• 14 Aug 2024
  • กลยุทธ์

เพิ่มศักยภาพการเทรดของคุณให้เต็มพิกัดด้วยเลเวอเรจที่สูงขึ้นบนดัชนี

MDP-4596_1_cover.png

FBS รู้สึกตื่นเต้นที่จะแจ้งให้ทราบว่าเราได้เพิ่มเลเวอเรจบนดัชนีเป็น 1:500 สิ่งนี้หมายความว่า คุณจะสามารถใช้ประโยชน์จากความผันผวนของตลาดที่กำลังจะเกิดขึ้นได้อย่างเต็มที่ และเสริมพลังให้กับกลยุทธ์การซื้อขายของคุณ

เหตุใดจึงจำเป็นต้องให้ความสนใจกับตลาดหุ้น?

มีหลายปัจจัยสำคัญที่กำลังจะมาถึง เช่น เหตุการณ์ September Effect การเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินของสหรัฐฯ และการแข่งขันชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ซึ่งมีแนวโน้มที่จะทำให้ตลาดหุ้นเกิดการเคลื่อนไหวอย่างมีนัยสำคัญ โดยการเข้าใจสิ่งมีอิทธิพลเหล่านี้ คุณจะสามารถลับคมกลยุทธ์การซื้อขายของคุณในช่วงเวลาสำคัญนี้ได้ ในบทความต่อไปนี้ เราจะมาเจาะลึกถึงแต่ละปัจจัยกัน

เหตุการณ์ September Effect

เหตุการณ์ September Effect หมายถึงผลตอบแทนตลาดหุ้นที่อ่อนแอเป็นประวัติการณ์ที่สังเกตได้ในช่วงเดือนกันยายน โดยเฉลี่ยแล่วเดือนกันยายนถือเป็นเดือนที่มีความผันผวนมากที่สุดของตลาดหุ้นและดัชนี US500

ตั้งแต่ปี 1950 เดือนกันยายนถือเป็นเดือนที่เลวร้ายที่สุดขิง US30 US100 และ US500 เดือนกันยายนได้ล้มเหลว 4 ปีติดต่อกัน ตั้งแต่ปี 1999 ถึง 2002 หลัง 4 ปีที่มีความเสถียรตั้งแต่ปี 1995 ถึง 1998 ในช่วงที่เกิดภาวะฟองสบู่ดอตคอม

แต่สิ่งที่น่าสังเกตก็คือเหตุการณ์ September Effect นั้นมีพื้นฐานมาจากข้อมูลทางสถิติในระยะยาวมากกว่า 100 ปี มากกว่าที่จะเป็นทฤษฎีหรือตัวชี้วัดทางการเงินที่แท้จริงใด ๆ นั่นเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมนักลงทุนบางส่วนจึงไม่ถือว่าปรากฏการณ์นี้เป็นเรื่องที่จริงจัง แถมยังเอามาล้อเลียนเล่น ๆ หน้าตาเฉย

MDP-4596_2_TH.png
ดัชนีต่าง ๆ โดยเฉลี่ยจะปรับตัวลงในเดือนกันยายน

มีหลากหลายทฤษฎีเกี่ยวกับเหตุการณ์ September Effect และมีการถกเถียงมากมายเกี่ยวกับสาเหตุของปรากฏการณ์นี้ มาสำรวจมุมมองที่แตกต่างกันเกี่ยวกับปรากฏการณ์นี้และทำการวิเคราะห์แบบเจาะลึกกันดีกว่า

  1. หนึ่งในคำอธิบายที่พบบ่อยที่สุดก็คือว่าเหตุการณ์ September Effect นั้นเป็นเพียงแนวโน้มตามฤดูกาล ในอดีต หลายเดือนในช่วงฤดูร้อนมักจะเป็นช่วงที่ตลาดซบเซา เนื่องจากนักลงทุนจะออกไปพักร้อนซึ่งทำให้ปริมาณการซื้อขายลดลง แต่พอฤดูใบไม้ร่วงใกล้เข้ามาและผู้คนกลับมาทำงานตามปกติ ปริมาณการซื้อขายก็เพิ่มขึ้นอีกครั้ง ส่งผลให้ความผันผวนเพิ่มขึ้นตามมา ยิ่งไปกว่านั้น หลายบริษัทต่างเปิดเผยรายงานผลประกอบการรายไตรมาสในเดือนกันยายน ซึ่งอาจส่งผลให้ราคาหุ้นเกิดความผันผวน

  2. อีกทฤษฎีหนึ่งกล่าว่าเหตุการณ์ September Effect เป็นเรื่องของจิตวิทยาของนักลงทุนมากกว่าที่จะเป็นเรื่องอื่น เมื่อฤดูร้อนสิ้นสุดลง ผู้คนจำนวนหนึ่งก็มีแนวโน้มที่จะรู้สึกวิตกกังวลและซึมเศร้า ซึ่งอาจนำไปสู่ความรู้สึกเชิงลบเกี่ยวกับตลาดได้

  3. เดือนกันยายนมักเต็มไปด้วยความไม่แน่นอนทางการเมือง ในสหรัฐฯ ถือเป็นวันสิ้นสุดปีงบประมาณของรัฐบาลกลาง ซึ่งก่อให้เกิดการถกเถียงเรื่องงบประมาณและภาษี นอกจากนี้ หลายประเทศจะมีการเลือกตั้งในฤดูใบไม้ร่วง ทำให้เกิดความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจและตลาด

  4. มุมมองสุดท้ายคือนักวิเคราะห์บางคนจะเชื่อมโยงเหตุการณ์ September Effect กับการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย ตลาดหุ้นอาจได้รับผลกระทบเนื่องจากธนาคารกลาง เช่น ธนาคารกลางสหรัฐ จะปรับอัตราดอกเบี้ย

ความผันผวนในเดือนกันยายนมักนำไปสู่ความเคลื่อนไหวของตลาดที่มีความโดดเด่น และด้วยเลเวอเรจที่เพิ่มขึ้น คุณจะสามารถวางตำแหน่งตัวเองได้ดีขึ้นเพื่อทำกำไรจากความผันผวนเหล่านี้

NFP และ การประชุมของ FOMC

MDP-4596_3_TH.png
อัตราดอกเบี้ยในสหรัฐอเมริกา

การประชุมของ FOMC เมื่อสัปดาห์ที่แล้วส่งผลให้เกิดความผันผวนในตลาดอย่างมีนัยสำคัญและดัชนี US500 ก็พุ่งสูงขึ้นเนื่องมาจากสัญญาณของ Powel ที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนกันยายน

MDP-4596_4_TH.png
ประวัติ NFP ของสหรัฐอเมริกา

การประกาศตัวเลข NFP ของวันศุกร์ได้ออกมาแย่กว่าที่คาดไว้ โดยเน้นย้ำถึงความอ่อนแอของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งทำให้เจ้าหน้าที่ของเฟดต่างเห็นพ้องต้องกันที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยหลักในเดือนกันยายน สิ่งนี้ทำให้ตลาดหุ้นตกต่ำ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจดังกล่าวทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในพลวัตของตลาด ซึ่งจะเปิดโอกาสในการซื้อขายอันมีค่า

เป็นที่ทราบกันดีว่าอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้แตะถึงเพดานแล้ว คำถามสำคัญในขณะนี้คือธนาคารจะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยเมื่อใด ธนาคารกลางสหรัฐจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นกิจกรรมทางการเงินในตอนที่เศรษฐกิจเกิดการชะลอตัว โดยทั่วไปแล้วนักลงทุนและนักเศรษฐศาสตร์จะมองอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลงว่าเป็นตัวเร่งการเติบโต ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการกู้ยืมของบุคคลและองค์กร สิ่งนี้จะนำไปสู่ผลกำไรที่สูงขึ้นและเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง

ผู้บริโภคจะใช้จ่ายมากขึ้น เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงจะทำให้พวกเขารู้สึกว่าบางทีพวกเขาอาจสามารถซื้อสินค้าและบริการต่าง ๆ ได้มากขึ้น บริษัทต่าง ๆ สามารถจัดหาเงินทุนสำหรับการดำเนินกิจการ การเข้าซื้อกิจการ และการขยายตัวได้ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลง ซึ่งจะช่วยเพิ่มผลประกอบการ สิ่งนี้จะทำให้ราคาหุ้นสูงขึ้นในที่สุด

MDP-4596_5.png
ราคาหุ้น JP225 ปรับตัวลง 18% หลังการประกาศ NFP ของสหรัฐฯ

อย่างไรก็ตาม การปรับลดอัตราดอกเบี้ยก็ไม่ได้นำไปสู่ผลลัพธ์เชิงบวกเสมอไป เช่น การปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปี 2007 ก่อนเกิดวิกฤตการเงินในปี 2008 และการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปี 2019 ที่นำไปสู่วิกฤตตลาดในปี 2020 อย่างที่เราเห็นในปัจจุบัน การกระทำเหล่านี้ได้ถล่มดัชนีของเอเชียและสหรัฐฯ ตัวอย่างเช่น JP225 ได้ปรับตัวลง 12% ในช่วงเปิดตลาดในวันจันทร์ อย่างไรก็ตาม คุณสามารถใช้ประโยชน์จากทั้งตลาดขาขึ้นและขาลงได้ที่ FBS เนื่องจากความผันผวนสูงจะนำมาซึ่งโอกาสในการซื้อขายอย่างเหลือเฟือ

การเลือกตั้งของสหรัฐฯ

MDP-4596_6_TH.png
ตลาดหุ้นกลับมาคึกคักช่วงเลือกตั้ง

ในอดีต ตลาดหุ้นสหรัฐฯ มักเกิดความผันผวนอย่างรุนแรงในระหว่างการแข่งขันชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ

MDP-4596_7_TH.png
US100 ในช่วงการเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี 2020

ในการแข่งขันชิงตำแหน่งประธานาธิบดีครั้งล่าสุดในปี 2020 ดัชนี Nasdaq (US100) ได้เกิดความผันผวนอย่างรุนแรงและเคลื่อนไหวในแนวข้างก่อนวันเลือกตั้ง แต่หลังการเลือกตั้ง ตลาดก็ได้เป็นแนวโน้มขาขึ้น

การวิจัยแสดงให้เห็นว่านับตั้งแต่ปี 1950 ผลตอบแทนเฉลี่ยของหุ้นสหรัฐฯ ในช่วงปีเลือกตั้งนั้นได้อยู่ที่ 9.1% สภาวะตลาดหุ้นเฉลี่ยในอดีตในช่วง 12 เดือนระหว่างการเลือกตั้งจะเผยให้เห็นสิ่งต่อไปนี้:

  • ในปีแรกหลังการเลือกตั้ง ผลตอบแทนของ US500 จะอยู่ที่ 8.3% โดยเฉลี่ย

  • ในปีที่ 2 จะอยู่ที่ 3.4%

  • ในปีที่ 3 จะอยู่ที่ 14.7%

  • และในปีที่ 4 จะอยู่ที่ 9.1%

ปีนี้ โลกกำลังจับตามองการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่กำลังจะเกิดขึ้นในวันที่ 28 พฤศจิกายน อย่างใกล้ชิด ด้วยเวลาที่เหลืออีกสามเดือน ข่าวคราวจะเต็มไปด้วยอัปเดตต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง ตลาดจะตอบสนองต่อข้อมูลนี้ เช่น หลังจากความพยายามลอบสังหารอดีตประธานาธิบดีทรัมป์ ตลาดได้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญก่อนที่จะกลับมาทรงตัวในอีกไม่กี่วันต่อมา

นอกจากนี้ ยังไม่มีความชัดเจนว่าตลาดจะชอบรัฐบาลชุดใหม่ของทรัมป์ที่จะมาทำงานต่อจากรัฐบาลของไบเดน หรือรัฐบาลชุดอื่นที่นำโดยพรรคเดโมแครตมากกว่ากัน ซึ่งดูเหมือนว่าตลาดน่าจะยังไม่มีความโน้มเอียงที่ชัดเจน

ปฏิกิริยาในตลาดอัตราดอกเบี้ยยังคงเงียบอยู่ การถอนตัวของไบเดนได้ส่งผลกระทบอย่างจำกัดต่อตลาดอัตราดอกเบี้ย โดยเกิดการเปลี่ยนแปลงในผลตอบแทนเพียงเล็กน้อย

Jay Barry ซึ่งเป็นผู้นำร่วมของ กลยุทธ์ดอกเบี้ยสหรัฐฯ ที่ J.P. Morgan ได้สังเกตเห็นว่าตลาดมองว่านี่เป็นการแข่งขันที่เข้มข้นมาก ๆ โดยรวมแล้ว ความคาดหวังต่อการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟดจะยังคงผลักดันตลาดอัตราดอกเบี้ยต่อไป

สรุป

เหตุการณ์ September effect ที่จะถึงนี้ การเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินของสหรัฐฯ และการแข่งขันชิงตำแหน่งประธานาธิบดี อาจกระตุ้นให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ เกิดการเคลื่อนไหวที่รุนแรง การรับรู้ถึงผลกระทบของเหตุการณ์ September effect และผลกระทบในอดีตที่มีต่อตลาดจะช่วยให้เทรดเดอร์สามารถคาดการณ์และเตรียมพร้อมรับมือกับความเคลื่อนไหวที่อาจเกิดขึ้นของตลาดได้ การทำความเข้าใจความผันผวนของปีเลือกตั้งและการติดตามตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจ เช่น การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยที่หารือกันในระหว่างการประชุม FOMC จะช่วยให้มีข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญเพื่อการตัดสินใจซื้อขายอย่างมีข้อมูล

สรุปแล้ว โดยการทำความเข้าใจปัจจัยเหล่านี้ เทรดเดอร์จะสามารถสร้างกลยุทธ์ที่ชาญฉลาดขึ้น จัดการความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และอาจเพิ่มผลกำไรในสภาวะตลาดที่มีความผันผวนได้ นอกจากนี้ ด้วยอัตราเลเวอเรจที่สูงขึ้นถึง 1:500 ในดัชนี เทรดเดอร์จะมีพันธมิตรที่แข็งแกร่งที่คอยสนับสนุนพวกเขาในการเดินทางครั้งนี้

เทรดเลย

แบ่งปันกับเพื่อน ๆ: