บทที่ 6 ซื้อหรือขายดี? 10 นาทีในการอ่าน

ถึงเวลาดูวิธีวิเคราะห์ตลาดเพื่อให้คุณสามารถตัดสินใจซื้อขาย เลือกระหว่างคำสั่ง BUY และ SELL สำหรับแต่ละตราสาร

สิ่งที่ขับเคลื่อนตลาดคืออะไร?

โดยทั่วไปแล้ว สภาพแวดล้อมที่มองในแง่ดีจะสนับสนุนการเคลื่อนไหวแบบกล้าที่จะเสี่ยงในตลาด (ทุกคนจะเข้าซื้อหุ้นและสินค้าโภคภัณฑ์) ในขณะที่ สภาพแวดล้อมที่มองในแง่ร้ายจะทำให้นักลงทุนไม่ชอบความเสี่ยง ดังนั้นพวกเขาจะมองหาการซื้อขายที่ปลอดภัยกว่าเพื่อรักษาเงินทุนของพวกเขาไว้ (โดยจะเข้าซื้อสินทรัพย์ เช่น ทองคำและฟรังก์สวิส) แต่ก็ยังมีปัจจัยอื่น ๆ อีกหลายประการ

"ผมอยากรู้ว่าเมื่อไหร่ที่ผมควรเปิด Buy และเมื่อไหร่ที่ผมควรเปิด Sell!"

ด้านล่างนี้คุณจะพบรายการสั้น ๆ เกี่ยวกับสิ่งที่สามารถขับเคลื่อนตลาดพร้อมผลกระทบต่อสกุลเงิน

เหตุการณ์ทางการเมืองและภูมิศาสตร์การเมือง

1. การเปลี่ยนผู้นำประเทศและเจ้าหน้าที่ระดับสูง (การเลือกตั้งประธานาธิบดี การเลือกตั้งรัฐสภา คณะกรรมการและประธานธนาคารกลาง) ผลกระทบ: ความผันผวนของค่าเงินและตลาดหุ้นที่เพิ่มขึ้น

ตัวอย่างเช่น Nikkei 225 ของญี่ปุ่นได้พุ่งขึ้นเมื่อปลายเดือนสิงหาคม 2021 จากข่าวที่ว่านายกรัฐมนตรีสุกะกำลังวางแผนที่จะก้าวลงจากตำแหน่ง ซึ่งตลาดมองเป็นสัญญาณของการปฏิรูปที่กำลังจะเกิดขึ้น

1.png

2. การเปลี่ยนแปลงการวางตำแหน่งระหว่างประเทศของประเทศ (การปรับแนวภูมิรัฐศาสตร์ของประเทศในสภาพแวดล้อมระหว่างประเทศ การเปลี่ยนแปลงลำดับความสำคัญของโลก) ผลกระทบ: เพิ่มความเสี่ยงจากแรงกดดันและความผันผวนของตลาดสกุลเงินและตลาดหุ้น

ตัวอย่างเช่น เราสามารถพูดถึงนโยบายของสหรัฐอเมริกาที่เกี่ยวข้องกับจีน หลังจากที่โดนัลด์ ทรัมป์ ได้เป็นประธานาธิบดี เขาก็ได้วิจารณ์ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน ซึ่งได้นำไปสู่การเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับหยวนจีน (USDCHN)

3. เหตุการณ์อื่น ๆ ที่เกิดขึ้นทั่วทั้งรัฐหรือทั่วทั้งภูมิภาคที่มีความสำคัญสูง ผลกระทบ: ความผันผวนและความเสี่ยงด้านลบของสกุลเงินและตลาดหุ้นที่เพิ่มสูงขึ้น

ตัวอย่าง แผนภูมิด้านล่างแสดงการเทขายเงินปอนด์อังกฤษหลังผลการลงประชามติเรื่อง Brexit ออกมาว่าอังกฤษลงมติให้ออกจากสหภาพยุโรป

2.png

ตรรกะง่ายๆ อะไรก็ตามที่ส่งเสริมการค้าและเศรษฐกิจของประเทศนั้นย่อมดีต่อค่าเงิน ในขณะที่ความตึงเครียดและการทะเลาะวิวาทกับประเทศอื่น ๆ มักจะส่งผลกระทบในทางลบ ในทางกลับกัน ตลาดหุ้นชอบข่าวเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลดภาษี และกลัวการเพิ่มภาษี สุดท้าย การกระทำบางอย่างของผู้กำหนดนโยบายจะมีอิทธิพลต่อภาคส่วนต่าง ๆ ของเศรษฐกิจ ตัวอย่างเช่น ความมุ่งมั่นของโจ ไบเดน เกี่ยวกับพลังงานสีเขียวได้สนับสนุนหุ้นของผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า เช่น Tesla และ Ford

เหตุการณ์ทางเศรษฐกิจ

1. การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลาง

ผลกระทบ: อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นจะช่วยทำให้สกุลเงินแข็งค่าขึ้น ขณะที่การปรับลดอัตราดอกเบี้ยจะทำให้สกุลเงินประจำชาติอ่อนค่าลง

ตัวอย่าง ในวันที่ 14 ธันวาคม 2016 สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น 3,300 จุด เมื่อเทียบกับเงินเยนญี่ปุ่น หลังจากที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย

3.png

2.การเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินของธนาคารกลาง

ผลกระทบ: แถลงการณ์ที่ดุดันจะหนุนสกุลเงินประจำชาติ ขณะที่แถลงการณ์ที่ผ่อนปรนมักจะทำให้เกิดแรงกดดัน

คุณจะได้เจอกับคำว่า “Dovish” (ผ่อนปรน) และ “Hawkish” (ดุดัน) ในข่าวและบทความเรื่องเศรษฐกิจ ทั้งสองคำนี้จะหมายถึงนโยบายของธนาคารกลาง โดย Hawkish หรือความดุดันนั้นจะหมายถึงธนาคารกลางมีความกังวลเรื่องระดับเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นและกำลังเล็งที่จะกระชับนโยบายและปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยในเศรษฐกิจ นโยบายที่ดุดันมีแนวโน้มที่ทำให้สกุลเงินแข็งค่าขึ้น ส่วน Dovish หรือความผ่อนปรนนั้นจะตรงกันข้าม มันหมายความว่าธนาคารกลางจะพยามสนับสนุนเศรษฐกิจด้วยการตั้งอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำ ๆ ซึ่งนโยบายที่ผ่อนปรนนั้นจะส่งผลลบต่อสกุลเงิน

มันมักจะเกิดขึ้นก่อนเปลี่ยนแปลงนโยบาย (การปรับขึ้นหรือลดอัตราดอกเบี้ย หรือทำอย่างอื่น) ธนาคารกลางจะส่งสัญญาณไปยังตลาด กล่าวคือ พูดว่ามีแผนอะไร ราคาของตราสารการเงินต่าง ๆ จะตอบสนองต่อ “การประกาศเจตจำนง” เหล่านี้

ตัวอย่างข้างต้นแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงนี้เช่นกัน

"นโยบายการเงินและอัตราดอกเบี้ยเนี่ยฟังดูซับซ้อนจังเลยนะ…"

ลองคิดว่ามันเป็นเหมือนกรณีของผู้ป่วยกับหมอดูสิ ถ้าคุณป่วย คุณไปหาหมอเพราะหมอเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ ดังนั้น ถ้าหมอบอกว่า “คุณสบายดี” คุณก็จะมีความสุขและกระโดดโลดเต้นได้อีกครั้ง แต่ถ้าหมอบอกว่า “เสียใจด้วยครับ คุณคงอยู่ได้อีกไม่นาน” คุณก็จะมองโลกในแง่ร้ายและไม่เต็มใจที่จะทำอะไรที่เสี่ยง ๆ อีก ในเรื่องการเงินก็เหมือนกัน ธนาคารกลางเป็นเหมือนหมอประจำสุขภาพของเศรษฐกิจ หากพวกเขาบอกว่ามันดูดีไม่มีปัญหา มันก็เหมือนกับตัวกระตุ้นความอยากเสี่ยงและตัวกระตุ้นสกุลเงิน แต่ถ้าหากพวกเขาพูดว่าหลายสิ่งไม่ดี สกุลเงินของพวกเขาจะร่วงลง และอารมณ์ของเทรดเดอร์ก็เช่นกัน

3. การเปลี่ยนแปลงด้านสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจภายในประเทศ

(GDP/การว่างงาน/อัตราเงินเฟ้อ/กิจกรรมทางธุรกิจ/ระดับการผลิต/อื่น ๆ) ผลกระทบ: เศรษฐกิจภายในประเทศที่แข็งแกร่งขึ้นสนับสนุนสกุลเงินประจำชาติและนำอารมณ์อยากเสี่ยงมาสู่ตลาดหุ้น ในขณะที่สภาพแวดล้อมอันอ่อนแอภายในประเทศจะทำให้อารมณ์อยากเทขายเข้าสู่สกุลเงินและตลาดหุ้น

พูดง่าย ๆ ว่ายิ่งเศรษฐกิจดีขึ้นเท่าไร มันก็ยิ่งส่งผลดีต่อสกุลเงิน และในทำนองกลับกัน

ตัวอย่าง เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2021 สหรัฐอเมริกาได้เผยตัวเลขตลาดแรงงานที่ดีเกินคาด USDCAD ได้พุ่งขึ้นถึง 700 จุด

4.png

เหตุการณ์ทางสังคม: การจลาจลและความไม่สงบทางสังคม

ผลกระทบ: สร้างแรงกดดันต่อค่าเงินและตลาดหุ้น และเพิ่มความผันผวน

ตัวอย่าง

0.png

หลังจากที่เลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ชนะ โจ ไบเดนก็กำลังจะเข้ารับตำแหน่งในเดือนมกราคม 2021 ความไม่สงบทางสังคมได้เป็นหัวข้อข่าวใหม่ที่ทำให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐตกอยู่ภายใต้แรงกดดัน

เหตุการณ์ภัยธรรมชาติ

ผลกระทบ: ภัยธรรมชาติอาจทำให้ค่าเงินหรือตลาดหุ้นดิ่งลง ในขณะที่น้ำมันและก๊าซอาจมีมูลค่าสูงขึ้น

ตัวอย่าง: พายุเฮอริเคนไอดาพัดถล่มศูนย์กลางการผลิตน้ำมันและก๊าซที่สำคัญ ซึ่งอาจส่งผลให้ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้น

ราคาน้ำมันและก๊าซถูกขับเคลื่อนโดยอุปสงค์และอุปทาน พายุเฮอริเคนพัดถล่มโรงกลั่น ยิ่งก๊าซและน้ำมันที่ผลิตออกมาขายเหลือน้อยลงเท่าไร ราคาของพลังงานเหล่านี้ก็จะยิ่งสูงขึ้น

"ผมเข้าใจแล้ว แล้วผมจะวางแผนการซื้อขายของผมตามเหตุการณ์เหล่านี้ยังไงดีล่ะ?"

ด้วยปฏิทินไง ดูปฏิทินเพื่อรับข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจในอนาคตและข่าวสำคัญ ๆ และเตรียมพร้อมที่จะดำเนินการเมื่อเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น

ปฏิทินเศรษฐกิจ

คุณสามารถค้นหาปฏิทินได้บนเว็บไซต์ของเราและในแอป FBS Trading Broker

ประการแรกคือมีปฏิทินเศรษฐกิจสำหรับสกุลเงิน เลือกช่วงเวลาที่คุณต้องการรับข้อมูล โดยปกติเทรดเดอร์จะเลือกดูเหตุการณ์สำหรับวันหรือสัปดาห์ปัจจุบัน เมื่อถึงเวลาที่กำหนดไว้ ตัวเลขของตัวบ่งชี้ทางเศรษฐกิจที่ออกมาจริงจะปรากฏในปฏิทิน ยิ่งแตกต่างจากการคาดการณ์มากเท่าไร ก็ยิ่งส่งผลกระทบต่อสกุลเงินที่ตัวบ่งชี้อ้างถึงมากขึ้นเท่านั้น

5.png

สังเกตว่าเหตุการณ์ต่าง ๆ จะถูกจำแนกตามความสำคัญ

การจำแนกเหตุการณ์ต่าง ๆ ในปฏิทิน

  1. สามจุดสีแดง: เหตุการณ์ที่มีความสำคัญต่อตลาดสูงสุด

  2. สองจุดสีเหลือง: เหตุการณ์ที่มีความสำคัญพอประมาณที่อาจไม่ได้ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวใหญ่ ๆ ในตลาด

  3. หนึ่งจุดสีเขียว: เหตุการณ์ที่อาจไม่มีใครสนใจ มีประโยชน์สำหรับกลยุทธ์สำหรับเฉพาะสกุลเงิน

หากคุณซื้อขายหุ้น คุณจะสนใจปฏิทินรายงานผลประกอบการของบริษัทต่าง ๆ หุ้นมีแนวโน้มที่จะขึ้นและลงตามความคาดหวังของกำไรต่อหุ้น (EPS) ที่สูงขึ้น/ต่ำลง นอกจากนี้ ราคาหุ้นยังตอบสนองต่อการประกาศที่ออกมาจริง

6.png

ตัวอย่างเช่น PepsiCo ได้รายงานผลประกอบการที่แข็งแกร่งของไตรมาสที่สอง ผลประกอบการทางการเงินที่แท้จริงดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้มาก ส่งผลให้ราคาหุ้นของ PepsiCo พุ่งพรวดเลยทีเดียว! ดูกราฟข้างล่างสิ

7.png

รายงานผลประกอบการส่วนใหญ่จะออกมาระหว่างช่วงเวลาที่เราเรียกว่าเทศกาลผลประกอบการ ซึ่งคือในช่วงเดือนมกราคม เมษายน กรกฎาคม และตุลาคม ในช่วงเวลาอื่น ๆ เทรดเดอร์จะติดตามข่าวที่เกี่ยวข้องกับแต่ละบริษัท เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ใหม่ที่พวกเขามี ปริมาณยอดขาย การควบรวม และการเข้าซื้อกิจการ

วิธีวิเคราะห์กราฟ

องค์ประกอบของกราฟ

การวิเคราะห์กราฟอาจทำได้ง่ายขึ้นหากคุณทำอย่างมีโครงสร้าง งั้นมาจัดโครงสร้างองค์ประกอบกราฟกันเถอะ หน้าต่างกราฟจะแสดงให้คุณเห็นถึงสิ่งต่อไปนี้

  1. การเคลื่อนไหวของราคาสินทรัพย์

  2. ตัวบ่งชี้

8.png

กรอบเวลา คือ สิ่งที่คุณกำหนดให้เป็นช่วงเวลาของการเคลื่อนไหวของราคาแต่ละส่วน ตัวอย่างเช่น M1 จะแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงของราคาในแต่ละ 1 นาที (แท่งสีเขียวของแผนภูมิหมายความว่าราคาสูงขึ้น ในขณะที่แท่งสีแดงส่งสัญญาณว่าราคาลดลง) ส่วนใน D1 แต่ละขั้นตอนของราคาจะสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในหนึ่งวัน

9.png

"กรอบเวลาที่ดีที่สุดคือกรอบไหน?"

ไม่มีกรอบเวลาที่ดีที่สุดหรอก ทุกสิ่งล้วนขึ้นอยู่กับช่วงเวลาที่คุณวางแผนจะปล่อยออเดอร์ของคุณเปิดไว้ ถ้าคุณจะปิดออเดอร์หลังผ่านไปหนึ่งชั่วโมง ก็ให้โฟกัสไปที่ H1 และ H4 ถ้าคุณเล็งจะเปิดทิ้งไว้เป็นเวลาหลายสัปดาห์ ก็ให้ดู W1 และ D1

หมั่นตรวจสอบกรอบเวลาที่ใหญ่กว่าเสมอ! หากคุณซื้อขายใน M30 ให้ตรวจสอบ H1 และ H4 เพราะคุณอาจสังเกตเห็นแนวโน้มและระดับที่สำคัญที่นั่น

แนวโน้ม

เมื่อคุณเปิดกราฟขึ้นมา สิ่งแรกที่คุณต้องดูก็คือแนวโน้ม

แนวโน้ม คือ ทิศทางโดยทั่วไปของราคาของตราสารในตลาด แนวโน้มขาขึ้นคือตอนที่ราคาเคลื่อนไหวไปด้านบน ส่วนแนวโน้มขาลงคือตอนที่ราคาร่วงลงไปด้านล่าง ในช่วงแนวโน้มขาขึ้น ราคาจะสร้างระดับสูงสุดและระดับต่ำสุดที่ยกตัวขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนในช่วงแนวโน้มขาลง ราคาจะสร้างระดับต่ำสุดของและระดับสูงสุดที่กดตัวลงเรื่อย ๆ

10.png

หลักการซื้อขายแบบดั้งเดิมคือการซื้อในช่วงขาขึ้น และขายในช่วงขาลง

เส้นแนวโน้ม

เพื่อใช้ศักยภาพสูงสุดของการเทรดตามแนวโน้ม เทรดเดอร์จะลากเส้นแนวโน้มขึ้นมา โดยลากเส้นแนวต้านเชื่อมต่อจุดสูงสุดต่าง ๆ ของราคา ในขณะที่เส้นแนวรับจะทะลุผ่านจุดต่ำสุดต่าง ๆ ของราคา โดยจะต้องมีอย่างน้อยสองจุด (2 สูง / 2 ต่ำ) เพื่อวาดเส้นแนวโน้ม

ตัวอย่างเช่น เราวาดเส้นแนวรับผ่านราคาต่ำสุดในภาพประกอบด้านล่าง

11.png

จุดประสงค์ของเส้นแนวโน้มนี้คือเพื่อสร้างการคาดการณ์สำหรับอนาคต โดยคาดว่าครั้งต่อไปที่ราคามาถึงเส้นนี้ ราคาจะดีดตัวขึ้นจากเส้นแนวโน้มแล้วกลับเป็นขาขึ้น ดูเหมือนว่าสถานการณ์จะเผยออกมาให้เห็นชัดเจนขึ้นแล้วละ

12.png

ตำแหน่งที่มีลูกศรจะแสดงถึงโอกาสที่ดีในการเปิดออเดอร์ Buy

ประเภทของกราฟ

มันกำหนดสิ่งที่คุณเห็นในหน้าต่างกราฟ

  • กราฟเส้น – ทำให้การเคลื่อนไหวของราคาอยู่ในรูปของเส้นโค้งที่ต่อเนื่อง มันคือวิธีการดูกราฟที่ง่ายที่สุด มีประโยชน์ในการทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของราคาในภาพรวม

  • แท่งเทียน – แต่ละขั้นของราคาจะดูเหมือนแท่งเทียนที่มีตัวเทียนและไส้เทียน ซึ่งมันจะสะท้อนถึงการเปิด/ปิด และราคาสูงสุด/ต่ำสุดในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งมีประโยชน์สำหรับทั้งเทรดเดอร์มือใหม่และมือเก๋า

  • แท่ง – มันคล้ายกับแท่งเทียนแต่จะเป็น “สไตล์อเมริกัน” โดยมีส่วนประกอบเหมือนกัน ส่วนใหญ่มันจะถูกใช้โดยคนที่คุ้นเคยเฉพาะกับกราฟรูปแบบนี้ (เฉพาะใน MT)

13.png

กราฟแท่งเทียนเป็นที่นิยมมากที่สุดในหมู่เทรดเดอร์ เนื่องจากมันสามารถบอกได้หลายอย่างด้วยการดูขนาดและรูปร่างของแท่งเทียน ตัวอย่างเช่น แท่งเทียนที่เรียกว่า “Shooting Star” (แท่งเทียนที่มี “ตัวเทียน” เล็ก ๆ และมี “ไส้เทียน” ด้านบนยาว ๆ) จะส่งสัญญาณการกลับตัวเป็นขาลง หากมันปรากฏขึ้นหลังจากที่ราคาพุ่งขึ้นมา

14.png

หากต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับแท่งเทียนญี่ปุ่น ลองไปดูในหลักสูตรพิเศษของเราในเซกชัน “ระดับกลาง” ดูสิ

ตัวบ่งชี้ทางเทคนิค

"ผมเคยได้ยินมาว่ามีเครื่องมือที่ช่วยเทรดเดอร์วิเคราะห์กราฟได้ มันมีจริง ๆ เหรอ?"

มีตัวบ่งชี้จำนวนมากอยู่ใน MetaTrader ทีเดียวแหละ แต่ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งจากสองกลุ่มนี้

1. ตัวบ่งชี้แนวโน้ม (Moving Averages, Bollinger Bands และอื่น ๆ)

โดยปกติมันจะปรากฏขึ้นพร้อมกับการเคลื่อนไหวของราคาในหน้าต่างกราฟ และทำหน้าที่แนะนำทิศทางที่เป็นไปได้ที่ราคาอาจจะไป ตัวบ่งชี้ Moving Averages จะเป็นตัวบ่งชี้ที่ถูกใช้งานบ่อยที่สุด

2. ออสซิลเลเตอร์ (MACD, Momentum, Relative Strength Index, Stochastic และอื่น ๆ)

ปกติแล้วมันจะแสดงอยู่ในหน้าต่างแยกต่างหากใต้หน้าต่างกราฟหลัก และสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงภายในของตลาดที่สอดคล้องกับพฤติกรรมราคาในช่วงเวลานั้น ๆ ซึ่งตามปกติเทรดเดอร์จะใช้ตัวบ่งชี้การแกว่งตัวร่วมกับพฤติกรรมราคาและตัวบ่งชี้แนวโน้มเพื่อให้ข้อสรุปในการวิเคราะห์

ตัวบ่งชี้ทางเทคนิคมีประโยชน์เนื่องจากมันจะทำการคำนวณทั้งหมดและแสดงผลให้คุณเห็นเป็นรูปเป็นร่าง ซึ่งช่วยให้คุณประหยัดเวลา หากต้องการใช้ตัวบ่งชี้ให้ประสบความสำเร็จ โปรดอ่านสิ่งที่มันแสดงและวิธีการตีความสัญญาณนั้น ๆ

ในการเพิ่มตัวบ่งชี้ใน MetaTrader ให้เลือก “Insert” ในแผงด้านบนแล้วเลือก “Indicators"

15.png

การตัดสินใจเข้าซื้อขาย

16.png

"EURUSD กำลังจะพุ่งขึ้น งั้นผมควรเข้า Buy ให้เร็วที่สุด ถูกต้องไหมครับ?"

ความผิดพลาดที่พบบ่อยที่สุดของเทรดเดอร์คือการเปิดออเดอร์เร็วเกินไปโดยไม่คิดพิจารณาสถานการณ์ให้รอบคอบ ใช่ มันน่าจะดีกว่าถ้าเน้นเปิด Buy ในช่วงขาขึ้น แต่ราคาก็จะไม่ขึ้นตลอดเวลาในแนวโน้มขาขึ้นหรอกนะ นอกจากนี้ ถ้าหากแนวโน้มขาขึ้นเกิดกลับตัวลงล่ะ? ในการเปิดการซื้อขายใด ๆ คุณต้องค้นหาสัญญาณต่าง ๆ บนกราฟที่ชี้ไปในทิศทางเดียวว่าเป็น Buy หรือ Sell แนวโน้มจะเป็นเพียงหนึ่งในสัญญาณดังกล่าว

การมองภาพให้ใหญ่ขึ้นนั้นมีความสำคัญเสมอ หากคิดจะเปิด Buy ให้ตรวจสอบว่ามีอุปสรรคเหนือราคาหรือไม่ หลังจากซูมกราฟออก เราจะเห็นว่าคู่เงินมาที่บริเวณระดับสูงสุดก่อนหน้าที่ 1.1900 จากนั้นก็กลับตัวลง ด้วยเหตุนี้ แนวคิดในการซื้อขายที่ดีคือการรอให้ราคาสร้างระดับสูงสุดที่ต่ำกว่าหลังจากล้มเหลวในการทะลุเส้นนี้ แล้วค่อยเปิด Sell

17.png

ให้ความสนใจกับระดับแนวต้านและแนวรับ แนวต้านคือระดับที่สูงกว่าราคาปัจจุบันซึ่งการเติบโตมีแนวโน้มที่จะหยุด/กลับตัว แนวต้านสามารถหาได้จากราคาสูงสุด/ต่ำสุดก่อนหน้า เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ ระดับที่สำคัญ เช่น $2,000 สำหรับทองคำและอื่น ๆ โดยสิ่งเดียวกันนี้ก็สามารถทำให้การเคลื่อนไหวของราคาในขาลงมีแนวโน้มที่จะหยุด/กลับตัวได้เช่นกัน เราเรียกมันว่าระดับแนวรับนั่นเอง

ทำให้ถูกวิธี

ดูที่กราฟด้านล่างนะ

18.png

เราได้ระบุเหตุผลในการเปิด Sell ที่ตัวเลขต่าง ๆ ตรงนี้เราหมายถึงอะไร?

ประการแรก EURUSD สร้างจุดสูงที่ต่ำกว่า ซึ่งเป็นสัญญาณว่าแนวโน้มขาขึ้นได้หยุดชั่วคราว ประการที่สอง ราคาทะลุต่ำกว่า SMA-20 (เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ เส้นสีม่วง) เหตุผลเหล่านี้อาจทำให้เทรดเดอร์มีความมั่นใจเพียงพอสำหรับคำสั่ง Sell โปรดสังเกตว่า Take Profit ถูกตั้งค่าไว้ที่ระดับต่ำสุดก่อนหน้า ในขณะที่ Stop Loss อยู่เหนือระดับการพุ่งทะลุ

สรุปบทเรียน

  • เหตุการณ์ต่าง ๆ ทางการเมือง เศรษฐกิจ ธรรมชาติและสังคมต่าง ๆ จะขับเคลื่อนสกุลเงิน พลังงาน โลหะมีค่า หุ้น และดัชนี

  • เหตุการณ์ต่าง ๆ เช่น พายุเฮอริเคนได้เข้าถล่มตลาดแบบไม่ทันตั้งตัว แต่เหตุการณ์อื่น ๆ เช่น การเผยข้อมูลอัตราเงินเฟ้อของประเทศนั้น ๆ จะถูกแสดงเอาไว้ในปฏิทินเศรษฐกิจ คุณสามารถตรวจสอบปฏิทินได้ทุกวันก่อนเริ่มซื้อขาย

  • นโยบายของธนาคารกลางมีผลกระทบมากที่สุดต่อสินทรัพย์ทางการเงิน ดังนั้นจึงควรติดตามนโยบาย การตัดสินใจ และคำแถลงการณ์ของธนาคารกลาง

  • ขณะวิเคราะห์กราฟ ให้ดูที่ตัวราคา (แท่งเทียนญี่ปุ่น) ซึ่งตัวชี้วัดทางเทคนิคสามารถช่วยในการวิเคราะห์ของคุณได้เช่นกัน

คำพูดส่งท้าย

ขอขอบคุณที่เข้าร่วมบทเรียนสำหรับมือใหม่ของเรา ตอนนี้คุณได้เรียนรู้เรื่องพื้นฐานไปแล้วนะ! ขอให้คุณจัดการเงินอย่างฉลาด และวางแผนการซื้อขายของคุณอย่างระมัดระวัง หมั่นฝึกฝนต่อไปนะ การฝึกฝนเท่านั้นที่จะทำให้คุณได้รับประสบการณ์และทักษะในการซื้อขาย มาเข้าร่วมการเทรดสดและการสอนสดของ FBS นักวิเคราะห์และติวเตอร์สอนเทรดของทางบริษัทพร้อมเสมอที่จะตอบคำถามของคุณ โดยคุณสามารถตรวจสอบหลักสูตรอื่น ๆ เพื่อหาข้อมูลการเทรดเชิงลึกเพิ่มเติมได้เลยนะ!

แบ่งปันกับเพื่อน ๆ: