-
จะเริ่มเทรดอย่างไร?
หากคุณอายุ 18 ปีขึ้นไปคุณสามารถเข้าร่วม FBS ได้และเริ่มต้นการเดินทาง FX ของคุณ ในการซื้อขายคุณจะต้องมีบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์และมีความรู้ที่เพียงพอเกี่ยวกับวิธีการทำงานของสินทรัพย์ในตลาดการเงิน เริ่มด้วยการศึกษาขั้นพื้นฐานด้วย สื่อการเรียนรู้ฟรี และ สร้างบัญชี FBS คุณอาจต้องการทดสอบสภาพแวดล้อมด้วยเงินเสมือนจริงผ่านบัญชีทดลอง เมื่อคุณพร้อมเข้าสู่ตลาดจริงแล้ว ก็เริ่มทำการซื้อขายเพื่อที่จะได้ประสบความสำเร็จ
-
จะเปิดบัญชี FBS ได้อย่างไร?
คลิกที่ปุ่ม 'เปิดบัญชี' บนเว็บไซต์ของเราแล้วไปที่ Trader Area ก่อนที่คุณจะเริ่มซื้อขายได้ โปรไฟล์ของคุณจะต้องได้รับการยืนยันเสียก่อน ยืนยันอีเมลและเบอร์โทรศัพท์ของคุณ จากนั้นให้ทำการยืนยันตัวตนของคุณ ขั้นตอนนี้จะช่วยรับประกันความปลอดภัยของเงินและตัวตนของคุณ เมื่อคุณผ่านการตรวจสอบทั้งหมดแล้ว ให้ไปที่แพลตฟอร์มการซื้อขายที่ต้องการ แล้วเริ่มซื้อขายได้เลย
-
จะถอนเงินที่ทำได้กับ FBS ได้อย่างไร?
กระบวนการนี้ไม่มีอะไรซับซ้อนเลย ไปที่หน้า การถอนเงิน บนเว็บไซต์หรือส่วนการเงินของ FBS Trader Area และเข้าไปที่การถอนเงิน คุณจะได้รับเงินที่ทำได้รับผ่านระบบการชำระเงินเดียวกับที่คุณใช้ในการฝากเงิน ในกรณีที่คุณฝากเงินเข้าบัญชีผ่านหลายวิธี ให้ถอนกำไรของคุณผ่านวิธีเดียวกันในอัตราส่วนตามยอดเงินที่ฝากเข้ามา
การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานในการเทรด Forex และการเทรดหุ้น
มาศึกษากันว่าการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน Forex คืออะไร และจะนำไปใช้ในการเทรดหุ้นและคู่สกุลเงินได้อย่างไร เราจะอธิบายถึงพื้นฐานของการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานไปจนถึงเทคนิคขั้นสูง เตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการยกระดับได้เลย!
การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานคืออะไร?
ก่อนที่จะเจาะลึกไปยังองค์ประกอบที่สำคัญต่าง ๆ ของการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน เรามานิยามความหมายของแต่ละคำกันก่อนดีกว่า การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน คือ การศึกษาปัจจัยพื้นฐานที่ขับเคลื่อนตลาด การวิเคราะห์ประเภทนี้อิงตามข้อมูลเศรษฐกิจ เหตุการณ์ข่าว และรายงานผลประกอบการ
ประเภทของการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน
ในฐานะเทรดเดอร์ คุณอาจเจอคำว่าการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานแบบ “เชิงคุณภาพ” และ “เชิงปริมาณ” เราจะอธิบายให้คุณฟังแบบเข้าใจง่าย ๆ เอง
การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานเชิงคุณภาพ
การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานเชิงคุณภาพเป็นการวิเคราะห์ประเภทหนึ่งที่ตรวจสอบข้อมูลที่ไม่ใช่ตัวเลข เช่น การจัดการบริษัท แนวโน้มอุตสาหกรรม และปัจจัยทางเศรษฐกิจมหภาคที่ส่งผลต่อศักยภาพในการเติบโตของบริษัท การวิเคราะห์ประเภทนี้เกี่ยวข้องกับการวิจัยคุณภาพของผลิตภัณฑ์และบริการของบริษัท การวิเคราะห์พฤติกรรมและความชอบของผู้บริโภค และการประเมินชื่อเสียงของแบรนด์ของบริษัท
ตัวอย่างเช่น คุณอาจดูที่ประสบการณ์และผลงานของทีมผู้บริหารของบริษัท เทรดเดอร์อาจวิเคราะห์บริษัทเพื่อดูว่าผู้จัดการของบริษัทนั้น ๆ มีประวัติการร่วมทุนทางธุรกิจที่ประสบความสำเร็จหรือไม่ หรือพวกเขามีสัญญาณที่อันตรายใด ๆ หรือเปล่า เช่น ประวัติการล้มละลายหรือปัญหาทางกฎหมาย การวิเคราะห์นี้จะเป็นเชิงคุณภาพเนื่องจากเกี่ยวข้องกับการตัดสินจากข้อมูลที่เป็นนามธรรมมากกว่าข้อมูลที่เป็นรูปธรรม
การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานเชิงปริมาณ
ในทางกลับกัน การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานเชิงปริมาณเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นตัวเลข เช่น งบการเงิน งบดุล และงบกำไรขาดทุน เพื่อกำหนดสถานะทางการเงินของบริษัท การวิเคราะห์ประเภทนี้เกี่ยวข้องกับการประเมินรายได้ ผลประกอบการ กระแสเงินสด และมาตรวัดทางการเงินอื่น ๆ ของบริษัท เพื่อกำหนดมูลค่าที่แท้จริง
ตัวอย่างเช่น การนำงบการเงินของบริษัทอย่างงบดุลหรืองบกำไรขาดทุนมาวิเคราะห์ การเติบโตของรายได้ของบริษัท อัตรากำไร ระดับหนี้สิน หรือมาตรวัดทางการเงินอื่นๆ จะเป็นตัวกำหนดว่าบริษัทนั้นประเมินมูลค่าต่ำหรือสูงเกินไปหรือไม่
โดยรวมแล้ว การวิเคราะห์ทั้งสองประเภทมีความสำคัญต่อเทรดเดอร์และนักลงทุน คุณไม่สามารถพึ่งพาแต่ทีมผู้บริหารมืออาชีพเพียงอย่างเดียวและไม่ทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินที่เป็นรูปธรรมได้ ตรงกันข้าม การดูเฉพาะตัวเลขและไม่ดูทีมผู้บริหารที่อยู่เบื้องหลังนั้นก็ไม่เพียงพอเช่นกัน
ปัจจัยของการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน
มีปัจจัยต่าง ๆ มากมายที่เทรดเดอร์สามารถใช้ในการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานได้ ขึ้นอยู่กับว่าพวกเขาวิเคราะห์หุ้นหรือคู่สกุลเงิน นี่คือปัจจัยที่สำคัญที่สุดบางประการที่ควรพิจารณา:
- ข้อมูลเศรษฐกิจ: ซึ่งรวมถึงข้อมูลต่าง ๆ เช่น อัตราเงินเฟ้อ การเติบโตของ GDP และตัวเลขการจ้างงาน ซึ่งสามารถให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสุขภาพโดยรวมของเศรษฐกิจได้
- เหตุการณ์ข่าว ได้แก่ แถลงการณ์ของธนาคารกลาง พัฒนาการทางภูมิรัฐศาสตร์ และข่าวอื่น ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดการเงิน
- รายงานผลประกอบการ: สำหรับเทรดเดอร์หุ้น รายงานผลประกอบการอาจเป็นปัจจัยสำคัญในการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน เนื่องจากรายงานเหล่านี้ให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสถานภาพทางการเงินและโอกาสทางธุรกิจของบริษัท ส่วนตลาด Forex นั้นไม่มีรายงานผลประกอบการ
- แนวโน้มของอุตสาหกรรม: เทรดเดอร์อาจดูแนวโน้มที่กว้างขึ้นภายในอุตสาหกรรมเฉพาะ เช่น การเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมผู้บริโภคหรือการพัฒนาทางเทคโนโลยี เพื่อทำความเข้าใจความเคลื่อนไหวที่จะเกิดขึ้นในตราสารใด ๆ ได้ดียิ่งขึ้น
- พัฒนาการทางการเมือง: ปัจจัยทางการเมือง เช่น การเปลี่ยนแปลงนโยบายของรัฐบาลหรือการเปลี่ยนแปลงด้านกฎระเบียบ อาจส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินและควรนำมาพิจารณาในการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน สงครามการค้า ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ และเหตุการณ์อื่น ๆ เป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและมักมีผลกระทบอย่างมากต่อราคา
การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน Forex
เมื่อบุคคลหนึ่งจะทำการซื้อขาย Forex พวกเขาพิจารณาถึงพลวัตของตัวบ่งชี้ทางเศรษฐกิจ เช่น อัตราเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ย ยอดค้าปลีก ข้อมูลงาน ฯลฯ รายงานเศรษฐกิจทั้งหมดนี้ถูกรวบรวมไว้ในปฏิทินเศรษฐกิจแล้ว เหตุการณ์ข่าวต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงแถลงการณ์จากผู้ว่าการธนาคารกลาง การอภิปรายปัญหาระหว่างประเทศ เช่น Brexit, การเปลี่ยนสมาชิกของรัฐบาล, การเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงิน และอื่น ๆ แม้ว่าคุณจะสามารถคาดการณ์ข่าวบางอย่างได้ แต่มันก็อาจไม่เป็นอย่างที่คาดไว้ทุกครั้ง ซึ่งในกรณีนี้ เทรดเดอร์ต้องปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่
จะเทรดตามข่าวได้อย่างไร?
ความท้าทายของการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานคือ การเรียนรู้วิธีการตีความการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลทางเศรษฐกิจและแถลงการณ์ของเจ้าหน้าที่ เราจะอธิบายรายละเอียดเพิ่มเติมว่าการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลทางเศรษฐกิจส่งผลต่ออัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินอย่างไรในบทเรียนถัดไป โปรดจำกฎที่สำคัญด้านล่างนี้เอาไว้
- หากข้อมูลเศรษฐกิจของประเทศดีขึ้นและออกมาดีกว่าการคาดการณ์ สกุลเงินของประเทศจะแข็งค่าขึ้น
- ในทางกลับกัน หากข้อมูลเศรษฐกิจของประเทศออกมาแย่กว่าการคาดการณ์ สกุลเงินของประเทศจะอ่อนค่าลง
เมื่อคุณเทรดคู่สกุลเงินที่มีสองสกุลเงินเกี่ยวข้อง คุณจะต้องใช้การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานเพื่อเปรียบเทียบเศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้ ซึ่งประเทศที่มีเศรษฐกิจแข็งแกร่งกว่า สกุลเงินของประเทศนั้นก็จะแข็งค่ากว่าเมื่อเทียบกับอีกสกุลหนึ่ง
เครื่องมือในการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน Forex
ปฏิทินเศรษฐกิจหรือที่เรียกว่าปฏิทิน FX เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เทรดเดอร์ทำการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานของตลาดการเงินจากข่าวเศรษฐกิจ นั่นคือ คุณจะสามารถเห็นเหตุการณ์ในเศรษฐกิจมหภาคที่ทำให้ตลาดเคลื่อนไหวและทำการตัดสินใจซื้อขาย Forex ตามข้อมูลนั้น ๆ
โดยมันเป็นเครื่องมือวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน Forex ที่สำคัญที่สุดที่คุณสามารถใช้ได้ทุกวันในการเทรด ตรวจสอบปฏิทินเศรษฐกิจเพื่อค้นหาข่าวที่กำลังจะออกมาในตลาดและวิธีการเทรด Forex ตามข่าวนั้น
อีกหนึ่งเครื่องมือที่ยอดเยี่ยมสำหรับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานคือเครื่องวัดความแข็งแกร่งของสกุลเงิน โดยเครื่องวัดความแข็งแกร่งของสกุลเงิน หรือ Currency Strength Meter จะเปรียบเทียบระหว่างสกุลเงินหลักต่าง ๆ ที่จับคู่กัน (USD, GBP, EUR, CHF, JPY, CAD, NZD และ AUD) และแจ้งให้ทราบถึงความแข็งแกร่งของสกุลเงินที่เกี่ยวข้อง
ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวบ่งชี้ทางเศรษฐกิจที่มีค่าซึ่งให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสถานะทางการเงินและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศหนึ่ง ๆ แม้แต่ธนาคารก็นำข้อมูลนี้ไปใช้ในการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายการเงิน ตรวจสอบบทความของเราเกี่ยวกับความแข็งแกร่งของสกุลเงิน
การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานหุ้น
เมื่อบุคคลหนึ่งทำการซื้อขายหุ้น พวกเขาอิงผลที่คาดหวังตามรายงานผลประกอบการ ซึ่งเผยให้เห็นว่าบริษัทมีผลการดำเนินการอย่างไรในไตรมาสก่อนหน้า โดยช่วงเวลาของการประกาศรายงานผลประกอบการนั้นมี 4 ช่วงต่อปี ซึ่งแต่ละช่วงนั้นกินเวลายาวนานหลายสัปดาห์ รายงานผลประกอบการจะออกในช่วงเดือนถัดจากไตรมาส (มกราคม เมษายน กรกฎาคม และตุลาคม) นี่คือเวลาที่คุณควรตรวจสอบปฏิทินผลประกอบการเพื่อที่จะได้รู้ว่าควรซื้อขายเมื่อใด
การประกาศผลประกอบการแสดงถึงโอกาสที่ดีในการกระจายการลงทุนจากสกุลเงินไปยังหุ้น และทำกำไรจากการเคลื่อนไหวของราคาครั้งใหญ่ที่จะเกิดขึ้นในช่วงก่อน ระหว่าง และช่วงหลังการประกาศผลประกอบการ ราคาสามารถดีดขึ้นหรือร่วงลงหลายสิบเปอร์เซ็นต์หลังจากการประกาศเหล่านี้ ดังนั้นเทรดเดอร์จึงสามารถทำกำไรได้อย่างรวดเร็วจากการวิเคราะห์พื้นฐานของตลาดหุ้น
จะเทรดตามรายงานผลประกอบการอย่างไรดี?
- หากรายงานทางการเงิน (รายไตรมาสหรือรายปี) แสดงให้เห็นว่าบริษัทมีกำไรหรือยอดขายเพิ่มขึ้น นักลงทุนก็จะสนใจในบริษัทนั้น อุปสงค์ของหุ้นของบริษัทนั้นก็จะเพิ่มขึ้น และราคาก็จะสูงขึ้น
- หากบริษัทประกาศว่าผลกำไรลดลง มันจะส่งผลให้ราคาของหุ้นร่วงลงตามข่าว
ข่าวดีสำหรับเทรดเดอร์ FBS คือพวกเขาสามารถเทรดหุ้นได้ทั้ง Buy และ Sell ดังนั้นเทรดเดอร์จึงมีโอกาสที่จะทำกำไรได้ทั้งสองทิศทาง
ความสำคัญของการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน
การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานเป็นเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับเทรดเดอร์และนักลงทุนในการประเมินมูลค่าที่แท้จริงของสินทรัพย์ การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานช่วยให้เทรดเดอร์ตัดสินใจอย่างชาญฉลาดเกี่ยวกับการซื้อ ถือ หรือขายสินทรัพย์จากการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานที่ขับเคลื่อนตลาด เหตุผลต่อไปนี้เป็นเหตุผลสำคัญบางประการที่จะบอกคุณว่าเหตุใดการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานถึงมีความสำคัญ:
- เพื่อทำความเข้าใจสถานะทางการเงินของบริษัทหรือทั้งประเทศเพื่อตัดสินใจว่าหุ้นหรือสกุลเงินใดที่คุ้มค่าและไม่คุ้มค่า
- เพื่อระบุแนวโน้มตลาดและเข้าร่วมในแนวโน้มนั้น แนวโน้มคือเพื่อนของคุณ ดังนั้นคุณอาจเพลิดเพลินไปกับการแกว่งตัวของราคาครั้งใหญ่และทำการซื้อขายที่ยอดเยี่ยมได้จากการระบุแนวโน้มได้สำเร็จ
- กลยุทธ์การลงทุนระยะยาวนั้นจะไม่สร้างรายได้ให้คุณในทันที แต่ช่วยให้คุณได้เงินมากขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป
ตัวอย่างของการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน
เทรดเดอร์สามารถทำการวิเคราะห์พื้นฐาน รวมถึงอัตราเงินเฟ้อ ข้อมูลการจ้างงาน การตัดสินใจเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลาง และดุลการค้า ด้วยการวิเคราะห์ปัจจัยเหล่านี้ เทรดเดอร์ก็จะสามารถเข้าใจสภาวะเศรษฐกิจพื้นฐานที่ส่งผลต่อสกุลเงินได้ดีขึ้น
ตัวอย่างเช่น EURUSD ร่วงลงหลังจากที่ข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ออกมาในเชิงบวก ดังรูปด้านล่าง ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน คุณสามารถคาดการณ์ว่าประกาศครั้งใหม่จะส่งผลกระทบต่อราคาอย่างไร และเตรียมพร้อมสำหรับการเคลื่อนไหว
สรุป
มีปัจจัยนับพันที่มีอิทธิพลต่ออัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งมันก็มากพอที่อาจทำให้คุณปวดหัวกับการวิเคราะห์ปัจจัยทั้งหมดนี้ไปพร้อม ๆ กัน แต่ไม่ต้องกังวลไป! เราอยู่ตรงนี้และพร้อมที่จะช่วยคุณเสมอ! เราหวังว่าด้วยบทเรียนของเรา คุณจะได้เรียนรู้ทุกสิ่งที่คุณต้องรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน Forex ได้อย่างรวดเร็ว เอาละ เราจะไม่พูดพร่ำทําเพลงอีกต่อไป มาเข้าเรื่องกันเลยดีกว่า
เราบอกความจริงให้คุณฟังไปหมดแล้วว่า ตัวบ่งชี้ทางเศรษฐกิจหลายอย่างอาจมีอิทธิพลต่อราคาของสกุลเงิน โชคดีที่รายการตัวบ่งชี้เหล่านั้นสามารถสรุปออกมาให้เหลือเพียงตัวบ่งชี้ที่สำคัญเพียงแค่ไม่กี่ตัวได้ (ซึ่งถูกเรียกว่าเป็น “ตัวขับเคลื่อนตลาด”) เพื่อที่จะทำให้ดูง่ายขึ้น เราตัดสินใจแบ่งตัวบ่งชี้ทั้งหมดออกเป็น 4 กลุ่มด้วยกัน เราจะได้รู้จักพวกมันในบทเรียนปัจจัยพื้นฐานบทถัดไป
เรียนรู้เรื่องการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานกับ FBS!
อัปเดทแล้ว • 2023-03-29
บทความอื่นๆ ในส่วนนี้
- McClellan Oscillator
- กลยุทธ์การซื้อขายด้วยตัวบ่งชี้ Aroon
- ความแข็งแกร่งของสกุลเงิน
- กรอบเวลาที่ดีที่สุดสำหรับการเทรด
- Renko chart
- ประเภทของแผนภูมิ
- จะใช้ Heikin-Ashi อย่างไร?
- นโยบายผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE)
- Pivot Points
- ตัวบ่งชี้ ZigZag คืออะไร?
- Moving Average: วิธีง่ายๆในการหาเทรนด์
- Williams’ Percent Range (%R)
- Relative Vigor Index (ตัวบ่งชี้ RVI) คืออะไร?
- โมเมนตัม
- Force index
- ตัวบ่งชี้ Envelopes คืออะไร?
- Bulls Power และ Bears Power
- Average True Range
- จะเทรดจากการตัดสินใจของธนาคารกลางอย่างไร?
- CCI (Commodity Channel Index)
- Standard deviation
- Parabolic SAR
- การซื้อขายด้วย Stochastic Oscillator
- Relative Strength Index (RSI)
- MACD (Moving Average Convergence/Divergence)
- ออสซิลเลเตอร์
- ตัวบ่งชี้ ADX: วิธีใช้สำหรับการวิเคราะห์แนวโน้ม Forex อย่างมีประสิทธิภาพ
- Bollinger bands
- ตัวบ่งชี้เทรนด์
- การแนะนำตัวชี้วัดทางเทคนิค
- แนวรับและแนวต้าน
- แนวโน้ม
- การวิเคราะห์ทางเทคนิค
- ธนาคารกลาง: นโยบายและผลกระทบ
- ปัจจัยพื้นฐาน
- การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน vs การวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค