Trend Indicators

ตัวบ่งชี้แนวโน้ม

แนวทางในการซื้อขายมีอยู่สองแนวทางด้วยกัน คือ การซื้อขายตามทิศทางของการเคลื่อนไหวปัจจุบัน (การเทรดตามแนวโน้ม) และการซื้อขายสวนกับทิศทางนั้น (การเทรดสวนแนวโน้ม) ซึ่งมันจะสมบูรณ์แบบที่สุดหากเทรดเดอร์สามารถผสมผสานทั้งสองแนวทางนี้เข้าด้วยกันได้

ในการดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ เราต้องเรียนรู้การใช้ตัวบ่งชี้เฉพาะที่ช่วยระบุแนวโน้มเหล่านี้

การเทรดตามแนวโน้มคืออะไร?

การเทรดตามแนวโน้ม คือ การซื้อขายตามทิศทางของการเคลื่อนไหวของตลาดในปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น หากสินทรัพย์ขยับขึ้น การเคลื่อนไหวดังกล่าวเรียกว่าการเคลื่อนไหวแบบกระทิงหรือขาขึ้น เทรดเดอร์ที่ติดตามแนวโน้มจะพยายามเปิดการซื้อขายสินทรัพย์ในขาขึ้น (เข้าซื้อ) และทำกำไรเมื่อสินทรัพย์พุ่งขึ้น

เมื่อสินทรัพย์เคลื่อนลง แนวโน้มจะเรียกว่าการเคลื่อนไหวแบบหมีหรือขาลง และการซื้อขายตามแนวโน้มจะเกี่ยวข้องกับการเปิดการซื้อขายในขาลง (เข้าขาย) เมื่อสินทรัพย์ตกลงมามากพอ การซื้อขายเหล่านั้นจะถูกปิด

การเทรดตามแนวโน้มคือการที่เราว่ายไปในทิศทางเดียวกับกระแสน้ำ

การเทรดสวนแนวโน้มคืออะไร?

การเทรดสวนแนวโน้ม คือ การซื้อขายสวนกับทิศทางของการเคลื่อนไหวในปัจจุบัน ในกรณีนี้ เทรดเดอร์พยายามที่จะกำหนดช่วงเวลาของการกลับตัวของแนวโน้ม โดยปกติจะทำเช่นนี้เมื่อราคาเบี่ยงเบนไปจากค่าเฉลี่ยมากพอและกลับมาที่ราคาค่าเฉลี่ย

ตัวบ่งชี้แนวโน้มคืออะไร?

ตัวบ่งชี้แนวโน้ม คือ ตัวบ่งชี้ที่ช่วยให้คุณกำหนดแนวโน้มปัจจุบันและช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลง

ตัวบ่งชี้แนวโน้มสามารถใช้ได้เฉพาะเมื่อมีแนวโน้มเป็นขาขึ้นหรือขาลง ในช่วงที่ตลาดทรงตัวหรือดำเนินแบบไซด์เวย์ จะไม่สามารถใช้ตัวบ่งชี้แนวโน้มได้

ตัวอย่างของตัวบ่งชี้แนวโน้ม

นี่คือรายการของตัวบ่งชี้แนวโน้มยอดนิยมบางส่วน:

  • เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving averages)
  • Bollinger Bands
  • Parabolic SAR
  • เส้น MACD
  • Ichimoku Cloud

วิธีการใช้เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่

การสร้างเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average: MA) มักสร้างขึ้นจากราคาปิด

เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่อย่างง่าย (Simple Moving Average: SMA) จะคำนวณโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิตอย่างง่ายของราคาปิดหารด้วยจำนวนช่วงเวลาที่เลือก

เมื่อสร้างเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบถ่วงน้ำหนัก (Weighted Moving Average: WMA) จะให้ความสำคัญกับราคาล่าสุดมากกว่า ดังนั้น ราคาจะถูกกำหนดน้ำหนักบางอย่างในการคำนวณ ซึ่งการคำนวณนี้เกิดจากผลรวมของราคาคูณด้วยค่าถ่วงน้ำหนัก แล้วนำมาหารด้วยผลรวมของค่าถ่วงน้ำหนัก

เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบเอ็กซ์โปเนนเชียล (Exponential Moving Average: EMA) คำนวณตามสูตรที่ซับซ้อนมากขึ้นและทำให้เส้น "ราบเรียบ" มากขึ้นจากการลบราคาออกจากการคำนวณ ดังนั้น EMA จึง "ฉลาด" มากกว่าเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่อื่น ๆ

เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ที่ราบเรียบนั้นเกือบจะเหมือนกับ SMA ในความเป็นจริงเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่อย่างง่ายถูกทำให้ราบเรียบเพื่อลดสัญญาณเท็จให้น้อยลง

คำสั่งของเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่จะถูกเลือกตามดุลยพินิจของผู้เข้าร่วมตลาด คำสั่งค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ที่ใช้มากที่สุดคือ 10, 13, 21, 50, 89, 144 และ 200

สัญญาณที่ชัดเจนที่สุดนั้นมาจากการที่เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ตัดกับราคา

หากราคาตัดเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ลงมา มันเป็นสัญญาณให้เข้าขาย

หากราคาตัดเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ขึ้นไป มันเป็นสัญญาณให้เข้าซื้อ

รูปที่ 1 ตัวอย่างของสัญญาณซื้อและสัญญาณขาย

Image 1.png

คำสั่งค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ที่สูง (เช่น 200) ใช้เพื่อกำหนดแนวโน้มทั่วโลกและกลยุทธ์การซื้อขายโดยรวม เทรดเดอร์ควรเทรดตามแนวโน้มหากราคายังคงสอดคล้องกับเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ แต่ถ้าการเบี่ยงเบนนั้นแข็งแกร่งพอ ก็ควรเลือกใช้กลยุทธ์การเทรดสวนแนวโน้ม โดยคาดว่าราคาจะค่อย ๆ กลับเข้าสู่เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่อย่างช้า ๆ

เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่อาจใช้เป็นระดับแนวรับหรือระดับแนวต้านแบบไดนามิกได้ เมื่อราคาเข้าใกล้เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แล้วก็มีความเป็นไปได้ว่าราคาจะเด้งกลับ นั่นเป็นเหตุผลที่เราขอแนะนำให้ใส่ใจกับเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่และใช้มันขณะตัดสินใจว่าจะทำอย่างไรในตลาด

รูปที่ 2 กลยุทธ์ตามแนวโน้มและสวนแนวโน้ม

Image 2.png

ตัวบ่งชี้ Bollinger Bands

Bollinger Bands ถูกสร้างขึ้นจากเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่อย่างง่าย (SMA) โดยมีสามแถบด้วยกัน ประกอบด้วย แถบกลาง ซึ่งก็คือ SMA และแถบบนและแถบล่าง ซึ่งก็คือเส้นที่สร้างขึ้นจากระยะทางของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานจากแถบค่าเฉลี่ย (หรือแถบกลาง)

แถบที่ระบุสร้างทางเดินที่ราคาเคลื่อนไหว โดยแถบเหล่านี้จะวาดขึ้นเพื่อให้ 95% ของราคาตกอยู่ด้านในแถบ และ 5% ของราคาตกอยู่ด้านนอก มันช่วยให้เราสามารถทำนายช่วงเวลาของการกลับตัวของราคาได้ นั่นคือ การเคลื่อนไหวของราคานอกแถบที่มีความน่าจะเป็นสูง (95%) หมายถึงการเคลื่อนไหวของราคาในทิศทางตรงกันข้าม ซึ่งก็คือการที่ราคากลับตัวด้านในแถบ

Bollinger Bands เป็นตัวบ่งชี้ที่ดีสำหรับการสร้างกลยุทธ์เพื่อเทรดสวนแนวโน้ม

รูปที่ 3 ตัวบ่งชี้ Bollinger Bands

Image 3.png

ตัวบ่งชี้ Parabolic SAR

ตัวบ่งชี้ Parabolic SAR เป็นตัวบ่งชี้แนวโน้มที่เข้าใจง่ายพอสมควร ซึ่งแสดงเป็นจุดที่อยู่เหนือและใต้กราฟราคา เมื่อราคาสูงขึ้น จุดจะปรากฏขึ้นใต้กราฟ เมื่อราคาลดลง จุดจะแผ่ออกและปรากฏขึ้นเหนือกราฟ

ตัวบ่งชี้แนวโน้ม Forex นี้ถูกสร้างขึ้นในลักษณะที่เข้าใกล้ราคาอยู่เสมอจากแท่งเทียนใหม่แต่ละแท่งและการเคลื่อนไหวของราคา จนกว่ามันจะเปลี่ยนทิศทางในไม่ช้าก็เร็ว

เมื่อตัวบ่งชี้ปรากฏใต้ราคา ก็ถึงเวลาที่จะเข้าซื้อ เมื่อปรากฏเหนือราคา ก็ถึงเวลาที่จะเข้าขาย

รูปที่ 4 ตัวบ่งชี้ Parabolic SAR

Image 4.png

MACD

Gerald Appel นักวิเคราะห์ทางเทคนิคชาวอเมริกัน เป็นผู้พัฒนาตัวบ่งชี้ MACD (Moving Averages Convergence-Divergence) นี้ขึ้นมา 12,26,9 คือพารามิเตอร์ที่ Appel แนะนำให้ใช้กับตัวบ่งชี้การซื้อขายตามแนวโน้ม มาค้นหาคำตอบไปกับเรากันว่าพารามิเตอร์เหล่านี้หมายถึงอะไร

เส้น MACD คือ ความแตกต่างระหว่างเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบเอ็กซ์โปเนนเชียลสองคำสั่ง 12 และ 26 (กล่าวคือ EMA (12) - EMA (26)) เส้นนี้คือ "เร็ว" หมายถึง ผันผวนมากกว่า (ใน MT4 และ MT5 มันถูกแสดงด้วยฮิสโตแกรม)

เส้นที่สองเรียกว่า เส้นสัญญาณ เส้นนี้คือ ช้า หมายถึง เปลี่ยนแปลงน้อยกว่า มันจะเกิดขึ้นหลังจากหาค่าเฉลี่ยความแตกต่างที่ได้รับด้วยค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบเอ็กซ์โปเนนเชียลอื่นของคำสั่ง 9 (กล่าวคือ EMA (9)[EMA (12) - EMA (26)])

เมื่อทั้งสองเส้นนี้ตัดกันก็จะส่งสัญญาณซื้อหรือขาย

เมื่อเส้น MACD ตัดเส้นสัญญาณขึ้นไป นี่เป็นสัญญาณสำหรับการเข้าซื้อ

เมื่อเส้น MACD ตัดข้ามเส้นสัญญาณลงไป นี่เป็นสัญญาณสำหรับการเข้าขาย

รูปที่ 5 MACD

Image 5.png

Ichimoku Cloud

Ichimoku Cloud เป็นตัวบ่งชี้แนวโน้มตลาดที่พัฒนาโดย Goichi Hosoda ตัวบ่งชี้ประกอบด้วยเส้นห้าเส้นบนกราฟแท่งเทียน ประกอบด้วย Tenkan Sen, Kijun Sen, Senkou Span A, Senkou Span B และ Chikou Span

เนื่องจากนี่เป็นตัวบ่งชี้ที่ซับซ้อนเราจะเรียนรู้เฉพาะเส้น Tenkan Sen และ Kijun Sen เท่านั้น คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Ichimoku Cloud ได้ในบทความของเรา “วิธีการใช้ Ichimoku Cloud”

ในการเปิดการเทรดให้รอสัญญาณต่อไปนี้: การตัดกันของเส้น Tenkan Sen และ Kijun Sen (TK Cross) หากเส้น Tenkan Sen ตัดเส้น Kijun Sen จากล่างขึ้นบน นี่เป็นสัญญาณที่จะเข้าซื้อหรือที่เรียกว่า “Golden Cross”

หากเส้น Tenkan Sen ตัดเส้น Kijun Sen จากบนลงล่าง นี่เป็นสัญญาณที่จะเข้าขายหรือที่เรียกว่า “Death Cross”

รูปที่ 6 Ichimoku Cloud

Image 6.png

ตัวบ่งชี้ใดดีที่สุด?

มันไม่มีตัวบ่งชี้ที่ดีที่สุดหรือแย่ที่สุดหรอกนะ ตัวบ่งชี้แต่ละตัวนั้นมีลักษณะเฉพาะตัวและถูกนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์หรือกับสินทรัพย์ที่เฉพาะเจาะจง

เราขอแนะนำให้ให้ความสนใจเป็นพิเศษกับค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ เนื่องจากเป็นตัวบ่งชี้ที่มีชื่อเสียงที่สุด ดังนั้นจึงมีความสำคัญอย่างมากสำหรับการวิเคราะห์ทางเทคนิค

สรุป

ไม่ว่าคุณจะใช้ตัวบ่งชี้ใดก็ตามคุณต้องจำไว้ว่าปกติแล้วตัวบ่งชี้เหล่านี้มีความล่าช้าของราคา การเคลื่อนไหวของราคาถือเป็นเรื่องหลักและการเคลื่อนไหวของตัวบ่งชี้ถือเป็นเรื่องรอง ดังนั้นไม่ว่าสัญญาณใดจะเกิดขึ้นก็ตาม คุณควรระมัดระวังอย่างยิ่งขณะทำการซื้อขาย

ใช้ตัวบ่งชี้ที่ได้รับความนิยมและเพิ่มประสิทธิภาพการซื้อขายของคุณด้วยแพลตฟอร์มการซื้อขาย

ย้อนกลับ

อัปเดทแล้ว • 2023-05-11

คำถามที่พบบ่อย

  • จะเริ่มเทรดอย่างไร?

    หากคุณอายุ 18 ปีขึ้นไปคุณสามารถเข้าร่วม FBS ได้และเริ่มต้นการเดินทาง FX ของคุณ ในการซื้อขายคุณจะต้องมีบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์และมีความรู้ที่เพียงพอเกี่ยวกับวิธีการทำงานของสินทรัพย์ในตลาดการเงิน เริ่มด้วยการศึกษาขั้นพื้นฐานด้วย สื่อการเรียนรู้ฟรี และ สร้างบัญชี FBS คุณอาจต้องการทดสอบสภาพแวดล้อมด้วยเงินเสมือนจริงผ่านบัญชีทดลอง เมื่อคุณพร้อมเข้าสู่ตลาดจริงแล้ว ก็เริ่มทำการซื้อขายเพื่อที่จะได้ประสบความสำเร็จ  

  • จะเปิดบัญชี FBS ได้อย่างไร?

    คลิกปุ่ม ‘เปิดบัญชี’ บนเว็บไซต์ของเราแล้วไปที่ Personal area ก่อนที่คุณจะเริ่มทำการซื้อขายได้ คุณจะต้องผ่านการตรวจสอบโปรไฟล์, ยืนยันอีเมลและหมายเลขโทรศัพท์ของคุณ, และผ่านการยืนยัน ID ของคุณ ขั้นตอนนี้มีไว้เพื่อรับประกันความปลอดภัยของเงินทุนและตัวตนของคุณ เมื่อคุณตรวจสอบทั้งหมดเสร็จแล้วให้ไปที่แพลตฟอร์มการซื้อขายที่ต้องการแล้วเริ่มทำการซื้อขาย 

  • จะถอนเงินที่ทำได้กับ FBS ได้อย่างไร?

    ขั้นตอนนั้นตรงไปตรงมามาก ไปที่หน้า การถอนเงิน บนเว็บไซต์หรือส่วนการเงินของ FBS Personal area แล้วถอนเงิน คุณจะรับเงินที่ถอนผ่านระบบการชำระเงินเดียวกับที่คุณใช้ในการฝากเงิน ในกรณีที่คุณฝากเงินเข้าบัญชีด้วยวิธีการอื่น คุณต้องถอนกำไรของคุณผ่านวิธีเดียวกันในยอดเดียวกันกับจำนวนเงินที่ฝาก

ฝากเงินกับระบบการชำระเงินในประเทศของคุณ

ประกาศการเก็บรวบรวมข้อมูล

FBS เก็บรักษาข้อมูลของคุณไว้เพื่อใช้งานเว็บไซต์นี้ เมื่อกดปุ่ม "ยอมรับ" ถือว่าคุณยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเรา

โทรกลับ

ผู้จัดการของเราจะโทรหาคุณในเร็ว ๆ นี้

เปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์

เราได้รับคำร้องของคุณแล้ว

ผู้จัดการของเราจะโทรหาคุณในเร็ว ๆ นี้

คำขอโทรกลับครั้งต่อไปสำหรับหมายเลขโทรศัพท์นี้
จะพร้อมใช้งานใน

หากคุณมีปัญหาเร่งด่วนโปรดติดต่อเราผ่านทาง
สนทนาออนไลน์

เกิดข้อผิดพลาดภายใน กรุณาลองใหม่อีกครั้งในภายหลัง

อย่ามัวเสียเวลา - ติดตามดูว่า NFP ส่งผลกระทบอย่างไร ต่อ USD แล้วทำกำไรเลยสิ!

คุณกำลังใช้เบราว์เซอร์เวอร์ชันเก่ากว่านี้

อัปเดตเป็นเวอร์ชันล่าสุดหรือลองใช้เพื่อการเทรดที่สะดวกสบายและมีประสิทธิผลยิ่งขึ้น

Safari Chrome Firefox Opera