บทที่ 5 ต้องใช้เงินกี่ดอลลาร์? 7-9 นาทีในการอ่าน

เมื่อคุณวิเคราะห์กราฟ คุณจะดูที่ระดับทางเทคนิค คุณคิดว่าคุณจะได้กี่ pip จากการซื้อขาย คุณยังสามารถดูกำไรหรือขาดทุนสำหรับตำแหน่งที่เปิดอยู่ของคุณได้ ซึ่งมันจะถูกแสดงในหน่วยของสกุลเงินในบัญชีของคุณ

"ตรรกะเบื้องหลังตัวเลขเหล่านั้นคืออะไร? แล้วผมจะจัดการและควบคุมกำไรของผมได้ยังไงล่ะ?"

กำไรของคุณจะเป็นเท่าไร?

ลองนึกดูว่าคุณมีวันที่ดีสุด ๆ และทำกำไรได้ 1,000 จุด มันคิดเป็นกี่ดอลลาร์ล่ะนั่น? มันก็ขึ้นอยู่กับบางอย่างนะ

ลองคิดว่ามันเป็นเหมือนการเตรียมอาหาร ยิ่งคุณใส่ส่วนผสมในปริมาณมากเท่าไร คุณก็จะได้อาหารมากขึ้นเท่านั้น ดอลลาร์คือส่วนผสมของคุณที่คุณใส่เข้าไป หรือเราจะเปลี่ยนมาเรียกมันว่าลงทุนก็ได้ ยิ่งคุณวางเดิมพันในการซื้อขายใดโดยเฉพาะ คุณก็ยิ่งจะได้รับผลกำไรมากขึ้นเท่านั้น ในเวลาเดียวกัน ความเสี่ยงของคุณก็เพิ่มขึ้นด้วย แล้วถ้าเกิดคุณใช้อุณหภูมิผิดแล้วอาหารของคุณเสียหายหมดล่ะ ในกรณีนี้ ยิ่งคุณใช้ส่วนผสมในการปรุงอาหารน้อยเท่าไร คุณก็ยิ่งมีส่วนผสมเหลือมากขึ้นเท่านั้น

"ผมเข้าใจละ ก็เหมือนกับอัตราส่วนนี่เอง!"

ใช่ คุณสามารถจัดการส่วนผสมของคุณในการซื้อขายได้ ในการทำเช่นนั้น ให้เลือกขนาดล็อตของคำสั่งซื้อขายของคุณ ยิ่งคุณเทรดหลายล็อต แต่ละจุดของกำไรจะยิ่งทำให้คุณได้/เสียเงินในสกุลเงิน $ ได้มากเท่านั้น

มาดูตัวอย่างของ EURUSD กัน

หากคุณเปิดออเดอร์ 0.01 ล็อต และเงินในบัญชีของคุณมีหน่วยเป็น USD กำไร 1 จุดจะเท่ากับ 1 เซ็นต์

หากเงินบัญชีของคุณมีหน่วยเป็น USD และคุณเปิดออเดอร์ 1 ล็อต กำไร 1 จุด จะเท่ากับ $1

งั้นเดี๋ยวเรากลับไปที่ 1,000 จุดของเรากัน

ในกรณีแรก (ปริมาณการซื้อขาย = 0.01 ล็อต) คุณจะได้รับ 1,000 * $0.01 = $10

ในกรณีที่สอง (ปริมาณการซื้อขาย = 1 ล็อต) คุณจะได้รับ 1,000 * $1 = $1,000

โอ้โห! แตกต่างกันสุด ๆ ไปเลย!

"ผมต้องคิดใหม่ละเนี่ย เปิดโลกใหม่เลยละ!"

ตามปกติแล้ว คุณจะอยากได้กำไรที่มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ทุกอย่างต้องมีสมดุล แล้วถ้าเกิดคุณสูญเสีย 1,000 จุดล่ะ? ในกรณีนี้ คุณก็จะเสีย $10 หรือ $1,000 สิ่งนี้ทำให้คุณต้องคิดให้ดีก่อนใช่รึเปล่า? ถึงกับตื่นเลยใช่ไหม?

ไม่ต้องกังวลไป เดี๋ยวเราจะอธิบายวิธีลดการสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นและเพิ่มผลกำไรสูงสุดไปด้วยในเวลาเดียวกันในเร็ว ๆ นี้แหละ

จะเลือกขนาดคำสั่งซื้อขายยังไงดี?

สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการจัดการเงินของคุณ การทำเช่นนี้ช่วยให้คุณสามารถควบคุมความเสี่ยงและมั่นใจได้ว่าจำนวนเงินที่คุณลงทุนไปในการซื้อขายจะทำให้คุณได้กำไรมากที่สุด

อย่าใส่ไข่ทั้งหมดลงในตะกร้าใบเดียว!

"ไข่ ตะกร้า พูดถึงอะไร? คุณทำให้ผมงงนะเนี่ย! ผมแค่อยากจะไปเทรดตอนนี้เลย!"

มันเป็นแค่สำนวนสุภาษิตสอนใจน่ะ เราจะอธิบายว่ามันหมายความอะไร

คุณได้เปิดบัญชีและฝากเงินเข้าไป แน่นอนว่าสิ่งแรกที่คุณอยากทำคือเอาไปเทรด ใช่ไหมล่ะ?

ช้าก่อน!

เทรดเดอร์นับพันล้านต่างก็สั่งสมประสบการณ์กันมาแล้วและได้สร้างกฏเหล็กของปริมาณการซื้อขายเอาไว้

กฏเหล็กของปริมาณการซื้อขาย: ขนาดที่เหมาะสมของ 1 คำสั่งซื้อขายคือ 1-5% ของเงินฝากของคุณ

กล่าวคือ หากคุณต้องการใช้เงินเทรด $10 คุณควรมีเงินในบัญชีอย่างน้อย $200 (ในกรณีนี้ $10 จะเท่ากับ 5% ของเงินในบัญชีของคุณ)

ขออธิบายให้ชัดเจนนะ เห็นได้ชัดว่าเทรดเดอร์ส่วนใหญ่ต่างไม่เคารพกฏเหล็ก แต่เทรดเดอร์ที่มีวินัย มีความอดทน และมีความรอบคอบจะปฏิบัติตามนั้นเป๊ะ ๆ เทรดเดอร์ที่ประมาทจะไม่คำนวณเงิน คุณพอจะเดาได้ไหมว่าเทรดเดอร์คนไหนที่ทวีคูณเงินของตนได้และคนไหนที่ล้างพอร์ตในบัญชีของตัวเอง? ไม่ใช่เทรดเดอร์ทุกคนหรอกนะที่จะประสบความสำเร็จได้ และนี่เป็นหนึ่งในเหตุผลสำคัญ เป้าหมายของคุณคือการได้เป็นหนึ่งในเทรดเดอร์ที่ทำกำไรได้ ตอนนี้คุณรู้แล้วสินะว่าคุณควรทำอะไร!

"โอเค ถึงผมไม่ใช่นักคณิตศาสตร์แต่ผมก็พอจับทางได้น่ะนะ ผมทวีคูณบัญชีของผมด้วย 0.05 และทำให้ขนาดการซื้อขายของผมอยู่ในหน่วย $"

ทำไมเทรดเดอร์ถึงใช้กฏเหล็กของปริมาณการซื้อขาย?

เหตุผลก็ง่าย ๆ ลองคิดดูว่าคุณใช้เงินทั้งหมดในบัญชีเพื่อเปิดออเดอร์ แล้วบางสิ่งก็เกิดขึ้น และการซื้อขายก็ไม่เป็นไปอย่างที่คิด คุณช็อกสุด ๆ ไปเลย แถมยังไม่มีเงินเหลือที่จะเปิดออเดอร์ใหม่แล้วด้วย โชคร้ายใช่ไหมล่ะ? ก็ไม่เชิงหรอกนะ เพราะมันเกิดจากการตัดสินใจที่แย่มาก ๆ ยังไงล่ะ!

ทีนี้เรามาพิจารณาอีกสถานการณ์กัน เมื่อคุณเสี่ยงเงินในบัญชีไปเพียง 5% ตัวอย่างเช่น $10 จาก $200 คุณจะมีเงินมากพอที่จะเปิด 20 ออเดอร์ นี่หมายความว่าหากการซื้อขายผิดพลาดขึ้นมา คุณก็ยังมีเหลืออีกหลายโอกาสที่จะลองไอเดียการซื้อขายแบบอื่น ๆ

แม้มีออเดอร์พวกนี้เพียงครึ่งเดียวที่ประสบความสำเร็จ ด้วยการจัดการความเสี่ยงที่เหมาะสม คุณจะลงเอยด้วยกำไรที่มากกว่า $200 นี่หมายถึงคุณได้กำไรนะ!

"แล้วถ้า 5% ของเงินในบัญชีของผมมันน้อยเกินไปที่จะเปิดออเดอร์ล่ะ? ตอนนี้บัญชีของผมมันแค่เล็ก ๆ เองนะ!"

ปริมาณการซื้อขายที่เล็กที่สุดที่คุณเลือกได้คือ 0.01 ล็อต ในแง่ของการเงิน นั่นคือ 1,000 หน่วยของสกุลเงินหลัก ปกติแล้วก็จะเป็น 1,000 USD หรือ 1,000 EUR นั่นไม่ใช่จำนวนน้อย ๆ สำหรับหนึ่งออเดอร์เลยนะ แล้วถ้านั่นเป็นแค่ 1% หรือ 5% ของเงินในบัญชีของคุณล่ะ...

ประโยชน์ของเลเวอเรจ

เราได้อธิบายไปแล้วว่าเลเวอเรจจะช่วยให้คุณยืมเงินจากโบรกเกอร์เพื่อเปิดการซื้อขายในขนาดที่ใหญ่ขึ้นได้ หมายความว่าแม้จะเปิดการซื้อขายในปริมาณที่น้อยที่สุด (0.01 หรือ $1,000) คุณสามารถใช้ $10 หรือ $1 ได้ (ด้วยเลเวอเรจ 1:100 คุณจะต้องใช้ $100 และด้วยเลเวอเรจ 1:1000 คุณจะใช้แค่ $1)

โดยปกติคุณสามารถเลือกเลเวอเรจได้ในการตั้งค่าบัญชีของคุณที่อยู่ใน Personal Area ของคุณ เลเวอเรจจะกำหนดสิ่งที่คุณจะได้รับจากโบรกเกอร์ ยิ่งเลเวอเรจมากเท่าไร ก็ยิ่งออกล็อตได้มาก กล่าวอีกนัยหนึ่ง ยิ่งเลเวอเรจมากเท่าไร คุณยิ่งใช้เงินน้อยลงเท่านั้นในการเปิดออเดอร์ในขนาดเดียวกัน

1.jpg

เลเวอเรจเท่าไรดี?

เดี๋ยว ๆ ช้าก่อนนน! จงรู้ไว้เสมอว่าความเสี่ยงของคุณจะเพิ่มไปตามเลเวอเรจ หากคุณเปิดออเดอร์ Buy แต่ราคาร่วงลง แต่ละจุดที่ราคาวิ่งสวนคุณไปจะทำให้คุณขาดทุนมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามเลเวอเรจที่คุณใช้ สุดท้ายแล้ว คุณควรมีความระมัดระวังและเลือกขนาดเลเวอเรจอย่างสมเหตุสมผล

สำหรับมือใหม่ เลเวอเรจ 1:100 ถือว่าเหมาะสม: ไม่ใหญ่และไม่เล็กจนเกินไป

"ผมเข้าใจละ! งั้นผมจะเริ่มต้นด้วยเลเวอเรจ 1:100!"

การเลือกปริมาณการซื้อขาย

เราได้มาถึงตอนที่น่าสนใจมากที่สุดแล้วนะ! คุณคงอยากเปิดหลาย ๆ ออเดอร์ในแพลตฟอร์มการซื้อขายของคุณแน่เลยใช่ไหม และคุณคงอยากรู้ว่าจะใส่เลขอะไรลงไปในช่อง “Volume” ดี

"แน่นอน! ผมเข้าใจว่าต้องใช้ 1-5% ของเงินในบัญชี และเข้าใจเรื่องเลเวอเรจนะ แต่ผมไม่แน่ใจจริง ๆ ว่าต้องทำอะไรกันแน่!"

คุณจะรู้ได้จากการคำนวณสิ่งเหล่านี้ คือ จำนวนเงินที่คุณกันไว้เป็นมาร์จิ้นในการเทรด (ในกรณีนี้ คุณก็ทำตามกฏเหล็กที่ใช้ 1-5% ของเงินในบัญชี) และเลเวอเรจ (มันจะเปลี่ยนมาร์จิ้นของคุณไปเป็นขนาดออเดอร์ที่ใหญ่ขึ้น) นี่จะช่วยให้คุณเห็นว่าคุณสามารถเทรดได้กี่ล็อต

ถ้า $20 เป็นขนาดออเดอร์ที่เหมาะสมของคุณและคุณใช้เลเวอเรจ 1:1000 คุณจะต้องมีเงินไว้เทรดถึง $20,000 ซึ่งนั่นคือ 0.2 ล็อต ดังนั้นคุณสามารถกรอกเลขนี้ลงไปในช่อง “Volume” ได้

2.jpg

เทรดเดอร์บางรายต้องการเปิดล็อตที่เท่า ๆ กันทุกครั้ง เรื่องนี้ไม่ยากเลย ถ้าคุณเจอขนาดล็อตที่คุณพอใจแล้ว คุณก็แค่ใช้ตามนั้น กลยุทธ์นี้ใช้งานได้ง่ายสำหรับมือใหม่ เนื่องจากหลังการคำนวณเบื้องต้นแล้ว คุณสามารถเลิกคิดถึงเรื่องขนาดล็อตแล้วเลือกขนาดเดิมทุกครั้งได้ มันจะช่วยทำให้คุณแน่ใจได้ว่าบัญชีของคุณจะเติบโตอย่างมั่นคง

ขอแนะนำให้เลือกขนาดล็อตเล็ก ๆ ในช่วงแรก หลังจากนั้นเมื่อคุณมีประสบการณ์เพิ่มขึ้นและบัญชีของคุณมีขนาดใหญ่ขึ้น คุณค่อยเพิ่มขนาดล็อตทีหลัง

ตัวอย่าง

คุณมีเงิน $500 ในบัญชีของคุณ ด้วยเลเวอเรจที่ 1:1000 จำนวนนี้จะเพียงพอที่จะทำการซื้อขาย 500 ออเดอร์ ออเดอร์ละ 0.01 ล็อต, หรือ 50 ออเดอร์ ออเดอร์ละ 0.1 ล็อต หรือไม่ก็ 5 ออเดอร์ ออเดอร์ละ 1 ล็อต อีกทางเลือกหนึ่งคือ 25 ออเดอร์ ออเดอร์ละ 0.2 ล็อต นอกจากนี้ยังมีตัวเลือกอีกเยอะ! หากคุณจัดการความเสี่ยง บัญชีของคุณจะพูดว่า “ขอบคุณนะ!”

"ว้าว! ง่ายมาก ๆ เลย ผมชอบตัวเลือกพวกนี้นะ!"

หากคุณทำตามตรรกะด้านบน คุณจะใช้สูตรดังต่อไปนี้:

ล็อตที่เทรดได้ = ทุน * %ความเสี่ยง * เลเวอเรจ / ขนาดสัญญา

ด้วยบัญชี $500 และความเสี่ยง 5% มันก็จะเป็น:

$500 * 0.05 * 1000 / 100,000 = 0.25

อิควิตี้ หมายถึง มูลค่าของบัญชีหากตำแหน่งทั้งหมดถูกปิด (กล่าวคือ มันจะคำนวณกำไร/ขาดทุนในการซื้อขายที่เปิดอยู่ของคุณ)

นอกจากนี้ยังสามารถพิจารณาสถานการณ์ที่กราฟราคาและขนาดของ Stop Loss ที่คุณต้องการสำหรับการซื้อขายของคุณ นี่คือสูตรที่เราปรับใช้:

ล็อตที่เทรดได้ = ทุน * %ความเสี่ยง / (จำนวนจุดของ Stop Loss * มูลค่าของจุด)

ในกรณีนี้ คุณรู้ว่าคุณอยากตั้ง SL ไว้ที่เท่าไร และรู้ว่ามูลค่าของแต่ละ pip ที่ราคาเคลื่อนที่ไปคือเท่าไร

ตัวอย่าง

คุณเห็นว่าราคาไม่สามารถวิ่งไปเหนือ 139.030 และกลับตัวลงมา คุณได้เปิด BUY ที่ 139.100 กับวาง Stop Loss ที่ระดับต่ำสุดก่อนหน้าที่ 139.030 (SL = 70 จุด) จุด Take Profit ของคุณอยู่ที่ 139.610

3.png

หากคุณต้องการ Stop Loss 70 จุด คุณจะต้องเปิดออเดอร์ 0.5 ล็อต มูลค่าจุดของคุณจะเป็น $0.36 ตรวจสอบเครื่องคำนวณ Forex เพื่อดูตัวเลขที่แน่นอนสำหรับการซื้อขายแต่ละครั้ง

คุณต้องมีเงินเท่าไรถึงจะเริ่มทำการซื้อขายได้?

"ตอนนี้ผมเข้าใจวิธีเลือกปริมาณการซื้อขายแล้ว ประเด็นคือผมไม่แน่ใจว่าจะฝากเงินเข้าบัญชีของผมไว้ซื้อขายเท่าไรดี"

จำนวนเงินที่คุณต้องใช้ในการเริ่มต้นการซื้อขายขึ้นอยู่กับประเภทบัญชีที่คุณเลือก

มาทบทวนสิ่งที่เราได้เรียนรู้ไปแล้วกัน:

จำนวนเงินฝากของคุณจะเป็นสิ่งที่กำหนดขนาดของออเดอร์ของคุณ...

...ฉะนั้นขนาดออเดอร์ที่คุณต้องการก็จะกำหนดจำนวนเงินฝากของคุณ!

หากคุณเปิด BUY EURUSD ไป 0.01 ล็อต และเลเวอเรจของคุณคือ 1:100 คุณจะต้องใช้เงิน $10 เป็นมาร์จิ้นสำหรับการซื้อขาย หากคุณฝากเงิน $10 ในบัญชีของคุณ เงินฝากของคุณก็จะครอบคลุมมาร์จิ้นนี้ และคุณจะสามารถเปิดออเดอร์ขนาดเดียวกันนี้ได้อีกสี่ออเดอร์ การเคลื่อนไหวของราคาแต่ละจุดจะทำให้คุณได้หรือเสีย $0.1

มาลองพิจารณาตัวเลือกที่ดีสำหรับเทรดเดอร์มือใหม่กัน ตัวอย่างที่เรานำมาให้ดูนี้มีความปลอดภัยและเหมาะสมในด้านการจัดการความเสี่ยง

เงินฝาก = $100

ปริมาณความเสี่ยงสำหรับการซื้อขายหนึ่งออเดอร์ควรต่ำกว่า 5% ไม่ว่าจำนวนเงินฝากของคุณจะมากแค่ไหน คราวนี้มาลองใช้ความเสี่ยง 3% กัน ($3 หรือ $3,000 ด้วยเลเวอเรจ 1:1000) หากคุณซื้อขาย 0.01 ล็อต การเคลื่อนไหวของราคาแต่ละจุดจะเท่ากับ $0.01 การหาร $3 ด้วย $0.01 เราจะได้ 300 จุด นี่คือ Stop Loss ที่คุณสามารถรับได้ ซึ่งเท่านี้ก็มากเกินพอสำหรับออเดอร์ที่คุณเปิดไว้เป็นเวลาหลายชั่วโมงแล้ว ขอแนะนำให้ตั้ง Take Profit ของคุณให้มากกว่า Stop Loss ประมาณ 3 เท่า ดังนั้น เป้าหมายกำไรของคุณสำหรับออเดอร์นี้จะอยู่ที่ 900 จุด ($9)

"จากการเสี่ยง $3 ในการซื้อขาย ผมจะมีโอกาสได้รับถึง $9! แล้วถ้าหากการซื้อขายนี้เจ๊งไม่เป็นท่า ผมก็จะยังมีเงินเหลืออยู่ $97 ในบัญชีของผม เยี่ยมเลย!"

ใช่แล้ว อัตราส่วน $3/$9 นี้เรียกว่า อัตราส่วนความเสี่ยง/ผลตอบแทน ด้วยวิธีนี้ ออเดอร์ได้กำไรหนึ่งครั้ง ($9) จะช่วยให้คุณมีออเดอร์ที่ขาดทุนได้สามครั้งโดยที่ไม่สูญเสียอะไรเลย การวิเคราะห์ตลาดซึ่งเราจะได้ศึกษากันในบทต่อไปจะช่วยให้คุณลดจำนวนการเทรดที่ขาดทุนและจะได้รับกำไรหลังจากการเทรดหลายออเดอร์ นี่เป็นการสนับสนุนให้กำหนดปริมาณการซื้อขายอย่างระมัดระวังและใช้อัตราส่วนความเสี่ยง/ผลตอบแทนที่ถูกต้อง

เงินฝาก = $500

แล้วถ้าเงินฝากของคุณคือ $500 ล่ะ? ด้วยความเสี่ยง 3% ($15) ขนาดออเดอร์ของคุณสามารถเป็น 0.15 ล็อตได้ ในกรณีนี้ กำไร/ขาดทุนแต่ละจุดจะคิดเป็น $0.15 ด้วยขนาดตำแหน่งที่ใหญ่ขึ้น คุณจะสามารถทำเงินได้เร็วขึ้น! โดยให้วาง Stop Loss 100 จุด หากคุณอยากเพิ่มขนาด Stop ให้มากขึ้น คุณก็สามารถเทรด 0.1 ล็อตได้ ซึ่งแต่ละ pip ที่ขยับ จะทำให้คุณได้ $0.1 ส่วน Stop Loss ก็จะเป็น 150 จุด ด้วยความเสี่ยง 5% ($25) คุณอาจเพิ่มขนาด SL เป็น 250 จุดได้ ในกรณีนี้กำไรจะเท่ากับ $75 (หากคุณให้ Take Profit ของคุณมากกว่า Stop Loss 3 เท่า)

เงินฝาก = $1,000

หากเงินฝากของคุณคือ $1,000 แน่นอนว่าคุณจะสามารถเปิดออเดอร์ที่ใหญ่ขึ้นได้ ความเสี่ยง 3% สำหรับหนึ่งออเดอร์ ($30) และเลเวอเรจ 1:1000 คุณจะสามารถเทรดได้ 0.3 ล็อต ส่วนความเสี่ยงที่ 10% ($100) คุณจะสามารถเทรดได้ 0.1 ล็อต ในกรณีนี้ จุดกำไร 300 จุด จะทำให้คุณได้กำไร $300 ความเสี่ยงที่เหมาะสมของออเดอร์ขนาด $30 คุณจะเทรดได้ 0.1 ล็อต พร้อม SL 300 จุด และกำไรที่เป็นไปได้คือ $90

สิ่งที่ควรจดจำเกี่ยวกับการจัดการบัญชี

สิ่งสำคัญอีกประการ: อย่าลืมเรื่อง Margin Call และ Stop Out โดย Margin Call (การเรียกหลักประกันเพิ่ม) คือ ระดับมาร์จิ้นที่กำหนดไว้ โดยจะอยู่ที่ระดับต่ำกว่าหรือเท่ากับ 40% ณ จุดนี้ บริษัทมีสิทธิ์แต่ไม่ต้องรับผิดในการปิดออเดอร์ที่เปิดอยู่ทั้งหมดของลูกค้าเนื่องจากมี Free Margin (หลักประกันที่ใช้ได้) ไม่เพียงพอ ส่วน Stop Out คือระดับมาร์จิ้นขั้นต่ำที่กำหนด (ต่ำกว่าหรือเท่ากับ 20%) ซึ่งโปรแกรมการซื้อขายจะเริ่มปิดออเดอร์ที่เปิดของลูกค้าทีละรายการเพื่อป้องกันการขาดทุนเพิ่มเติมที่นำไปสู่ยอดคงเหลือติดลบ (ต่ำกว่า $0)

หากคุณปฏิบัติตามกฎการจัดการความเสี่ยงและไม่ใช้เงินฝากทั้งหมดของคุณในการซื้อขายครั้งเดียว คุณก็จะปลอดภัยจาก Margin Call และ Stop Out

โปรดจำไว้ว่ามีบัญชีทดลองให้คุณได้ฝึกฝนการซื้อขาย โดยที่คุณไม่ต้องลงทุนแม้แต่สักดอลลาร์ หรือยูโร หรืออะไรก็ตาม ขนาดของบัญชีทดลองของ FBS อาจสูงถึง 1 ล้านดอลลาร์ บัญชีทดลองจะช่วยให้คุณสามารถฝึกเปิดคำสั่งและกำหนดขนาดตำแหน่งได้ โดยแนะนำให้ทดลองโดยใช้จำนวนเงินที่คุณวางแผนจะลงทุนในการซื้อขายจริง ๆ ในกรณีนี้ ทุกอย่างจะเหมือนจริงเลย และไม่เพียงแต่สามารถฝึกฝนการซื้อขายได้เท่านั้น แต่คุณจะยังได้เห็นการจำลองถึงขนาดบัญชีของคุณด้วยว่ามันสามารถเปลี่ยนแปลงไปได้อย่างไรบ้างเมื่อคุณซื้อขายจริง ๆ

สรุปบทเรียน

  • ยิ่งคุณเปิดออเดอร์ใหญ่ขึ้นเท่าไร แต่ละจุดที่ราคาเคลื่อนไหวก็ยิ่งทำให้คุณได้กำไร/ขาดทุนมากขึ้นเท่านั้น

  • ทางออกที่ดีที่สุดในเรื่องของการบริหารความเสี่ยง คือ การจำกัดขนาดของหนึ่งออเดอร์ไว้แค่ 5% ของบัญชี

  • เลเวอเรจช่วยให้เทรดเดอร์เปิดออเดอร์ได้ในปริมาณที่ใหญ่ขึ้น

  • เงินฝากและขนาดออเดอร์จะกำหนดซึ่งกันและกัน

กำลังจะมา

ในบทเรียนถัดไป เราจะมาเรียนรู้กันเรื่องวิธีการวิเคราะห์ตลาดเพื่อให้ได้ไอเดียการเปิด BUY และ SELL

แบ่งปันกับเพื่อน ๆ: