Inflation

เงินเฟ้อ

เงินเฟ้อคืออะไร?

คำจำกัดความของเงินเฟ้อ หมายถึง การเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในระดับราคาสินค้าและบริการโดยรวม โดยมากแล้ว เป็นเรื่องปกติที่จะรายงานอัตราเงินเฟ้อเป็นรายปี หรือตามที่ผู้คนพูดกันคือแบบปีต่อปี

นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อบ่งชี้ถึงระดับของการลดค่าเงินและส่งผลกระทบต่อความผันผวนของราคา ตัวอย่างเช่น หากอัตราเงินเฟ้อรายปีเท่ากับ 6.7% หมายความว่าชุดสินค้าที่เหมือนกันซึ่งมีราคา $100 ในปีที่แล้วได้เพิ่มขึ้นเป็น $106.7 ในปีนี้ เป็นผลให้เงิน $100 มีมูลค่าลดลงหรือสูญเสียกำลังซื้อลงไป 6.7%

ในทางตรงกันข้าม ก็มีคำว่าเงินฝืดด้วย ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อราคาลดลงและกำลังซื้อเพิ่มขึ้น การรวมกันของอัตราเงินเฟ้อที่สูง การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ช้า และการว่างงานที่เพิ่มขึ้น เรียกว่า Stagflation หรือภาวะเศรษฐกิจชะงักงันและเงินเฟ้อ ซึ่งมาจากการประสมกันของคำว่า stagnant (ภาวะเศรษฐกิจหยุดนิ่ง) กับ inflation (ภาวะเงินเฟ้อ) การเพิ่มขึ้นของราคาอย่างรวดเร็ว เพิ่มมากเกินไป และอยู่เหนือการควบคุมเรียกว่า ภาวะเงินเฟ้อรุนแรง (hyperinflation)

โดยระดับของเงินเฟ้อที่เหมาะสมที่สุดคือระดับที่ทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจยังคงดำเนินต่อไปได้ ในขณะที่ยังคงรักษาอัตราการว่างงานให้อยู่ในระดับต่ำด้วย

1419-01.png

ราคาน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ประจำปี (เซ็นต์ต่อปอนด์) โดยใช้ข้อมูลจาก USDA

เงินเฟ้อเกิดจากอะไร?

เพื่อให้เข้าใจได้ดีขึ้นว่าเงินเฟ้อคืออะไรในทางเศรษฐศาสตร์ เราจำเป็นต้องรู้ว่าสาเหตุของเงินเฟ้อคืออะไร ปัจจัยหลายอย่างมีอิทธิพลต่อราคาและกลายเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดเงินเฟ้อในระบบเศรษฐกิจ

แรงดึงจากอุปสงค์

แรงดึงจากอุปสงค์ (demand-pull inflation) ปรากฏขึ้นจากการที่ผู้บริโภคต้องการซื้อสินค้าหรือบริการจำนวนมาก มันแสดงให้เห็นว่ามีการจ้างงานเกือบเต็มอัตรา เศรษฐกิจเติบโตเหนือแนวโน้มระยะยาว และมีเงินมากเกินไป แต่สินค้าโภคภัณฑ์ที่มีอยู่นั้นมีน้อยเกินไป

มันเกิดขึ้นได้อย่างไร?

ทฤษฎีเงินเฟ้อมีหลากหลาย ตัวอย่างเช่น ในหลักการเศรษฐศาสตร์ของเคนส์ เงินเฟ้อที่เกิดจากแรงดึงด้านอุปสงค์ แสดงให้เห็นถึงผลกระทบของความไม่สมดุลของอุปสงค์และอุปทานโดยรวม เมื่ออุปสงค์ทั้งหมดในระบบเศรษฐกิจมีมากกว่าอุปทานทั้งหมด ราคาจะสูงขึ้น นี่คือสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดสำหรับเงินเฟ้อ

โดยมีเงื่อนไขหลายประการที่สามารถทำให้เกิดเงินเฟ้อจากแรงดึงด้านอุปสงค์ได้ ดังนี้

  • เศรษฐกิจเติบโต เมื่อผู้บริโภคมีความมั่นใจในตนเองทางด้านการเงิน พวกเขาก็จะเริ่มใช้จ่ายมากขึ้นและกู้ยืมเงินมากขึ้น ในที่สุดแล้วสิ่งนี้ก็นำไปสู่ความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ส่งผลให้ราคาสูงขึ้น
  • อุปสงค์ด้านการส่งออกที่เพิ่มขึ้น การส่งออกที่พุ่งสูงขึ้นนำไปสู่การประเมินค่าสกุลเงินประเทศต่ำเกินไป
  • การใช้จ่ายของภาครัฐ ขณะที่รัฐบาลใช้จ่ายอย่างอิสระมากขึ้น ราคาก็สูงขึ้นตามไปด้วย
  • การคาดการณ์เงินเฟ้อ บางบริษัทมีแนวโน้มที่จะขึ้นราคาจากการที่คาดว่าจะเกิดเงินเฟ้อขึ้นในอนาคตอันใกล้
  • กระแสเงินเพิ่มขึ้น ปริมาณเงินที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่สินค้ามีให้ซื้อน้อยเกินไป ก็ทำให้ราคาสูงขึ้นได้เช่นกัน

แรงผลักจากอุปทาน

รู้จักกันดีว่าเป็นเงินเฟ้อที่เกิดจากค่าจ้างหรือต้นทุนการผลิต แรงผลักจากอุปทาน (cost-push inflation หรือเรียกอีกอย่างว่า wage-push inflation) เกิดขึ้นเมื่อราคาสูงขึ้นเนื่องจากต้นทุนค่าจ้างและวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้น

มันเกิดขึ้นได้อย่างไร?

สาเหตุบางประการที่ทำให้เกิดเงินเฟ้อประเภทนี้ มีดังต่อไปนี้

  • ค่าแรงที่สูงขึ้น การเพิ่มขึ้นของค่าแรงขั้นต่ำต่อคนงาน
  • ภัยธรรมชาติ สาเหตุที่ไม่คาดฝันของเงินเฟ้อที่เกิดจากแรงผลักด้านอุปทานมักเกิดจากภัยทางธรรมชาติ
  • ต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากหน่วยงานของรัฐ สถานการณ์อย่างเช่น การเปลี่ยนรัฐบาลอย่างกะทันหันส่งผลกระทบต่อความสามารถของประเทศในการรักษาระดับการผลิตเดิม อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในประเทศกำลังพัฒนา
  • การเปลี่ยนแปลงของกฎหมายปัจจุบัน แม้ว่าจะมีการคาดการณ์ไว้โดยทั่วไป แต่กฎระเบียบบางประการอาจส่งผลให้ธุรกิจมีต้นทุนสูงขึ้น

เงินเฟ้อเชิงโครงสร้าง

เงินเฟ้อเชิงโครงสร้างเกิดขึ้นเมื่อผู้คนจำนวนหนึ่งที่มากพอคาดว่าราคาจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้คนอาจต้องการเงินเดือนที่สูงขึ้นเนื่องจากคาดว่าราคาจะสูงขึ้น เพื่อที่จะสามารถยังคงรักษาคุณภาพชีวิตแบบเก่าไว้ได้ ในที่สุด เงินเดือนที่สูงขึ้นก็ส่งผลให้ต้นทุนทางธุรกิจสูงขึ้น ซึ่งสามารถส่งต่อไปยังผู้บริโภคได้

ประเภทของดัชนีราคา

นักเศรษฐศาสตร์วัดอัตราเงินเฟ้อด้วยสิ่งที่เรียกว่าดัชนีราคา ซึ่งจะติดตามราคาของสินค้าและบริการชุดใดชุดหนึ่ง ดัชนีที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ได้แก่ ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) และดัชนีราคาขายส่ง (WPI)

ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI)

แต่ละรัฐจะกำหนดชุดสินค้าและบริการที่จำเป็นเพื่อให้แน่ใจว่ามีมาตรฐานการครองชีพขั้นต่ำ เรียกว่า ตะกร้าของผู้บริโภค (consumer basket) ดัชนีที่แสดงการเปลี่ยนแปลงในราคาของตะกร้านี้เรียกว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index : CPI)

CPI เป็นหนึ่งในตัวบ่งชี้หลักของอัตราเงินเฟ้อ มูลค่าของมันสะท้อนถึงราคาเฉลี่ยสำหรับบริการและสินค้าในตะกร้าของผู้บริโภค มันทำหน้าที่เป็นจุดอ้างอิงใหม่สำหรับการคำนวณค่าจ้าง สวัสดิการสังคม และการชำระเงินอื่น ๆ

ดัชนีราคาขายส่ง (WPI)

ดัชนีราคาขายส่ง (Wholesale Price Index : WPI) แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงโดยเฉลี่ยของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในระดับการค้าส่ง มันวัดอัตราเงินเฟ้อโดยกำหนดราคาที่ผู้ค้าส่งจ่ายให้กับผู้ผลิตและเปรียบเทียบกับราคาปีฐาน WPI ใช้เพื่อติดตามแนวโน้มราคาที่แสดงอุปสงค์และอุปทานในปัจจุบันในอุตสาหกรรม

ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI)

ในภาคการผลิต ดัชนีราคาผู้ผลิต (Producer Price Index : PPI) วัดอัตราการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าที่จำหน่ายตั้งแต่ที่ออกจากผู้ผลิต โดยไม่รวมภาษี ค่าขนส่ง และส่วนต่างทางการค้าที่ผู้ซื้ออาจต้องจ่าย PPI จะวัดการเปลี่ยนแปลงโดยเฉลี่ยของราคาที่ได้รับจากผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ

วิธีการเตรียมตัวรับมือกับเงินเฟ้อ

ในฐานะพลเมืองทั่วไป คุณอาจสงสัยว่า ฉันจะทำอะไรได้บ้างนอกจากเปลี่ยนไปใช้สินค้าทดแทนที่มีต้นทุนต่ำกว่าหรือขอขึ้นเงินเดือน? โชคดีที่มีวิธีที่ดีกว่าในการเตรียมตัวให้พร้อมรับมือกับเงินเฟ้อ

  • ตุนสินค้าที่จัดเก็บได้ในระยะยาว การซื้อของที่ไม่เน่าเสียง่ายและของที่เก็บได้นาน ๆ อาจเป็นการเริ่มต้นที่ดี
  • กู้ยืมเงินเท่าที่คุณจ่ายไหว คุณอาจพิจารณารีไฟแนนซ์บ้านของคุณเมื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำ
  • ซื้อหุ้นที่จะได้รับประโยชน์จากราคาที่เพิ่มขึ้น วิเคราะห์ภาคส่วนธุรกิจที่ดำเนินธุกิจได้ดีในช่วงวิกฤตและพิจารณาเลือกหุ้น
  • ตรวจสอบพันธบัตรป้องกันเงินเฟ้อของรัฐบาล ข้อเสนอดังกล่าวเป็นเครื่องมือชั้นยอดในการปกป้องเงินทุนของคุณ หลักทรัพย์ที่ได้รับความคุ้มครองจากกระทรวงการคลังจะเพิ่มการจ่ายผลตอบแทนให้ตามอัตราเงินเฟ้อ ส่งผลให้กำลังซื้อของคุณเพิ่มขึ้นพร้อมกับอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น
  • ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ เมื่ออัตราเงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้น ราคาอสังหาริมทรัพย์ก็มักจะสูงขึ้นตามไปด้วย

ข้อดีและข้อเสียของเงินเฟ้อ

แม้ว่าหลายคนจะมองว่าเงินเฟ้อเป็นปรากฏการณ์เชิงลบ ซึ่งส่งผลให้ประชากรยากจนลง แต่นักเศรษฐศาสตร์ก็ชี้ให้เห็นถึงข้อดีบางประการของเงินเฟ้อ

ข้อดี

  • อัตราเงินเฟ้อทำหน้าที่กระตุ้น ในขณะที่เงินลดค่าลง สินค้านำเข้ามีราคาแพงกว่าสินค้าที่คล้ายกันที่ผลิตในประเทศมาก ๆ อัตราเงินเฟ้อกระตุ้นให้เกิดความต้องการผลิตภัณฑ์ในประเทศและสนับสนุนผู้ผลิตในประเทศ
  • กระบวนการเงินเฟ้อกระตุ้นให้เกิดการบริโภคสินค้าราคาแพงในช่วงสั้น ๆ ผู้คนเริ่มสนใจที่จะถือเงินน้อยลงเนื่องจากค่าของเงินถูกลงและตัดสินใจซื้อสินค้าที่ทำให้ได้รับประโยชน์มากกว่า
  • บริษัทที่มีสต็อกสินค้าจำนวนมากจะได้รับโอกาสในการโละสินค้าออกจากคลังจากการส่งออกที่เพิ่มขึ้น มูลค่าของสินค้าที่ผลิตจะมีมูลค่าลดลง เมื่อเทียบกับสินค้าที่ผลิตในประเทศอื่นที่มีสกุลเงินแข็งค่ากว่า ดังนั้นผลิตภัณฑ์จึงมีความได้เปรียบในด้านการแข่งขัน คือมีราคาที่ต่ำลงนั่นเอง
  • เงินเฟ้อช่วยในการพัฒนา ในช่วงวิกฤต ผู้เล่นในตลาดที่อ่อนแอไม่สามารถทนต่อแรงกดดันได้และหายไปในที่สุด บริษัทที่แข็งแกร่งจะยิ่งแข็งแกร่งขึ้นกว่าเดิม พวกเขาได้รับประสบการณ์ในการจัดการวิกฤตและมีความเข้าใจที่ชัดเจนเกี่ยวกับวิธีการป้องกันตนเองจากปัญหาที่คล้ายคลึงกันในอนาคต

แม้ว่าจะมีข้อดีหลายประการ แต่อัตราเงินเฟ้อที่สูงก็ทำให้เกิดข้อเสียร้ายแรงหลายประการเช่นกัน

ข้อเสีย

  • เพิ่มภาระทางการเงินในงบประมาณของรัฐและหน่วยงานธุรกิจ พวกเขาต้องตรวจสอบการเข้ามาของสินค้าที่อยู่ในหมวดการนำเข้าสินค้าที่สำคัญ
  • การลดลงของรายได้ที่แท้จริงของประชากร ซึ่งส่งผลให้เกิดความไม่พอใจต่อรัฐบาลชุดปัจจุบัน
  • ความยากลำบากในการให้บริการสินเชื่อของสกุลเงินต่างประเทศ
  • การพัฒนาให้เกิดความไม่ไว้วางใจในสกุลเงินของประเทศ ซึ่งนำไปสู่ความต้องการของสกุลเงินต่างประเทศ โดยอันตรายจากความไม่สมดุลระหว่างกระแสเงินสดที่ไหลเข้าและค่าใช้จ่ายจะเกิดขึ้น มันอาจทำให้เกิดการขาดดุลทางการเงิน เริ่มทำให้เกิดอัตราแลกเปลี่ยนที่สมมติขึ้น และแม้กระทั่งผลักดันให้เกิดเงินเฟอระลอกใหม่
  • วิกฤตนี้ได้กระตุ้นให้องค์กรต่าง ๆ ลดค่าใช้จ่ายลง โดยปกติแล้วมักจะลดจำนวนพนักงานและกระจายหน้าที่รับผิดชอบให้พนักงาน ผลที่ตามมาคือการเพิ่มขึ้นของการว่างงานและความไม่สงบทางสังคมที่อาจเกิดขึ้น
  • เงินเฟ้อก่อให้เกิดการไหลออกของเงินทุนจากภาคการผลิต โดยเงินเริ่มกระจุกตัวอยู่ในแวดวงตัวกลางและการบริโภค ซึ่งโอกาสการสร้างรายได้จะเพิ่มขึ้นหลายเท่า
  • ความสามารถในการแข่งขันในตลาดต่างประเทศลดลง หากองค์กรไม่สามารถดำเนินการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการผลิตให้ทันสมัยได้ทันท่วงที

เมื่อวิเคราะห์ผลกระทบของเงินเฟ้อ นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่กล่าวว่าอัตราเงินเฟ้อที่ 5-6% ต่อปี ถือว่าเป็น “จุดที่กลมกล่อม” เพราะมันทำให้สามารถคาดการณ์และควบคุมเศรษฐกิจได้ และส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของรัฐ นั่นคือภาคเศรษฐกิจที่แท้จริงพัฒนาขึ้นและการผลิตโดยรวมเติบโตขึ้น

วิธีการควบคุมเงินเฟ้อ

เพื่อต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้อที่สูงจำเป็นต้องดำเนินการในสองทิศทาง:

  1. ใช้มาตรการเร่งด่วนเพื่อลดอัตราเงินเฟ้อ
  2. ใช้มาตรการเชิงกลยุทธ์เพื่อเสริมสร้างเศรษฐกิจของรัฐ

มาตรการเร่งด่วน

  • จำกัดกระแสการไหลของเงินใหม่ วิธีหลักในการนำเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจคือจากการให้กู้ยืม กุญแจสำคัญในการหยุดสิ่งนั้นก็คือการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายและอัตราดอกเบี้ยรายปีของเงินกู้ เพื่อไม่ให้สามารถทำกำไรได้จากการให้กู้
  • ควบคุมระบบธนาคาร เนื่องจากธนาคารจัดการเงิน จึงจำเป็นต้องควบคุมกระแสการเงินในประเทศ ธนาคารพาณิชย์ต้องให้กู้ยืมแก่ภาคยุทธศาสตร์ที่สำคัญของเศรษฐกิจและไม่อนุญาตให้กู้ยืมเงินที่ไม่สามารถชำระคืนได้
  • ควบคุมสินค้าที่จำเป็นต่อสังคม ในช่วงที่เงินเฟ้อสูง รัฐต้องควบคุมราคาสินค้าพื้นฐาน เช่น ข้าว ขนมปัง แป้ง เป็นต้น นอกจากนี้ยังจำเป็นต้องสนับสนุนผู้ผลิตทางการเกษตรอีกด้วย
  • ควบคุมผู้ส่งออก สินค้าของพวกเขาควรมีปริมาณเพียงพอในประเทศ โดยควรขายในราคาที่เหมาะสมด้วย

อย่างไรก็ดี มาตรการเร่งด่วนไม่อาจพาให้ประเทศผ่านพ้นวิกฤตไปได้ ทำได้แค่ชะลอการลดค่าเงินได้เท่านั้น เพื่อแก้ปัญหาอย่างเต็มรูปแบบจึงจำเป็นต้องใช้มาตรการเชิงกลยุทธ์

มาตรการเชิงกลยุทธ์

  • การบรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อที่ตั้งไว้ สิ่งแรกที่รัฐจำเป็นต้องทำคือการสร้างหลักเกณฑ์ทางการเงินให้กับธุรกิจและประชากร มันจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อจริงและที่วางแผนไว้สำหรับปีปัจจุบันได้ทันท่วงที หากดำเนินการอย่างถูกต้อง ก็จะเร่งกระบวนการฟื้นฟูเศรษฐกิจและเสริมสร้างความเชื่อมั่นของประชาชนต่อทางการได้
  • การเปลี่ยนแปลงในนโยบายงบประมาณ เศรษฐกิจตกต่ำส่งผลให้รัฐขาดเงินงบประมาณ ปัญหาของปริมาณเงินที่ไม่มีหลักประกันจะไม่มีทางแก้ปัญหานี้ได้ กระบวนการลดค่าเงินก็จะเริ่มขึ้นอยู่ดี และอัตราเงินเฟ้อก็จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
  • การสร้างเงื่อนไขที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาธุรกิจ ผู้ประกอบการคือพลังขับเคลื่อนอันทรงพลังที่สามารถพลิกฟื้นเศรษฐกิจของประเทศได้
  • การใช้สินค้าทดแทนแทนการนำเข้า การลดการพึ่งพาการนำเข้าของประเทศทำให้เศรษฐกิจสามารถต้านทานแรงกระแทกจากภายนอกได้มากขึ้น

ตัวอย่างของเงินเฟ้อ

มีตัวอย่างมากมายในประวัติศาสตร์เมื่อการลดค่าเงินถึง 100% หรือมากกว่านั้น นี่คือ 3 กรณีที่โด่งดังที่สุด

ฮังการี

ระยะเวลา: สิงหาคม ปี 1945 - กรกฎาคม ปี 1946

อัตราเงินเฟ้อ: 207% ต่อวัน

ราคาสินค้าในฮังการีหลังสงครามเริ่มสูงขึ้น เนื่องจากขาดการผลิต โดยที่นั่นยังไม่มีระบบภาษีจึงไม่มีงบอะไรมาเติมเต็มงบประมาณแผ่นดินได้ รัฐบาลตัดสินใจพิมพ์ธนบัตรออกมาเพิ่มและขณะเดียวกันก็ลดอัตราดอกเบี้ยไปด้วย ส่งผลให้ฮังการีเต็มไปด้วยเงินที่ไม่มีหลักประกัน

สกุลเงินแป็งเกอฮังการี (pengő) มีอัตราเงินเฟ้อสูงเป็นประวัติการณ์ในเศรษฐกิจโลก โดยทุก ๆ 15 ชั่วโมง ราคาในตลาดของประเทศจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า อัตราเงินเฟ้อสูงสุดต่อเดือนคือ 40,000,000,000,000,000%

ต่อมาในปี 1946 ทางการได้ดำเนินการปฏิรูปการเงิน สกุลเงินโฟรินต์ฮังการีที่ใส่เข้าไปในระบบมีค่าเท่ากับ 400,000 พันล้านล้านแป็งเกอ ปัจจุบันชาวฮังกาเรียนก็ยังคงใช้สกุลเงินใหม่นี้อยู่

1419-03.png

ธนบัตร 1 พันล้านแป็งเกอ

ซิมบับเว

ระยะเวลา: มีนาคม ปี 2007 – ปี 2008

อัตราเงินเฟ้อ: 98% ต่อวัน

เงินที่ไม่มีหลักประกันก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เศรษฐกิจซิมบับเวตกต่ำด้วยเช่นกัน ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากที่มีการปฏิรูปที่ดินเป็นพิเศษ การปฏิรูปดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายเพื่อกีดกันเกษตรกรชาวอังกฤษจากที่ดินและปศุสัตว์ และมอบให้กับประชากรในท้องถิ่นที่ไม่มีที่ดิน

เจ้าของที่ดินรายใหม่ไม่รู้วิธีการเพาะปลูก ดังนั้นการผลิตสินค้าส่งออกสำคัญจึงลดลงอย่างรวดเร็ว อุตสาหกรรมการผลิตก็พังทลายเช่นกัน ความอดอยากและการว่างงานเริ่มเพิ่มขึ้น ข้าราชการได้บ่อนทำลายเศรษฐกิจของตนเอง

“ทางรอด” เพียงอย่างเดียวคือการออกธนบัตรมูลค่าใหม่ออกมา ในซิมบับเวมีการดำเนินการเช่นนี้ถึงสามครั้งในระยะเวลา 4 ปี

1419-02.png

ธนบัตร 100 ล้านล้านดอลลาร์ซิมบับเว

ยูโกสลาเวีย

ช่วงเวลา: เมษายน ปี 1992 - มกราคม ปี 1994

อัตราเงินเฟ้อ: 65% ต่อวัน

มีปัจจัยหลายประการที่ทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อรุนแรงในยูโกสลาเวีย Tito ผู้นำของประเทศเสียชีวิต สโลวีเนียแยกตัวออกไป ระบบราชการขยายตัวเกินไป และสหประชาชาติสั่งคว่ำบาตรทางการค้า เมื่อเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจที่สั่นคลอนสงบลง รัฐบาลจึงสั่งให้พิมพ์เงินออกมา

ภาวะเงินเฟ้อรุนแรงถึงจุดสูงสุดในปี 1994 ซึ่งอยู่ที่ 116,546,000,000% ต่อปี ในช่วงเวลานี้ ดีนาร์ยูโกสลาเวียได้สูญเสียหน้าที่ในฐานะเงินไปแล้ว เนื่องจากราคาอาหารในร้านค้าต่าง ๆ ถูกระบุด้วยเครื่องหมายเยอรมันแล้ว

ต่อมารัฐบาลได้นำแผน Avramovich มาใช้ มันเป็นชุดของมาตรการทางการเงินที่ไม่เป็นที่นิยมเพื่อช่วยเหลือส่วนที่เหลือของยูโกสลาเวีย ส่งผลให้ประเทศเปลี่ยนไปสู่ระบบเศรษฐกิจแบบตลาด อย่างไรก็ตาม สถานการณ์นี้ก็ดีขึ้นหลังจากที่สงครามสิ้นสุดลงแล้วและการคว่ำบาตรถูกยกเลิกในปี 1995

1419-04.png

5,000 ดีนาร์ยูโกสลาเวีย ปี 1985

สรุป

เงินเฟ้อคือการเพิ่มขึ้นของราคาที่ทำให้กำลังซื้อลดลงเมื่อเวลาผ่านไป รัฐบาลพยายามควบคุมมันอย่างต่อเนื่องผ่านนโยบายการเงิน เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อเป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของประเทศ

ย้อนกลับ

อัปเดทแล้ว • 2023-05-11

คำถามที่พบบ่อย

  • เงินเฟ้อนั้นดีหรือไม่ดีกันแน่?

    ในทางทฤษฎี อัตราเงินเฟ้อที่ต่ำสามารถบ่งบอกถึงสัญญาณที่ดีของเศรษฐกิจที่กำลังเติบโต ในทางตรงกันข้าม อัตราเงินเฟ้อที่สูงอาจสร้างความเสียหายให้กับประเทศได้ อย่างไรก็ตาม บุคคลบางกลุ่มได้รับประโยชน์จากสถานการณ์ดังกล่าว

  • ผลกระทบของเงินเฟ้อคืออะไร?

    ผลกระทบของเงินเฟ้อแตกต่างกันไป ในแง่หนึ่ง เงินเฟ้อก็กระตุ้นผู้ผลิตในประเทศและมอบประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดการวิกฤตให้มากมาย ในอีกแง่หนึ่ง สิ่งเหล่านี้ทำให้รายได้ที่แท้จริงลดลง ปัญหาเกี่ยวกับบริการสินเชื่อ การขาดความสามารถในการแข่งขัน และอื่น ๆ อีกมากมาย

  • ทำไมอัตราเงินเฟ้อในขณะนี้ถึงสูงนัก?

    มีเหตุผลหลายประการที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วโลกสูงขึ้นทั่วโลก เหตุผลบางประการ มีดังนี้

    • ราคาพลังงานและน้ำมันที่สูงขึ้น ราคาน้ำมันลดลงในช่วงเริ่มต้นของการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ แต่อุปสงค์ดีดตัวขึ้นตั้งแต่นั้นมาและแตะระดับสูงสุดในรอบ 7 ปี
    • สินค้าขาดตลาด ผู้ผลิตในสถานที่ต่าง ๆ เช่น ฝั่งเอเชียประสบปัญหาในการตอบสนองความต้องการตั้งแต่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับโควิด-19 สิ่งนี้นำไปสู่การขาดแคลนวัสดุ เช่น พลาสติก คอนกรีต และเหล็ก ซึ่งทำให้ราคาสูงขึ้น
    • ค่าขนส่ง บริษัทขนส่งทั่วโลกได้รับผลกระทบจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นหลังการระบาดใหญ่ ซึ่งหมายความว่าผู้ค้าปลีกต้องจ่ายมากขึ้นเพื่อนำผลิตภัณฑ์เหล่านี้เข้าสู่ตลาด
    • ค่าแรงที่สูงขึ้น เมื่อระดับการว่างงานต่ำ บริษัทต่าง ๆ ต้องปรับขึ้นค่าจ้างหรือเสนอโบนัสการเซ็นสัญญาเพื่อดึงดูดและรักษาพนักงานไว้
    • ผลกระทบจากสภาพอากาศ สภาพภูมิอากาศที่รุนแรงในหลายส่วนของโลกมีส่วนทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ
    • อุปสรรคทางการค้า สินค้านำเข้าที่มีราคาแพงกว่าทำให้ราคาสูงขึ้น

ฝากเงินกับระบบการชำระเงินในประเทศของคุณ

ประกาศการเก็บรวบรวมข้อมูล

FBS เก็บรักษาข้อมูลของคุณไว้เพื่อใช้งานเว็บไซต์นี้ เมื่อกดปุ่ม "ยอมรับ" ถือว่าคุณยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเรา

โทรกลับ

ผู้จัดการของเราจะโทรหาคุณในเร็ว ๆ นี้

เปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์

เราได้รับคำร้องของคุณแล้ว

ผู้จัดการของเราจะโทรหาคุณในเร็ว ๆ นี้

คำขอโทรกลับครั้งต่อไปสำหรับหมายเลขโทรศัพท์นี้
จะพร้อมใช้งานใน

หากคุณมีปัญหาเร่งด่วนโปรดติดต่อเราผ่านทาง
สนทนาออนไลน์

เกิดข้อผิดพลาดภายใน กรุณาลองใหม่อีกครั้งในภายหลัง

อย่ามัวเสียเวลา - ติดตามดูว่า NFP ส่งผลกระทบอย่างไร ต่อ USD แล้วทำกำไรเลยสิ!

คุณกำลังใช้เบราว์เซอร์เวอร์ชันเก่ากว่านี้

อัปเดตเป็นเวอร์ชันล่าสุดหรือลองใช้เพื่อการเทรดที่สะดวกสบายและมีประสิทธิผลยิ่งขึ้น

Safari Chrome Firefox Opera