านล่าง (หากคุณใช้ MA ร่วมกับตัวบ่งชี้นี้)
- ไดเวอร์เจนซ์ (ราคาสร้างจุดสูงสุดที่สูงขึ้น แต่ FI สร้างจุดสูงสุดที่ต่ำลง)
การเกิดไดเวอร์เจนซ์ (Divergence) ของ Force index
Bullish divergence และ Bearish divergence จะบ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นในทิศทางของแนวโน้ม สัญญาณสุดคลาสสิกเหล่านี้มักจะเกี่ยวข้องกับกลุ่มออสซิลเลเตอร์ Bullish divergence จะเกิดขึ้นเมื่อตัวบ่งชี้เคลื่อนตัวขึ้นในขณะที่ราคาสินทรัพย์เคลื่อนตัวลง สิ่งนี้บ่งชี้ว่าการอ่อนแรงของราคาไม่ได้รับการยืนยันจากตัวบ่งชี้ ซึ่งอาจส่งสัญญาณการกลับตัวของแนวโน้มขาขึ้นที่กำลังจะมาถึง ในทางกลับกัน Bearish divergence จะเกิดขึ้นในตอนที่ตัวบ่งชี้เคลื่อนตัวลงในขณะที่ราคาสินทรัพย์เคลื่อนตัวขึ้น สิ่งนี้จะบ่งชี้ถึงความอ่อนแอที่แฝงอยู่ แม้ว่าราคาจะสูงขึ้นก็ตาม ซึ่งอาจบ่งชี้ถึงการกลับตัวของแนวโน้มเป็นขาลง
การยืนยันเป็นส่วนสำคัญในการตีความ Bullish divergence และ Bearish divergence แม้ว่าไดเวอร์เจนซ์ทั้งสองจะส่งสัญญาณถึงความผิดปกติ แต่พวกมันก็ยังต้องการการยืนยันจากตัวบ่งชี้หรือกราฟราคา Bullish divergence สามารถได้รับการยืนยันโดยการที่ Force Index เคลื่อนตัวเข้าสู่แดนบวก หรือการทะลุแนวต้านในกราฟราคา ส่วน Bearish divergence สามารถได้รับการยืนยันได้โดยการที่ Force Index เคลื่อนตัวเข้าสู่แดนลบ หรือการทะลุแนวรับในกราฟราคา เพื่อการยืนยัน เทรดเดอร์อาจใช้เครื่องมือการวิเคราะห์ทางเทคนิคต่าง ๆ ร่วมด้วย เช่น แท่งเทียน การตัดกันของเส้นค่าเฉลี่ยการเคลื่อนที่ และการพุ่งทะลุของรูปแบบ
ในกราฟด้านล่างนี้ ตัวบ่งชี้ Force index ได้สร้าง Bullish divergence ในกรอบเวลารายวัน ทุกจุดต่ำสุดของตัวบ่งชี้จะสูงกว่าจุดก่อนหน้า ในขณะที่ทุกราคาต่ำสุดยังคงอยู่ในระดับเดียวกัน เทรดเดอร์จำเป็นต้องได้รับการยืนยันครั้งที่สองถึงการกลับตัวของแนวโน้มเพื่อหาจุดเข้าที่ดีที่สุด ในสถานการณ์นี้ มันอาจเป็นการที่ราคาทะลุขึ้นเหนือระดับแนวต้าน และกลับมาทดสอบระดับที่ได้ทะลุออกไป ดังนั้น เทรดเดอร์สามารถเปิดคำสั่ง Buy ได้หลังจากที่ราคากลับไปทดสอบระดับที่ได้เน้นไว้แล้ว
Force Index vs. Money Flow Index (FI vs. MFI)
Money Flow Index (MFI) และ Force Index จะใช้ราคาและปริมาณเพื่อวัดความแข็งแกร่งของแนวโน้มและระบุการกลับตัวของราคาที่เป็นไปได้ อย่างไรก็ตาม การคำนวณของตัวบ่งชี้ทั้งสองนี้มีความแตกต่างกันอย่างมาก MFI จะใช้สูตรที่ซับซ้อนมากขึ้นโดยการรวมราคาทั่วไป (ราคาสูงสุด + ราคาต่ำสุด + ราคาปิด / 3) แทนที่จะใช้ราคาปิดเพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ MFI ยังจำกัดอยู่ในช่วงตั้งแต่ 0 ถึง 100 ผลจากการคำนวณและขอบเขตที่แตกต่างกัน MFI สามารถให้ข้อมูลเชิงลึกที่ไม่เหมือนใครซึ่งแตกต่างจาก Force Index
ข้อจำกัดของ Force Index
