Hyperinflation

เงินเฟ้อขั้นรุนแรง

เงินเฟ้อขั้นรุนแรงคืออะไร?

เงินเฟ้อขั้นรุนแรงคือภาวะที่มีเงินเฟ้อสูงมาก มันหมายถึงการที่ราคาทั่วไปในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมากเกินไปและไม่สามารถควบคุมได้ แม้ว่าเงินเฟ้อจะวัดอัตราที่ราคาสินค้าและบริการสูงขึ้น แต่ภาวะเงินเฟ้อขั้นรุนแรงคืออัตราเงินเฟ้อที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะสูงกว่า 50% ต่อเดือน

แม้ว่าภาวะเงินเฟ้อขั้นรุนแรงจะเกิดขึ้นได้ยากในประเทศเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้ว แต่ก็เคยเกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้งตลอดประวัติศาสตร์ทั้งในประเทศจีน เยอรมนี รัสเซีย ฮังการี และอาร์เจนตินา

เงินเฟ้อขั้นรุนแรงอาจเกิดขึ้นในช่วงสงครามและความวุ่นวายทางเศรษฐกิจในระบบเศรษฐกิจการผลิตกระแสหลัก จากการที่ธนาคารกลางพิมพ์เงินออกมามากเกินไป

ทำความเข้าใจเรื่องภาวะเงินเฟ้อขั้นรุนแรง

เงินเฟ้อขั้นรุนแรงเกิดขึ้นเมื่อราคาเพิ่มขึ้นมามากกว่า 50% ในหนึ่งเดือนในช่วงระยะเวลาหนึ่ง สำหรับการเปรียบเทียบ ตามสถิติของสำนักงานสถิติแรงงานแห่งสหรัฐอเมริกา ระดับที่แนะนำอยู่ที่ประมาณ 2% ต่อปี โดยวัดจาก CPI (ดัชนีราคาผู้บริโภค) CPI เป็นเพียงดัชนีราคาสำหรับตะกร้าของสินค้าและบริการที่เลือก ภาวะเงินเฟ้อขั้นรุนแรงทำให้ผู้บริโภคและธุรกิจต้องการเงินมากขึ้นเพื่อที่จะซื้อของ เนื่องจากราคาที่สูงขึ้น

ขณะที่ราคาที่สูงขึ้นใช้วัดอัตราเงินเฟ้อตามปกติ แต่อัตราเงินเฟ้อขั้นรุนแรงจะวัดจากการเติบโตแบบทวีคูณรายวันซึ่งอาจสูงถึง 5-10% ต่อวัน เงินเฟ้อขั้นรุงแรงเกิดขึ้นเมื่ออัตราเงินเฟ้อสูงเกิน 50% ภายในหนึ่งเดือน

ลองนึกภาพว่าค่าอาหารจะเพิ่มขึ้นจาก $500 ต่อสัปดาห์ เป็น $750 ต่อสัปดาห์ในเดือนหน้า และกลายเป็น $1,125 ต่อสัปดาห์ในเดือนถัดไป เป็นต้น หากค่าจ้างไม่สอดคล้องกับอัตราเงินเฟ้อในระบบเศรษฐกิจ มาตรฐานของการครองชีพของผู้คนก็จะลดลง เพราะพวกเขาไม่สามารถจ่ายเงินสำหรับความต้องการขั้นพื้นฐานและค่าครองชีพได้

ภาวะเงินเฟ้อขั้นรุนแรงอาจทำให้เกิดผลที่ตามมาสองสามอย่างต่อระบบเศรษฐกิจ ผู้คนกักตุนสินค้า รวมทั้งของเน่าเสียง่าย เช่น อาหาร เนื่องจากราคาที่สูงขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะการขาดแคลนอาหารได้ เมื่อราคาสูงขึ้น เงินสดหรือเงินออมในธนาคารจะมีมูลค่าลดลงหรือกลายเป็นสิ่งไร้ค่า เพราะเงินมีกำลังซื้อน้อยกว่ามาก สถานการณ์ทางการเงินของผู้บริโภคอาจนำไปสู่การล้มละลายได้

นอกจากนี้ ผู้คนก็จะหยุดลงทุนเงินในสถาบันการเงิน ดังนั้นธนาคารและผู้ให้กู้ชั้นนำก็จะล้มละลาย โดยผู้รับภาษีก็อาจล้มละลายด้วยเช่นกัน

ตัวอย่างของภาวะเงินเฟ้อขั้นรุนแรง

ตัวอย่างล่าสุดของภาวะเงินเฟ้อขั้นรุนแรงคือวิกฤตเศรษฐกิจของเวเนซุเอลาที่เริ่มขึ้นในปี 2013 และดำเนินต่อมาจนถึงทุกวันนี้ ในปี 2018 อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 1,700,000% GDP ลดลง 15% ผู้คนมากกว่า 3 ล้านคนออกนอกประเทศ เวเนซุเอลาอยู่ในอันดับที่ 169 (จาก 180) ในดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชัน (Corruption Perceptions Index) ซึ่งประมาณ 30% ของประชากรนั้นว่างงาน ปัจจุบันในเดือนมีนาคม ปี 2022 อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 2,000% ในฐานะผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ที่สุดรายหนึ่งของโลก ประเทศนี้กำลังประสบปัญหาขาดแคลนสินค้าจำเป็นพื้นฐาน อาหาร ยา และน้ำมันเบนซินอย่างเฉียบพลัน แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะชะลอตัวลงและสถานการณ์จะดีขึ้น แต่หลายครอบครัวในประเทศอเมริกาใต้แห่งนี้ก็ยังพยายามดิ้นรนเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย

เหตุใดจึงเกิดภาวะเงินเฟ้อขั้นรุนแรงขึ้น

เงินเฟ้อขั้นรุนแรงเกิดจากสองสาเหตุหลักด้วยกัน: เงินเฟ้อที่เกิดจากปริมาณเงินและเงินเฟ้อที่เกิดจากความต้องการ สาเหตุแรกเกิดขึ้นเมื่อรัฐบาลของประเทศเริ่มพิมพ์เงินเพื่อใช้จ่าย เมื่อปริมาณเงินเพิ่มขึ้น ราคาก็สูงขึ้น เช่นเดียวกับอัตราเงินเฟ้อปกติ

อีกสาเหตุหนึ่งคือเงินเฟ้อจากความต้องการ ซึ่งเกิดขึ้นเมื่ออุปสงค์มีมากกว่าอุปทาน ส่งผลให้ราคาสูงขึ้น สิ่งนี้อาจเป็นเพราะการใช้จ่ายของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น เนื่องจากเศรษฐกิจที่เติบโตขึ้น การส่งออกที่เพิ่มขึ้นอย่างกะทันหัน หรือการใช้จ่ายของภาครัฐที่เพิ่มขึ้น

เหตุผลสองข้อนี้มักจะไปด้วยกัน แทนที่จะลดปริมาณเงินเพื่อหยุดเงินเฟ้อ ธนาคารกลางสามารถพิมพ์เงินได้มากขึ้น เมื่อสกุลเงินประจำชาติหมุนเวียนมากเกินไป ราคาก็พุ่งสูงขึ้น เมื่อผู้บริโภครู้ว่ากำลังเกิดอะไรขึ้น พวกเขาคาดหวังว่าอัตราเงินเฟ้อจะดำเนินต่อไป พวกเขาก็จะซื้อมากขึ้นในตอนนี้ เพื่อที่จะได้ไม่ต้องจ่ายแพงขึ้นในวันหลัง ความต้องการส่วนเกินนี้ทำให้อัตราเงินเฟ้อรุนแรงขึ้น ซึ่งมันยิ่งเลวร้ายยิ่งกว่าเดิมหากผู้บริโภคกักตุนสินค้าและทำให้เกิดการขาดแคลน

ผลกระทบของภาวะเงินเฟ้อขั้นรุนแรง

ภาวะเงินเฟ้อขั้นรุนแรงจะลดค่าของสกุลเงินท้องถิ่นอย่างรวดเร็วในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ เนื่องจากมูลค่าที่สัมพันธ์กับสกุลเงินอื่นๆ ลดลง สถานการณ์นี้จะบังคับให้ผู้ถือสกุลเงินประจำชาติลดการออมและเปลี่ยนไปใช้สกุลเงินต่างประเทศที่มีเสถียรภาพมากขึ้น

ผู้คนมักจะเริ่มลงทุนในสินค้าคงทน เช่น อุปกรณ์ รถยนต์ เครื่องประดับ ฯลฯ โดยพยายามที่จะไม่จ่ายราคาที่สูงขึ้นในวันต่อไป เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อขั้นรุนแรง โดยเมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อขั้นรุนแรงขึ้น ผู้คนจะเริ่มกักตุนสินค้าที่เน่าเสียง่าย

อย่างไรก็ตาม การทำเช่นนี้ทำให้เกิดวงจรอุบาทว์ ซึ่งก็คือ เมื่อราคาสูงขึ้น ผู้คนก็จะสะสมสินค้ามากขึ้น ทำให้มีความต้องการสินค้าสูงขึ้น และราคาก็สูงขึ้นอีก หากสถานการณ์ภาวะเงินเฟ้อขั้นรุนแรงยังคงไม่ดีขึ้น มันก็มักจะนำไปสู่การล่มสลายทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่

เงินเฟ้อขั้นรุนแรงที่รุนแรงมากอาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจในประเทศไปสู่เศรษฐกิจแบบแลกเปลี่ยนสิ่งของต่อสิ่งของ (barter economy) ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างจริงจังต่อความเชื่อมั่นของชุมชนธุรกิจ นอกจากนี้ยังสามารถทำลายระบบการเงินเมื่อธนาคารหยุดให้กู้ยืมอีกด้วย

ย้อนกลับ

อัปเดทแล้ว • 2022-07-27

คำถามที่พบบ่อย

  • จะเริ่มเทรดอย่างไร?

    หากคุณอายุ 18 ปีขึ้นไปคุณสามารถเข้าร่วม FBS ได้และเริ่มต้นการเดินทาง FX ของคุณ ในการซื้อขายคุณจะต้องมีบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์และมีความรู้ที่เพียงพอเกี่ยวกับวิธีการทำงานของสินทรัพย์ในตลาดการเงิน เริ่มด้วยการศึกษาขั้นพื้นฐานด้วย สื่อการเรียนรู้ฟรี และ สร้างบัญชี FBS คุณอาจต้องการทดสอบสภาพแวดล้อมด้วยเงินเสมือนจริงผ่านบัญชีทดลอง เมื่อคุณพร้อมเข้าสู่ตลาดจริงแล้ว ก็เริ่มทำการซื้อขายเพื่อที่จะได้ประสบความสำเร็จ  

  • จะเปิดบัญชี FBS ได้อย่างไร?

    คลิกที่ปุ่ม 'เปิดบัญชี' บนเว็บไซต์ของเราแล้วไปที่ Trader Area ก่อนที่คุณจะเริ่มซื้อขายได้ โปรไฟล์ของคุณจะต้องได้รับการยืนยันเสียก่อน ยืนยันอีเมลและเบอร์โทรศัพท์ของคุณ จากนั้นให้ทำการยืนยันตัวตนของคุณ ขั้นตอนนี้จะช่วยรับประกันความปลอดภัยของเงินและตัวตนของคุณ เมื่อคุณผ่านการตรวจสอบทั้งหมดแล้ว ให้ไปที่แพลตฟอร์มการซื้อขายที่ต้องการ แล้วเริ่มซื้อขายได้เลย

  • จะถอนเงินที่ทำได้กับ FBS ได้อย่างไร?

    กระบวนการนี้ไม่มีอะไรซับซ้อนเลย ไปที่หน้า การถอนเงิน บนเว็บไซต์หรือส่วนการเงินของ FBS Trader Area และเข้าไปที่การถอนเงิน คุณจะได้รับเงินที่ทำได้รับผ่านระบบการชำระเงินเดียวกับที่คุณใช้ในการฝากเงิน ในกรณีที่คุณฝากเงินเข้าบัญชีผ่านหลายวิธี ให้ถอนกำไรของคุณผ่านวิธีเดียวกันในอัตราส่วนตามยอดเงินที่ฝากเข้ามา

ฝากเงินกับระบบการชำระเงินในประเทศของคุณ

ประกาศการเก็บรวบรวมข้อมูล

FBS เก็บรักษาข้อมูลของคุณไว้เพื่อใช้งานเว็บไซต์นี้ เมื่อกดปุ่ม "ยอมรับ" ถือว่าคุณยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเรา

โทรกลับ

ผู้จัดการของเราจะโทรหาคุณในเร็ว ๆ นี้

เปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์

เราได้รับคำร้องของคุณแล้ว

ผู้จัดการของเราจะโทรหาคุณในเร็ว ๆ นี้

คำขอโทรกลับครั้งต่อไปสำหรับหมายเลขโทรศัพท์นี้
จะพร้อมใช้งานใน

หากคุณมีปัญหาเร่งด่วนโปรดติดต่อเราผ่านทาง
สนทนาออนไลน์

เกิดข้อผิดพลาดภายใน กรุณาลองใหม่อีกครั้งในภายหลัง

อย่ามัวเสียเวลา - ติดตามดูว่า NFP ส่งผลกระทบอย่างไร ต่อ USD แล้วทำกำไรเลยสิ!

คุณกำลังใช้เบราว์เซอร์เวอร์ชันเก่ากว่านี้

อัปเดตเป็นเวอร์ชันล่าสุดหรือลองใช้เพื่อการเทรดที่สะดวกสบายและมีประสิทธิผลยิ่งขึ้น

Safari Chrome Firefox Opera