1. FBS >
  2. บล็อก FBS >
  3. 8 ตัวบ่งชี้ที่ใช้กันมากที่สุดในการเทรดแบบ Scalping
อัปเดทแล้ว • 2023-05-18

8 ตัวบ่งชี้ที่ใช้กันมากที่สุดในการเทรดแบบ Scalping

cover.jpg

มีหลายปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อตลาดการเงิน ซึ่งแทบจะเป็นไปไม่ได้ที่จะคาดการณ์ได้อย่างถูกต้องว่าราคาจะเคลื่อนไหวต่อไปทิศทางไหน เทรดเดอร์จำนวนมากต่างสูญเสียเงินที่ได้มาอย่างยากลำบากเนื่องจากการแกว่งของตัวราคาที่คาดไม่ถึง บางคนก็เปลี่ยนเป็นกรอบเวลาที่เล็กลงแล้วหันไปใช้การเทรดแบบ Scalping เพื่อลดความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาที่มีนัยสำคัญ

ในบทความนี้ คุณจะได้เรียนรู้ว่าการเทรดแบบ Scalping คืออะไร เทรดเดอร์ Scalper ใช้ตัวบ่งชี้ใด และวิธีการใช้ตัวบ่งชี้เหล่านี้ในกลยุทธ์การเทรดแบบ Scalping

การเทรดแบบ Scalping คืออะไร?

การเทรดแบบ Scalping เป็นกลยุทธ์การเทรดรายวันระยะสั้นที่เกี่ยวข้องกับการทำกำไรจากการเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ น้อย ๆ ของราคา เทรดเดอร์ที่ใช้กลยุทธ์นี้จะถูกเรียกว่าเทรดเดอร์ Scalper และเป้าหมายหลักของพวกเขาคือการสร้างรายได้จากคำสั่งซื้อขายที่ชนะน้อย ๆ จำนวนมากแทนคำสั่งซื้อขายใหญ่ ๆ และยาวนานไม่กี่คำสั่ง แต่ละคำสั่งซื้อขายจะใช้เวลาตั้งแต่ไม่กี่วินาทีถึงหนึ่งชั่วโมง และจำนวนคำสั่งซื้อขายที่เทรดเดอร์ Scalper เปิดภายในหนึ่งวันอาจมีตั้งแต่สิบไปจนถึงสองสามร้อยคำสั่ง ขึ้นอยู่กับว่าเทรดเดอร์ Scalper นั้นเทรดด้วยตนเองหรือใช้ซอฟต์แวร์การเทรดแบบอัตโนมัติ

สิ่งสำคัญที่ดึงดูดเทรดเดอร์ให้สนใจกลยุทธ์นี้คือการจับการเคลื่อนไหวเล็ก ๆ น้อย ๆ ของราคาและทำกำไรจากมันนั้นทำได้ง่ายกว่ามาก การเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ น้อย ๆ ของราคานั้นเกิดขึ้นบ่อยมาก ๆ และเนื่องจากแต่ละคำสั่งซื้อขายจะใช้เวลาเพียงสั้น ๆ จึงมีความเสี่ยงน้อยลงอย่างมากที่จะเผชิญกับเหตุการณ์ขัดแย้งที่อาจนำไปสู่การเคลื่อนไหวของราคาที่ไม่พึงประสงค์

การเทรดแบบ Scalping ทำงานอย่างไร?

แม้ว่าการเทรดแบบ Scalping จะถูกมองว่ามีความเสี่ยงน้อยกว่ากลยุทธ์การเทรดระยะยาว แต่มันจะทำงานได้ผลดีก็ต่อเมื่อเทรดเดอร์มีแผนการเทรดที่ชัดเจนและมีระเบียบวินัยที่เข้มงวด ดังนั้นมันจึงเหมาะกับเทรดเดอร์ที่มีประสบการณ์

ก่อนที่จะเปิดคำสั่งซื้อขาย เทรดเดอร์ Scalper จะต้องกำหนดจุดเข้า เป้าหมายกำไร และระดับตัดขาดทุน เมื่อทำเสร็จแล้ว การทำตามแผนนี้ถือเป็นสิ่งสำคัญ หากราคาถึงเป้าหมายกำไร เทรดเดอร์ Scalper จะปิดคำสั่งซื้อขายเสมอแม้ว่าจะมีโอกาสที่ราคาจะสูงขึ้นมากกว่านี้ก็ตาม ในทำนองเดียวกัน หากราคาแตะถึงระดับตัดขาดทุน พวกเขาจะปิดคำสั่งซื้อขายโดยไม่รอให้ราคาเด้งกลับ การทำเช่นนี้จะช่วยลดความเสี่ยงในการเผชิญกับการเคลื่อนไหวของตลาดที่ไม่คาดคิดและไม่พึงประสงค์ และทำให้การเทรดแบบ Scalping มีความเสี่ยงน้อยกว่ากลยุทธ์การเทรดแบบอื่น ๆ

ในการวางแผนการเทรดให้ประสบความสำเร็จ เทรดเดอร์ Scalper จำเป็นต้องเข้าใจว่าตลาดมีแนวโน้มที่จะเคลื่อนไหวต่อไปในทิศทางใด ดังนั้นพวกเขาจึงใช้ตัวบ่งชี้การวิเคราะห์ทางเทคนิคจำนวนมาก ศึกษากราฟราคาระยะสั้น (1-5 นาที) เข้าใจจิตวิทยาของเทรดเดอร์ และการเคลื่อนไหวครั้งต่อไปของพวกเขาจะเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับสภาวะตลาด ณ ปัจจุบัน

ข้อดีและข้อเสียของการเทรดแบบ Scalping

เช่นเดียวกับรูปแบบการเทรดอื่น ๆ การเทรดแบบ Scalping ก็มีข้อดีและข้อเสียที่ทำให้เทรดเดอร์สนใจหรือหลีกเลี่ยงที่จะนำไปใช้งาน

ข้อดีของการเทรดแบบ Scalping นั้น มีดังนี้

  • ความเสี่ยงต่ำ เทรดเดอร์ Scalper จะทำกำไรจากการเคลื่อนไหวเล็ก ๆ น้อย ๆ ของราคาที่เกิดขึ้นภายในกรอบเวลาที่เล็กที่สุด แม้ว่าราคาจะเคลื่อนไหวสวนทางกับเทรดเดอร์ แต่มันก็ไม่มีทางที่จะเคลื่อนไหวออกไปนอกเหนือระดับตัดขาดทุนที่วางเอาไว้เพื่อจำกัดการขาดทุนใด ๆ ที่เทรดเดอร์ Scalper อาจต้องเผชิญ
  • โอกาสในการทำกำไร หากเทรดเดอร์ Scalper ยึดมั่นทำตามแผนการเทรดของตนและเทรดสินทรัพย์เดียวด้วยปริมาณคำสั่งซื้อขายใหญ่ ๆ ไปเลย พวกเขาจะทำกำไรได้เยอะมากในตอนสิ้นวัน
  • ไม่จำเป็นต้องติดตามเรื่องปัจจัยพื้นฐาน การเทรดโดยใช้ปัจจัยพื้นฐานนั้นจะประกอบด้วยการติดตามข่าวสาร เหตุการณ์ และรายงานสถิติทางเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อมูลค่าของสินทรัพย์ เพื่อกำหนดเวลาที่ดีที่สุดในการซื้อหรือขายสินทรัพย์ดังกล่าว อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเทรดเดอร์ Scalper จะทำกำไรจากความผันผวนเล็ก ๆ น้อย ๆ ของราคา พวกเขาจึงไม่จำเป็นต้องติดตามเรื่องปัจจัยพื้นฐาน เนื่องจากมันจะไม่ส่งผลกระทบต่อกรอบเวลาเล็ก ๆ
  • ใช้ได้ทั้งสองทิศทาง ด้วยการเทรดแบบ Scalping คุณสามารถเทรดได้ทั้งตลาดกระทิงและตลาดหมี ดังนั้นเทรดเดอร์ Scalper จึงมีโอกาสมากขึ้นในการทำกำไรจากการเปลี่ยนแปลงของราคา
  • ทำให้เป็นอัตโนมัติได้ การเทรดแบบ Scalping ต้องการความแม่นยำและการกะจังหวะที่ดี เนื่องจากแม้แต่การหน่วงเวลาเพียงหนึ่งวินาทีก็อาจส่งผลกระทบต่อคำสั่งซื้อขายของคุณได้ โชคดีที่มันเป็นไปได้ที่จะใช้ซอฟต์แวร์การเทรดแบบอัตโนมัติเพื่อส่งคำสั่งซื้อขายเมื่อราคาถึงหนึ่งในเป้าหมาย และทำกำไรให้มากที่สุดจากแต่ละคำสั่งซื้อขาย

ส่วนข้อเสียบางอย่างที่เทรดเดอร์จะต้องพิจารณาก่อนที่จะตัดสินใจรวมกลยุทธ์นี้เข้ากับการเทรดของพวกเขา มีดังนี้

  • ต้องใช้ประสบการณ์และเวลาอย่างมาก แม้ว่าการเทรดแบบ Scalping อาจดูเหมือนง่าย แต่มันก็ยังเป็นกลยุทธ์การเทรดขั้นสูงที่ต้องมีความเข้าใจที่ดีเกี่ยวกับตลาดและการเคลื่อนไหวของมัน เทรดเดอร์มือใหม่อาจพบว่ามันยากมากที่จะปฏิบัติตามแผนการเทรดที่เข้มงวดและติดตามหลายคำสั่งซื้อขายเป็นเวลาหลายชั่วโมงทุกวัน ในทางกลับกัน เทรดเดอร์ที่มีประสบการณ์จะมีระเบียบวินัยที่ดีกว่า มีประสบการณ์มากกว่า และมีเงินทุนเพื่อให้ทันกับความเคลื่อนไหวที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาของตลาด
  • ต้นทุนการทำธุรกรรม เช่นเดียวกับเทรดเดอร์ประเภทอื่น เทรดเดอร์ Scalper จะต้องจ่ายค่าคอมมิชชันหรือค่าสเปรดสำหรับทุกคำสั่งซื้อขายที่พวกเขาดำเนินการ เนื่องจากเทรดเดอร์ Scalper จะเปิดคำสั่งซื้อขายมากกว่าเทรดเดอร์ประเภทอื่น ต้นทุนจึงอาจสะสมและกัดกินกำไรที่พวกเขาได้จากคำสั่งซื้อขายเหล่านั้น
  • ปัญหาทางเทคนิค ดังที่เราได้กล่าวไปแล้ว แม้แต่ความล่าช้าเพียงหนึ่งวินาทีก็สามารถส่งผลกระทบต่อผลลัพธ์ของคำสั่งซื้อขายได้ อย่างไรก็ตาม ก็ไม่ใช่ว่าทุกความล่าช้าจะเป็นความผิดของเทรดเดอร์ ปัญหาการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ปัญหาเกี่ยวกับแพลตฟอร์ม ฯลฯ อาจทำให้เกิดการคลาดเคลื่อนและความล่าช้าในการดำเนินการ ทำให้คำสั่งซื้อขายที่เป็นกำไรในภาพรวมกลายเป็นความล้มเหลว สิ่งนี้สามารถบรรเทาได้โดยการใช้ซอฟต์แวร์การเทรดแบบอัตโนมัติและ VPS แต่เทรดเดอร์ที่ไม่สามารถเข้าถึงเครื่องมือเหล่านี้ได้ควรระมัดระวังเรื่องการเทรดแบบ Scalping

แปดตัวบ่งชี้การเทรดแบบ Scalping ที่ใช้กันบ่อยที่สุด

แม้ว่าเทรดเดอร์ Scalper อาจไม่จำเป็นต้องรู้ทิศทางระยะยาวของแนวโน้มตลาด แต่พวกเขาต้องเข้าใจว่าราคามีแนวโน้มที่จะเคลื่อนไหวไปในทิศทางใดเพื่อให้สามารถทำการตัดสินใจได้อย่างชาญฉลาด ซึ่งนี่จะเป็นเวลาที่ตัวบ่งชี้การวิเคราะห์ทางเทคนิคนั้นมีประโยชน์มากเป็นพิเศษ เนื่องจากเทรดเดอร์ Scalper สามารถนำมาใช้เพื่อคาดการณ์การเคลื่อนไหวของราคาในอนาคตได้ และตอนนี้เราจะไปดูแปดตัวบ่งชี้ที่ถูกนำมาใช้ในการเทรดแบบ Scalping บ่อยที่สุดกัน

1. ตัวบ่งชี้ SMA

ตัวบ่งชี้ Simple Moving Average (SMA) เป็นหนึ่งในเครื่องมือพื้นฐานที่เทรดเดอร์ Scalper ใช้ในการระบุแนวโน้มและสร้างกลยุทธ์การเทรด มันจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับราคาเฉลี่ยของสินทรัพย์เฉพาะโดยการเพิ่มช่วงของราคาปิดและหารผลรวมด้วยจำนวนแท่งเทียนภายในช่วงนั้น สิ่งนี้จะช่วยให้เทรดเดอร์ Scalper เข้าใจว่าต้นทุนของสินทรัพย์นั้นกำลังขยับขึ้นหรือลง และแนวโน้มปัจจุบันอาจกลับตัวหรือไม่

1.png

2. Exponential Moving Average (EMA)

EMA เป็นอีกหนึ่งตัวบ่งชี้ที่ใช้ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ เช่นเดียวกับตัวบ่งชี้ SMA ที่มันจะวิเคราะห์ราคาของสินทรัพย์ อย่างไรก็ตาม ตัวบ่งชี้ EMA จะมุ่งเน้นไปที่ราคาล่าสุดและสามารถให้ข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมแก่เทรดเดอร์ Scalper ได้ เทรดเดอร์ Scalper จะใช้ EMA เพื่อกำหนดแนวโน้มปัจจุบันและระบุจุดเข้าที่เป็นไปได้ หากราคาตัดข้ามขึ้นเหนือหรือลงใต้เส้น EMA มันจะสามารถส่งสัญญาณโอกาสในการซื้อหรือขายได้

2.png

3. ตัวบ่งชี้ MACD

ตัวบ่งชี้ถัดไปในรายการคือ Moving Average Convergence Divergence (MACD) มันเป็นตัวบ่งชี้แนวโน้มที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่สองค่า การเคลื่อนไหวที่ตามมาของเส้นสองเส้นเมื่อพวกมันทับซ้อนกัน บรรจบกัน หรือแยกออกจากกันบ่งชี้ถึงโมเมนตัมปัจจุบัน ซึ่งจะให้สัญญาณซื้อหรือขายแก่เทรดเดอร์ เทรดเดอร์ Scalper จะใช้ตัวบ่งชี้นี้เพื่อค้นหาจุดเข้าหรือออกที่เป็นไปได้และระบุการเปลี่ยนแปลงของแนวโน้ม

3.png

4. Parabolic SAR

Parabolic Stop And Reversal (Parabolic SAR) นั้นเป็นตัวบ่งชี้ที่เทรดเดอร์ใช้กันทั่วไปเพื่อรับข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับแนวโน้มการเคลื่อนไหวของราคา Parabolic SAR จะปรากฏบนกราฟเป็นชุดของจุดไข่ปลาที่อยู่เหนือหรือใต้ราคา หากจุดไข่ปลาอยู่ใต้ราคา ราคาก็จะขยับขึ้น และในทำนองกลับกัน เมื่อจุดไข่ปลาเปลี่ยนตำแหน่ง เทรดเดอร์ควรคาดหวังการกลับตัวของแนวโน้มที่อาจเกิดขึ้น ตัวบ่งชี้นี้มีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับเทรดเดอร์ Scalper เนื่องจากมันสามารถกำหนดโมเมนตัมระยะสั้นของการเคลื่อนไหวของราคาได้

4.png

5. Stochastic Oscillator

ตัวบ่งชี้การวิเคราะห์ทางเทคนิคถัดไปที่เทรดเดอร์ Scalper นำมาใช้คือ Stochastic Oscillator นี่คือตัวบ่งชี้โมเมนตัม และมันจะเปรียบเทียบราคาปิดของสินทรัพย์กับช่วงราคาของมันในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ เป็นผลให้มันสามารถระบุภาวะตลาดที่มีการซื้อมากเกินไปหรือขายมากเกินไปที่สามารถส่งสัญญาณการกลับตัวของแนวโน้มที่อาจเกิดขึ้นได้

5.png

6. Volume-Weighted Average Price (VWAP)

Volume-Weighted Average Price (VWAP) เป็นเครื่องมือการวิเคราะห์ทางเทคนิคที่ช่วยให้เทรดเดอร์สามารถกำหนดสภาพคล่องของสินทรัพย์และระบุระดับแนวรับและแนวต้านได้ VWAP นี้จะถูกนำมาใช้เพื่อคำนวณราคาเฉลี่ยของสินทรัพย์ตามปริมาณที่ซื้อในช่วงเวลาหนึ่ง ตัวบ่งชี้นี้เหมาะกับการเทรดระยะสั้นมากที่สุด ดังนั้นจึงมันจึงถูกนำมาใช้เป็นหลักในการเทรดแบบ Scalping และกลยุทธ์ระหว่างวันประเภทอื่น ๆ

โดยมันจะดีกว่าถ้าปฏิบัติตามกลยุทธ์การเทรดที่เกี่ยวข้องกับปริมาณผ่านบริการต่าง ๆ ที่ให้ข้อมูลปริมาณโดยรวม ดังนั้น รูปด้านล่างจะแสดงตัวบ่งชี้ VWAP บนเว็บไซต์ Trading View

6.png

7. Bollinger Bands

Bollinger Bands เป็นตัวบ่งชี้การเทรดแบบ Scalping ที่ประกอบด้วยเส้นสามเส้น: ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (เส้นกลาง) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานสองเส้น (แถบบนและล่าง) ตัวบ่งชี้นี้สามารถช่วยให้เทรดเดอร์กำหนดระดับการซื้อมากเกินไปและการขายมากเกินไป และระบุแนวโน้มและการกลับตัวที่อาจเกิดขึ้นได้ แต่เทรดเดอร์ Scalper ส่วนใหญ่จะใช้ตัวบ่งชี้นี้ในการค้นหาจุดเข้าและวัดความผันผวน เมื่อราคาแตะถึงแถบบนหรือแถบล่าง มันสามารถส่งสัญญาณการกลับตัวหรือความต่อเนื่องของแนวโน้มได้

7.png

8. Relative Strength Index (RSI)

Relative Strength Index (RSI) เป็นตัวบ่งชี้ออสซิลเลเตอร์ที่ระบุความแข็งแกร่งของการเคลื่อนไหวของราคาโดยการวัดการเปลี่ยนแปลงของราคาและความเร็วที่เกิดขึ้น เทรดเดอร์ Scalper จะใช้ตัวบ่งชี้นี้เพื่อระบุระดับซื้อมากเกินไปและขายมากเกินไปที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งสามารถส่งสัญญาณการกลับตัวของแนวโน้มที่เป็นไปได้

8.png

กลยุทธ์การเทรดแบบ Scalping ที่ดีที่สุด

เพื่อให้เชี่ยวชาญในการเทรดแบบ Scalping คุณต้องพัฒนากลยุทธ์การเทรดที่เชื่อถือได้ ซึ่งจะช่วยให้คุณได้รับผลกำไรสูงสุดจากคำสั่งซื้อขายทั้งหมดของคุณ นี่คือสามกลยุทธ์การเทรดแบบ Scalping ที่เทรดเดอร์ Scalper ทั่วโลกใช้งานกัน

กลยุทธ์ Moving Average Ribbon

กลยุทธ์การเทรดแบบ Scalping นี้เกี่ยวข้องกับการใช้หลายเส้น EMA กับกรอบเวลาที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น เทรดเดอร์ Scalper โดยทั่วไปจะใช้ EMA-10, EMA-20, EMA-50 และ EMA-100 จากนั้นเส้น EMA ทั้งหลายจะถูกขีดลงบนกราฟในรูปแบบคล้ายแถบริบบิ้นที่วิ่งขนานกัน แถบริบบิ้นนี้สามารถใช้ในการระบุทิศทางและโมเมนตัมของแนวโน้มได้ แถบริบบิ้นที่ "เรียบ" จะบ่งชี้ถึงแนวโน้มที่แข็งแกร่ง ซึ่งหมายความว่าเทรดเดอร์ Scalper สามารถเปิดตำแหน่งซื้อหรือขายได้

ควรวางจุด Stop Loss ไว้ใต้จุดแกว่งตัวต่ำสุดล่าสุด (สำหรับคำสั่งซื้อ) หรือเหนือจุดแกว่งตัวสูงสุดก่อนหน้า (สำหรับคำสั่งขาย) เมื่อราคาแตะเส้น EMA-200 อีกครั้ง ก็ได้เวลาปิดคำสั่งซื้อขายและเก็บกำไร

9.png

กลยุทธ์ Bollinger Bands

กลยุทธ์นี้จะใช้ประโยชน์ของตัวบ่งชี้ Bollinger Bands อย่างที่เราทราบกันดีอยู่แล้วว่ามันประกอบด้วยเส้นสามเส้น คือ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานสองเส้น และเส้น SMA ที่อยู่ระหว่างเส้นทั้งสองดังกล่าว หากราคาตัดข้ามหนึ่งในแถบนอก นั่นแสดงว่ามีความเป็นไปได้ที่จะเกิดการกลับตัวหรือเกิดความต่อเนื่องของแนวโน้มในครั้งต่อไป

ควรวางจุด Stop Loss ไว้ใต้จุดต่ำสุดล่าสุด (สำหรับคำสั่งซื้อ) หรือเหนือจุดสูงสุดก่อนหน้า (สำหรับคำสั่งขาย) เทรดเดอร์ Scalper สามารถเปิดคำสั่งซื้อขายได้เมื่อราคาตัดข้ามหนึ่งในแถบนอกและปิดคำสั่งซื้อขายเมื่อมันกลับมาที่ SMA

10.png

กลยุทธ์ MACD + EMA

ในกลยุทธ์นี้ เทรดเดอร์ Scalper จะใช้ตัวบ่งชี้ MACD และ EMA (เช่น EMA-200) เพื่อกำหนดทิศทางและโมเมนตัมของแนวโน้ม หากเส้น MACD พุ่งสูงขึ้นเหนือระดับศูนย์ในขณะที่เส้น EMA อยู่ต่ำกว่าราคาจะทำให้เกิดสัญญาณซื้อ ขณะเดียวกัน หากเส้น MACD ร่วงลงต่ำกว่าระดับศูนย์โดยที่เส้น EMA อยู่เหนือราคา เทรดเดอร์ Scalper ควรเตรียมเปิดตำแหน่งขาย เมื่อ MACD เลื่อนลงต่ำกว่าเส้นสัญญาณ ก็ถึงเวลาปิดคำสั่งซื้อขาย

11.png

สรุป

การเทรดแบบ Scalping ต้องการความอดทน ระเบียบวินัย และเวลาอย่างมากจากเทรดเดอร์ หากคุณต้องการเริ่มเทรดแบบ Scalping คุณจะต้องสามารถตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วและรู้วิธีการใช้งานตัวบ่งชี้ต่าง ๆ ด้วยกลยุทธ์และกรอบความคิดที่ถูกต้อง คุณจะกลายเป็นเทรดเดอร์ Scalper ที่ประสบความสำเร็จและทำกำไรได้เป็นจำนวนมากจากสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูงที่สุด

  • 1276

ประกาศการเก็บรวบรวมข้อมูล

FBS เก็บรักษาข้อมูลของคุณไว้เพื่อใช้งานเว็บไซต์นี้ เมื่อกดปุ่ม "ยอมรับ" ถือว่าคุณยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเรา

โทรกลับ

ผู้จัดการของเราจะโทรหาคุณในเร็ว ๆ นี้

เปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์

เราได้รับคำร้องของคุณแล้ว

ผู้จัดการของเราจะโทรหาคุณในเร็ว ๆ นี้

คำขอโทรกลับครั้งต่อไปสำหรับหมายเลขโทรศัพท์นี้
จะพร้อมใช้งานใน

หากคุณมีปัญหาเร่งด่วนโปรดติดต่อเราผ่านทาง
สนทนาออนไลน์

เกิดข้อผิดพลาดภายใน กรุณาลองใหม่อีกครั้งในภายหลัง

อย่ามัวเสียเวลา - ติดตามดูว่า NFP ส่งผลกระทบอย่างไร ต่อ USD แล้วทำกำไรเลยสิ!

คุณกำลังใช้เบราว์เซอร์เวอร์ชันเก่ากว่านี้

อัปเดตเป็นเวอร์ชันล่าสุดหรือลองใช้เพื่อการเทรดที่สะดวกสบายและมีประสิทธิผลยิ่งขึ้น

Safari Chrome Firefox Opera