Force index นั้นเป็นตัวบ่งชี้ที่ช้าซึ่งใช้ข้อมูลราคาและปริมาณก่อนหน้าในการคำนวณค่าเฉลี่ย EMA อย่างไรก็ตาม เนื่องจากข้อมูลมักจะเป็นค่าเฉลี่ย ดังนั้นการสร้างสัญญาณการซื้อขายจึงอาจล่าช้า ส่งผลให้พลาดโอกาส การใช้ Force Index ระยะสั้น ๆ (เช่น 10, 13 หรือ 20) อาจนำไปสู่สัญญาณเท็จจำนวนมากเนื่องจากความผันผวนเล็กน้อยของราคาหรือปริมาณ ในทางกลับกัน Force index ระยะยาว ๆ (เช่น 50, 100 หรือ 150) มีแนวโน้มที่จะแกว่งน้อยกว่า แต่จะตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาอย่างช้า ๆ ซึ่งนำไปสู่สัญญาณการซื้อขายที่ล่าช้า
สรุปเรื่องตัวบ่งชี้ Force Index
สรุปแล้ว Force Index ถือเป็นหนึ่งในการผสมผสานที่ดีที่สุดระหว่างราคาและปริมาณ โปรดทราบว่า FI จะใช้ข้อมูล tick volume ในการซื้อขายสกุลเงินที่สอดคล้องกับจำนวนธุรกรรม ดังนั้นจึงอาจเกิดการบิดเบือนได้ Force Index จะแสดงผลลัพธ์ที่ดีที่สุดเมื่อใช้กับตลาดที่มีความผันผวน
คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
ตัวบ่งชี้ Force Index คืออะไร?
Force index เป็นตัวบ่งชี้ที่ใช้ทั้งราคาและปริมาณเพื่อวัดความแข็งแกร่งของแนวโน้มและระบุการกลับตัวของราคาที่อาจเกิดขึ้น มันจะคำนวณแรงที่อยู่เบื้องหลังการเคลื่อนไหวของราคาโดยเปรียบเทียบราคาปิดของวันปัจจุบันและวันก่อนหน้า แล้วคูณผลลัพธ์ที่ได้ด้วยปริมาณของวันปัจจุบัน
อัปเดทแล้ว • 2024-05-30
บทความอื่นๆ ในส่วนนี้
- McClellan Oscillator
- กลยุทธ์การซื้อขายด้วยตัวบ่งชี้ Aroon
- ความแข็งแกร่งของสกุลเงิน
- กรอบเวลาที่ดีที่สุดสำหรับการเทรด
- Renko chart
- ประเภทของแผนภูมิ
- จะใช้ Heikin-Ashi อย่างไร?
- นโยบายผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE)
- Pivot Points
- ตัวบ่งชี้ ZigZag คืออะไร?
- Moving Average: วิธีง่ายๆในการหาเทรนด์
- Williams’ Percent Range (%R)
- Relative Vigor Index (ตัวบ่งชี้ RVI) คืออะไร?
- โมเมนตัม
- ตัวบ่งชี้ Envelopes คืออะไร?
- Bulls Power และ Bears Power
- Average True Range
- จะเทรดจากการตัดสินใจของธนาคารกลางอย่างไร?
- CCI (Commodity Channel Index)
- Standard deviation
- Parabolic SAR
- การซื้อขายด้วย Stochastic Oscillator
- Relative Strength Index (RSI)
- MACD (Moving Average Convergence/Divergence)
- ออสซิลเลเตอร์
- ตัวบ่งชี้ ADX: วิธีใช้สำหรับการวิเคราะห์แนวโน้ม Forex อย่างมีประสิทธิภาพ
- Bollinger bands
- ตัวบ่งชี้เทรนด์
- การแนะนำตัวชี้วัดทางเทคนิค
- แนวรับและแนวต้าน
- แนวโน้ม
- การวิเคราะห์ทางเทคนิค
- ธนาคารกลาง: นโยบายและผลกระทบ
- ปัจจัยพื้นฐาน
- การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานในการเทรด Forex และการเทรดหุ้น
- การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน vs การวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค