1. FBS >
  2. บล็อก FBS >
  3. วิธีการขายชอร์ต ข้อดีและข้อเสียของการขายชอร์ต
อัปเดทแล้ว • 2023-06-07

วิธีการขายชอร์ต ข้อดีและข้อเสียของการขายชอร์ต

cover.jpg

การขายชอร์ตคืออะไร?

พูดง่าย ๆ ว่าการขายชอร์ต หรือ Short Selling คือการที่นักลงทุนยืมหลักทรัพย์และขายโดยหวังว่าจะซื้อคืนในราคาที่ต่ำกว่าในอนาคต ทำให้พวกเขาทำกำไรได้ นี่คือการขายชอร์ตโดยสังเขป

อย่างไรก็ตาม เราจะต้องไม่ลดความซับซ้อนของกลยุทธ์การลงทุนนี้มากเกินไปนัก เนื่องจากการขายชอร์ตไม่เพียงแต่มาพร้อมกับโอกาสในการทำกำไรจำนวนมากเท่านั้น แต่ยังมาพร้อมความเสี่ยงที่ร้ายแรงเช่นกัน เมื่อรวมกับข้อเสียหลายประการที่คุณอาจต้องการทราบ การขายชอร์ตนับว่าเป็นกิจกรรมที่ไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ เลยทีเดียว

บทความนี้จะแนะนำคุณเกี่ยวกับการขายชอร์ต บอกข้อดีและข้อเสีย เหตุผลที่คุณอาจอยากลองทำ และที่สำคัญที่สุดคือสิ่งที่คุณต้องระวัง

การขายชอร์ตทำงานอย่างไร?

เมื่อคุณขายชอร์ตคุณจะพยายามเก็งกำไรจากราคาหุ้นที่คาดว่าจะลดลง การขายชอร์ตเป็นสิ่งที่ควรทำโดยผู้เล่นในตลาดที่มีประสบการณ์เท่านั้น

ในการเปิดสถานะสำหรับการขายชอร์ต ก่อนอื่นเราต้องยืมหุ้นหรือสินทรัพย์อื่น ๆ ที่คาดว่าจะมีมูลค่าลดลง หลังจากนั้นก็ขายหุ้นที่ยืมมาให้กับผู้ที่ยินดีจะจ่ายในราคาตลาด

ขั้นตอนต่อไปคือรอให้หุ้นมีราคาถูกลงเพื่อที่นักลงทุนจะได้ซื้อคืนในราคาที่ถูกลงและนำส่งคืนให้กับผู้ให้กู้ เคล็ดลับหลักที่นี่คือราคาอาจไม่ลดลง แต่เพิ่มขึ้นแทน ดังนั้น ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจึงแทบจะไร้ขีดจำกัด

ความเสี่ยงของการขายชอร์ตคืออะไร?

สิ่งที่ตรงกันข้ามกับการขายชอร์ต (Short Sell) คือการขายลอง (Long Sell) เมื่อคุณเปิดสถานะ Long คุณจะเทรดหุ้นที่คุณเป็นเจ้าของ ในกรณีที่การเทรดล้มเหลว คุณก็จะสูญเสียแค่เงินที่คุณได้ลงทุนไปเท่านั้น ดังนั้น หากคุณซื้อหนึ่งหุ้นที่ราคา $100 จำนวนเงินสูงสุดที่คุณจะเสียได้คือ $100 นั่นเป็นเพราะราคาหุ้นไม่สามารถลงไปต่ำกว่า $0 ได้

จงขายชอร์ตในตอนที่สถานการณ์พลิกผันอย่างมาก ตามทฤษฎีแล้ว เมื่อคุณขายชอร์ตจะไม่มีการจำกัดจำนวนเงินที่คุณจะสูญเสียหากคุณล้มเหลว เนื่องจากราคาหุ้นอาจพุ่งสูงทะลุหลังคาได้

กลับมาที่ตัวอย่างล่าสุดกัน ด้วยหุ้น $100 หากราคาขึ้นไปถึง $300 ก่อนที่คุณจะออกจากการเทรด การขาดทุนของคุณจะเท่ากับ $200 ต่อหุ้น

ความเสี่ยงอีกอย่างหนึ่งที่ผู้ขายชอร์ตอาจเผชิญก็คือ Short squeeze มันเป็นสถานการณ์ที่หุ้นซึ่งถูกขายชอร์ตอย่างหนักแต่ราคากลับพุ่งขึ้นอย่างรุนแรง กระบวนการนี้จะทำให้ผู้ขายชอร์ตซื้อหุ้นคืนมากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อปิดดีล เนื่องจากราคาพุ่งสูงขึ้นอย่างรุนแรง และนักลงทุนจะพยายามจำกัดการขาดทุนของตน

ในแง่ของสิ่งที่กล่าวมา การขายชอร์ตจะสมเหตุสมผลก็ต่อเมื่อคุณเป็นนักลงทุนที่มีประสบการณ์และพร้อมที่จะเผชิญกับความเสี่ยงทางการเงินที่ร้ายแรง แต่ถ้ามันไม่ใช่แนวของคุณ คุณอาจต้องการลองสิ่งที่เสี่ยงน้อยกว่า

Frame_11.jpg

ทางเลือกที่มีความเสี่ยงต่ำกว่าการขายชอร์ต

การซื้อ Put Option ในหุ้นตัวเดียวกันเป็นทางเลือกแทนการขายชอร์ตที่ช่วยจำกัดความเสี่ยงของคุณ เมื่อคุณเป็นเจ้าของ Put Option คุณสามารถขายหุ้นในราคาที่กำหนดได้ ซึ่งจะเรียกว่าราคาใช้สิทธิ์ หากราคาหุ้นสูงขึ้น การขาดทุนของคุณจะถูกจำกัดไว้เพียงจำนวนที่คุณได้จ่ายไปสำหรับ Put Option (Option Premium)

ขนาด Option Premium จะขึ้นอยู่กับราคาใช้สิทธิ์และวันหมดอายุของ Put Option ยิ่งราคาใช้สิทธิ์สูงขึ้นและยิ่งวันหมดอายุไกลออกไป Option Premium ก็จะยิ่งมีราคาสูงขึ้น

ตัวอย่าง: หุ้นซื้อขายกันที่ราคา $100 ในวันที่ 10 เมษายน 2023 Put Option มีราคา $15 ต่อหุ้น ราคาใช้สิทธิ์อยู่ที่ $100 ซึ่งจะหมดอายุในสองสัปดาห์ในวันที่ 24 เมษายน 2023 ดังนั้นหากราคาหุ้นสูงกว่า $100 การขาดทุนของคุณจะถูกจำกัดไว้ที่ $15 ต่อหุ้น (บวกค่าคอมมิชชัน)

การขายชอร์ตทำเงินได้อย่างไร?

มองมันว่าเป็นด้านตรงข้ามของความเสี่ยงที่เกิดจากการขายชอร์ตชอร์ต เมื่อคุณขายหุ้นโดยคาดว่าราคาจะลดลงและการคาดการณ์ของคุณถูกต้อง คุณก็จะซื้อหุ้นคืนในราคาที่ต่ำกว่า ซึ่งทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างราคาขายและราคาซื้อ ส่วนต่างของราคาทั้งสองก็คือกำไรของคุณ ยิ่งแตกต่างกันมากเท่าไร คุณก็ยิ่งทำเงินได้มากขึ้นเท่านั้น

นี่คือตัวอย่างง่าย ๆ ของการขายชอร์ต เช่น มีหุ้นตัวหนึ่งซื้อขายที่ราคา $50 ต่อหุ้น คุณยืมหุ้นมา 100 หุ้น แล้วเอามาขาย ซึ่งคิดเป็นเงิน $5,000 จากนั้นราคาก็เป็นไปตามที่คุณคาดไว้ คือมันร่วงลงมา เพื่อให้การคำนวณง่ายขึ้น สมมติว่าราคาลดลงเหลือ $25 ต่อหุ้น เมื่อเป็นเช่นนั้น คุณก็ซื้อหุ้น 100 หุ้นเพื่อทดแทนหุ้นที่คุณยืมไป ในกรณีนี้ กำไรของคุณคือ $2,500

อย่างไรก็ตาม มีสิ่งอื่นที่คุณควรรู้เกี่ยวกับการขายชอร์ต นั่นก็คือค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง

การขายชอร์ตมีค่าใช้จ่ายหรือไม่?

คำตอบก็คือ มี เมื่อคุณวางแผนที่จะขายชอร์ตคุณจะต้องพิจารณาค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ดังต่อไปนี้:

  • ดอกเบี้ยส่วนต่าง (Margin interest)

ไม่มีทางที่คุณจะเริ่มต้นการขายชอร์ตได้โดยปราศจากบัญชีมาร์จิ้น ดังนั้นผู้ขายชอร์ตแต่ละรายจะต้องจ่ายดอกเบี้ยให้กับเงินที่ยืมมา

  • ค่าใช้จ่ายในการยืมหุ้น

มีโอกาสที่คุณจะยืมหุ้นของบางบริษัทไม่ได้เนื่องจากดอกเบี้ยสำหรับการชอร์ตนั้นสูง หรือปริมาณหุ้นทั้งหมดที่มีให้นักลงทุนทั่วไปซื้อและขายมีจำกัด (share float) ซึ่งการยืมหุ้นดังกล่าวจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียม hard-to-borrow (เนื่องจากปริมาณหุ้นที่ทำการขายชอร์ตได้มีจำนวนจำกัด) ค่าธรรมเนียมประเภทนี้จะอ้างอิงตามอัตราดอกเบี้ยรายปี มันอาจค่อนข้างสูงและคิดเป็นสัดส่วนตามจำนวนคำสั่งซื้อขายที่คำสั่ง Short ถูกเปิด

  • เงินปันผลและการชำระเงินอื่น ๆ

ท้ายที่สุด ผู้ขายชอร์ตแต่ละรายอาจต้องจ่ายเงินปันผลสำหรับหุ้นที่ชอร์ตบวกกับการจ่ายเงินสำหรับกิจกรรมขององค์กรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับหุ้นที่พวกเขาขายชอร์ตรวมถึงการแตกหุ้นและการแยกบริษัท

ข้อดีและข้อเสียของการขายชอร์ต

ผู้เล่นในตลาดจะหันไปขายชอร์ตด้วยเหตุผลต่าง ๆ ดังต่อไปนี้:

  • การขายชอร์ตทำให้มีโอกาสในทำกำไรได้เป็นกอบเป็นกำ
  • กลยุทธ์นี้ใช้เงินทุนเริ่มต้นค่อนข้างน้อย
  • การขายชอร์ตนั้นเป็นไปได้ด้วยการลงทุนแบบใช้เลเวอเรจ
  • นักลงทุนสามารถป้องกันความเสี่ยงจากการถือครองอื่น ๆ

ในทางกลับกัน การขายชอร์ตก็มีข้อเสียที่ร้ายแรงอยู่บ้าง:

  • หากคุณล้มเหลวในการขายชอร์ตการขาดทุนของคุณอาจไร้ขีดจำกัด
  • คุณไม่สามารถขายชอร์ตได้หากไม่ใช้บัญชีมาร์จิ้น
  • การขายชอร์ตต้องมีการจ่ายดอกเบี้ยส่วนต่าง
  • Short squeeze อาจทำให้คุณเป็นหนี้ได้

สรุป

นักลงทุนและเทรดเดอร์มองว่าการขายชอร์ตเป็นวิธีการทำกำไรในตลาดขาลงโดยการยืมหุ้น ขายในราคาตลาด แล้วซื้อคืนในราคาที่ต่ำกว่าในอนาคต ซึ่งแน่นอนว่าที่คาดการณ์ไว้ว่าจะเป็นขาลงต้องเป็นจริงด้วย

บางคนวิจารณ์ว่าแนวคิดของการขายชอร์ตนั้นเป็นการเดิมพันกับตลาด แต่ในทางกลับกัน หลายคนก็มีแนวโน้มที่จะมองว่าการขายชอร์ตนั้นเป็นพลังรักษาเสถียรภาพที่ทำให้ตลาดมีประสิทธิภาพมากขึ้น

การขายชอร์ตสามารถนำกำไรมาให้ได้เป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม มันก็มาพร้อมกับความเสี่ยงอันร้ายแรงที่เกี่ยวข้องกับการสูญเสียทางการเงินแบบไร้ขีดจำกัดในกรณีที่เกิดความล้มเหลว อีกสิ่งที่ต้องพิจารณาคือค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง เช่น ดอกเบี้ยส่วนต่างและค่าใช้จ่ายในการยืมหุ้น ซึ่งจะเพิ่มความซับซ้อนโดยรวมให้กับการขายชอร์ต

  • 2256

ประกาศการเก็บรวบรวมข้อมูล

FBS เก็บรักษาข้อมูลของคุณไว้เพื่อใช้งานเว็บไซต์นี้ เมื่อกดปุ่ม "ยอมรับ" ถือว่าคุณยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเรา

โทรกลับ

ผู้จัดการของเราจะโทรหาคุณในเร็ว ๆ นี้

เปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์

เราได้รับคำร้องของคุณแล้ว

ผู้จัดการของเราจะโทรหาคุณในเร็ว ๆ นี้

คำขอโทรกลับครั้งต่อไปสำหรับหมายเลขโทรศัพท์นี้
จะพร้อมใช้งานใน

หากคุณมีปัญหาเร่งด่วนโปรดติดต่อเราผ่านทาง
สนทนาออนไลน์

เกิดข้อผิดพลาดภายใน กรุณาลองใหม่อีกครั้งในภายหลัง

อย่ามัวเสียเวลา - ติดตามดูว่า NFP ส่งผลกระทบอย่างไร ต่อ USD แล้วทำกำไรเลยสิ!

คุณกำลังใช้เบราว์เซอร์เวอร์ชันเก่ากว่านี้

อัปเดตเป็นเวอร์ชันล่าสุดหรือลองใช้เพื่อการเทรดที่สะดวกสบายและมีประสิทธิผลยิ่งขึ้น

Safari Chrome Firefox Opera