อิทธิพลของสกุลเงินดอลลาร์ในฐานะสกุลเงินสำรองของโลกกำลังค่อย ๆ ลดลง เป็นไปได้ไหมที่สกุลเงินยูโรจะเข้ามาแทนที่? เราก็ยังไม่แน่ใจเกี่ยวกับเรื่องนี้มากนัก
การล้มของธนาคารในสหรัฐฯ : FBS อธิบาย
อัปเดทแล้ว • 2023-03-15
เมื่อวันศุกร์ที่ 10 มีนาคม ธนาคารขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 16 ของสหรัฐฯ ล้มอย่างกะทันหัน การล้มละลายในครั้งนี้ถือเป็นการล้มละลายที่ใหญ่เป็นอันดับสองในประวัติศาสตร์ของธนาคารพาณิชย์ของอเมริกัน ในบทความนี้ เราจะมาดูสิ่งที่เกิดขึ้นและผลกระทบที่อาจเกิดกับเราทุกคนกัน
ประวัติของธนาคาร
สี่สิบปีที่แล้ว (ในปี 1983) ได้มีการก่อตั้งธนาคารแห่งหนึ่งในรัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งได้รับการออกแบบมาเพื่อให้บริการคนหยิ่งยโสอวดดีโดยเฉพาะ ซึ่งเป็นผู้ที่สร้างธุรกิจใหม่อนาคตไกลและระดมเงินจำนวนมากจากผู้ร่วมลงทุน
ธุรกิจนี้เกิดขึ้นใน Silicon Valley และธนาคารนี้มีชื่อว่าซิลิคอน แวลลีย์ แบงก์ (Silicon Valley Bank) (SVB) รูปแบบธุรกิจนี้ประสบความสำเร็จอย่างสูงในช่วงไม่กี่ทศวรรษถัดมา เนื่องจากบริษัทสตาร์ตอัปต่างทำเงินได้เป็นกอบเป็นกำและนำเงินจำนวนนี้ไปฝากธนาคาร
ในปี 2020-2021 อุตสาหกรรมเทคโนโลยีในสหรัฐอเมริกาได้เติบโตอีกครั้ง ภายใต้สโลแกนของการต่อสู้กับโควิด ธนาคารกลางสหรัฐฯ ทุ่มเงินจำนวนมหาศาลเข้าสู่ระบบการเงินอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เงินจำนวนมากเหล่านั้นได้ทำให้บริษัทเทคโนโลยีเติบโตอย่างรวดเร็ว ดัชนี Nasdaq-100 เพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าในช่วงสองปีที่ผ่านมา และบริษัทสตาร์ตอัปต่างเร่งดำเนินการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) และระดมเงินจากเหล่านักลงทุน VC (Venture Capital) โดยตรงในสเกลขนาดใหญ่
ส่งผลให้ธุรกิจของ SVB ซึ่งให้บริการบริษัทสตาร์ตอัปด้านเทคโนโลยีเหล่านี้เติบโตตามไปด้วย ลูกค้าฝากเงินเพิ่มขึ้นกว่าสามเท่าในช่วงเวลานั้น (เช่นเดียวกับราคาหุ้นของธนาคาร) แตะระดับประมาณ 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐภายในช่วงต้นปี 2022 ทำให้ Silicon Valley Bank เป็นธนาคารที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 16 ในสหรัฐอเมริกา (และเป็นอันดับสองในรัฐแคลิฟอร์เนีย)
แน่นอนว่าธนาคารใด ๆ ก็มีความสุขกันทั้งนั้นเมื่อผู้คนนำเงินจำนวนมากมาฝาก แต่เงินจำนวนมากก็มาพร้อมกับความรับผิดชอบที่ยิ่งใหญ่ด้วยเช่นกัน คือคุณต้องตัดสินใจว่าจะลงทุนเงินเหล่านี้ที่ไหน เพื่อที่จะได้รับผลกำไรที่ดีต่อกระเป๋าของเจ้าของธนาคารแห่งนี้
จะทำอย่างไรกับเงินเหล่านั้น?
รูปแบบธุรกิจสุดคลาสสิกของทุก ๆ ธนาคารไม่ว่าจะธนาคารไหนก็ตาม คือการเก็บรวบรวมเงินฝากให้ได้เยอะ ๆ โดยให้อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ และนำเงินจำนวนนี้ไปปล่อยกู้ให้กับบริษัทที่เชื่อถือได้ในอัตราดอกเบี้ยที่สูง ในกรณีของ Silicon Valley Bank นี่คือปัญหา บริษัทสตาร์ตอัปส่วนใหญ่จาก Silicon Valley ดูไม่เหมือนเป็น "ธุรกิจที่ปลอดภัย" ที่มีกระแสเงินสดที่มั่นคง นอกจากนี้บริษัทสตาร์ตอัปเหล่านี้ยังมีเงินมากพอ ในปี 2020-2021 นักลงทุนต่างเข้าแถวต่อคิวเพื่อเติมเงินสดให้กับบริษัทต่าง ๆ เหล่านี้
ดังนั้น SVB จึงตัดสินใจว่ามันน่าจะสมเหตุสมผลที่จะทำการลงทุนในตลาดหุ้น แน่นอนว่าพวกเขาไม่ได้เข้าซื้อหุ้นของ Tesla ด้วยเลเวอเรจ เพราะมันคงจะมากเกินไป อย่างไรก็ตาม พวกเขาตัดสินใจซื้อพันธบัตรที่น่าเชื่อถือจากรัฐบาลสหรัฐฯ (พันธบัตรรัฐบาลของสหรัฐฯ) หรือตราสารหนี้ที่มีการจดจำนองโดยมีหลักประกันที่เหมาะสมในรูปของอสังหาริมทรัพย์
และตอนนี้ เรามาดูกันดีกว่าว่าพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ที่เชื่อถือได้ในช่วงเวลานั้นให้ผลตอบแทนเท่าไร
อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ เป็นเปอร์เซ็นต์ (แกนแนวตั้ง) ขึ้นอยู่กับอายุของพันธบัตร (แกนแนวนอน) ในปี 2020-2021
จากนั้นธนาคารกลางสหรัฐฯ ก็ลดอัตราดอกเบี้ยจนเกือบเป็นศูนย์ (เพื่อช่วยเศรษฐกิจจากภัยวิกฤตโควิด) ดังนั้นการวางเงินไว้ในพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ที่เชื่อถือได้ในช่วงหนึ่งปีหรือสองปีอาจทำให้กำไรเป็นศูนย์
ดังนั้น นายธนาคารจาก Silicon Valley Bank จึงคิดว่าคุณจะไม่ได้รับผลตอบแทนมากนักจากการลงทุนที่ 0% วิธีแก้ปัญหานั้นก็ง่ายแสนง่าย นายธนาคารลงทุนเงินทุนส่วนใหญ่ไว้ในพันธบัตรระยะยาวที่มีอายุ 5-10 ปี ซึ่งในขณะนั้นให้ผลตอบแทนสูงกว่า 1.5% ต่อปีเล็กน้อย
อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นฆ่าพันธบัตรได้อย่างไร
นักการเงินทุกคนรู้ดีว่าเมื่อคุณซื้อพันธบัตรระยะยาว คุณจะต้องแบกรับความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้น
ทำไมสิ่งนี้จึงเกิดขึ้น? สมมติว่าบริษัทออกพันธบัตรมูลค่า $100 พร้อมให้ดอกเบี้ย 1% ต่อปี (ณ ระดับตลาดในขณะนั้น) ซึ่งมีอายุ 50 ปี และคุณซื้อมัน หนึ่งปีต่อมา ระดับของอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น และตอนนี้ บริษัทเหล่านี้ให้กู้ที่ 2% ต่อปี
คุณสามารถขายพันธบัตรของคุณให้ใครสักคนในราคา $100 ได้ไหมล่ะ? แน่นอนว่าไม่ แต่ถ้าในราคา $50 ละก็ คุณจะขายพันธบัตรดังกล่าวได้แบบไม่มีปัญหาเลยละ ท้ายที่สุด ดอกเบี้ยมูลค่า $1 ต่อปีจะให้ผลตอบแทน 2% จาก "มูลค่าตลาดปัจจุบัน" ของพันธบัตรที่ $50
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในปี 2022 เมื่อธนาคารกลางสหรัฐฯ ปรับอัตราดอกเบี้ยจากประมาณ 0% ขึ้นไปเกือบถึง 5%
ส่งผลให้พอร์ตตราสารหนี้ของ Silicon Valley Bank แสดง Drawdown จาก 9% เป็น 17% ซึ่งเกินขนาดเงินทุนของธนาคารแล้ว (ส่วนต่างระหว่างสินทรัพย์และหนี้สินที่มีอยู่)
นักลงทุนทำให้เกิดการล้มละลาย
มันน่าสนใจดีที่การสูญเสียนี้ยังไม่ถึงขนาดที่ทำให้ธนาคารล้มได้ มาตรฐานการบัญชีอนุญาตให้รับรู้ผลขาดทุนได้ในภายหลัง และมันมีเหตุผลสนับสนุนด้วยซ้ำ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น ไม่ได้ทำให้มูลค่าของพันธบัตรลดลงตลอดไป แต่เป็นเพียงแค่ชั่วคราวเท่านั้น หากคุณถือไว้จนครบกำหนด พวกมันก็จะฟื้นตัวเมื่อเวลาผ่านไป และทุกอย่างก็จะเรียบร้อยดีไม่มีปัญหา
แต่เหตุผลนี้จะใช้ได้ก็ต่อเมื่อธนาคารมี "ความสามารถในการรอ" และคุณต้องจำไว้ให้ดีว่าเงินฝากส่วนใหญ่ใน Silicon Valley Bank อาจถูกลูกค้าถอนออกไปเมื่อไรก็ได้
การไหลออกอย่างเป็นระบบของเงินฝากดังกล่าวจากธนาคารเริ่มขึ้นในช่วงกลางปี 2022 อุตสาหกรรมเทคโนโลยีเริ่มถดถอย และการดึงดูดเงินจากนักลงทุนรายใหม่ ๆ ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายอีกต่อไป
แต่สำหรับ SVB แล้ว สิ่งนี้ให้ความรู้สึกเหมือนเป็นการเปิดใช้งานระเบิดเวลาอย่างช้า ๆ ยิ่งเงินฝากไหลออกเร็วเท่าไร ก็ยิ่งชัดเจนมากขึ้นว่ามันคงเป็นไปไม่ได้ที่จะ "รอให้พันธบัตรเหล่านี้ครบกำหนด" ไม่ช้าก็เร็วพวกเขาจะต้องขายขาดทุนเพื่อหาเงินมาคืนลูกค้า
นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้น ในปี 2023 ธนาคารต้องเริ่มขายพันธบัตรระยะยาวเหล่านี้แบบขาดทุน และจากนั้นทุกคนก็เห็นได้ชัดเจนว่า ไม่มีเงินเพียงพอสำหรับทุกคน บริษัทสตาร์ตอัปจาก Silicon Valley เริ่มโทรหากันและแนะนำให้ถอนเงินทั้งหมดออกจาก Silicon Valley Bank โดยด่วน
การที่ SVB ให้บริการลูกค้าในภาคส่วนเดียวแบบกระจุกตัวถือเป็นเรื่องตลกร้ายสำหรับธนาคาร ซึ่งหากพวกเขามีลูกค้ารายย่อยจำนวนมาก พวกเขาอาจผ่านพ้นช่วงเวลานี้ไปได้ แต่เนื่องจากบริษัทสตาร์ตอัปด้าน IT ในหุบเขาได้สื่อสารกันอย่างสนิทสนม ผู้คนจึงได้พากันแห่ไปถอนเงินออกมาจากธนาคารก่อนกำหนดพร้อม ๆ กัน (เพราะคนสุดท้ายในแถวอาจไม่ได้อะไรกลับไปเลย)
ผลที่ตามมาคือ เมื่อวันที่ 10 มีนาคม หน่วยงานกำกับดูแลด้านการธนาคารในสหรัฐอเมริกาได้สั่งปิด SVB เนื่องจากธนาคารล้มละลาย
แล้วจะเป็นยังไงต่อไป?
การล้มละลายของ SVB ได้ทำลายความเชื่อมั่นของนักลงทุนในภาคการธนาคารของสหรัฐฯ ลูกค้าเริ่มถอนเงินจากธนาคารอื่น เนื่องจากกลัวว่าจะเกิดซ้ำรอย และในวันจันทร์ ธนาคารบางแห่งขาดทุนกันตั้งแต่ 20% ถึง 80% ของราคาหุ้น
พฤติกรรมดังกล่าวของนักลงทุนสามารถกระตุ้นให้เกิดการล้มละลายมากกว่าหนึ่งราย ดังเช่น ธนาคารคู่แข่งต่อไปนี้ ได้แก่ American First Republic Bank, Pacific Westerns และ Western Alliance
ในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ชี้แจงว่าสถานการณ์นี้สามารถจัดการได้ และสัญญาว่าจะให้สินเชื่อ "ดอกเบี้ยต่ำ" แก่ภาคการธนาคาร ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐร่วงลง เนื่องจากเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำนั้นเกี่ยวข้องกับการ "พิมพ์เงิน" ออกมาอีก นอกจากนี้ ตลาดกำลังกำหนดราคาให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ เพื่อคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิมในวันที่ 22 มีนาคม ซึ่งอาจส่งผลให้ดอลลาร์สหรัฐร่วงลงหนักยิ่งกว่าเดิม
นักลงทุนจำนวนมากหันไปหา Bitcoin กัน ซึ่งทำให้มันพุ่งขึ้น 14% ในวันจันทร์เนื่องจากดัชนีหุ้นสหรัฐฯ ร่วงลง แนวโน้มนี้อาจดำเนินต่อไปหากเรื่องราวการธนาคารนี้ยังดำเนินต่อไปและ Fed ยังคงกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลที่มาจากภาษีประชาชน
สรุป
ในช่วงเวลาวิกฤตมักเป็นช่วงเวลาแห่งโอกาสเสมอ ความเป็นไปไม่ได้ที่จะทำการกำหนดมูลค่าที่ยุติธรรมของบริษัทสามารถชดเชยได้ด้วยความเป็นไปได้ของการดำเนินการเก็งกำไรในตลาด
โชคดีที่การซื้อขายกับ FBS ช่วยให้คุณได้กำไรจากตลาดที่พุ่งขึ้นและร่วงลง FBS มอบข้อได้เปรียบที่สำคัญให้กับเทรดเดอร์ ด้วยตราสารที่หลากหลาย ค่าคอมมิชชันต่ำ และการสนับสนุนด้านการวิเคราะห์
คล้ายกัน
ตลาดหุ้นมักจะถูกมองว่าเป็นตัวบ่งชี้ความแข็งแกร่งหรืออ่อนแอของเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้น เทรดเดอร์หลายคนจึงมองดัชนีว่าเป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญของสิ่งที่คาดหวังจากเศรษฐกิจขนาดใหญ่ทั่วโลก
ในขณะที่เรารอการประกาศตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรในวันที่ 3 มีนาคม ดูเหมือนว่าในฝั่งทางด้านเทคนิคจะไม่เอื้ออำนวยต่อสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐมากนัก มาดูกันว่าสกุลเงินดอลลาร์นั้นเป็นอย่างไรในฝั่งทางด้านเทคนิค
ข่าวล่าสุด
ก่อนหน้านี้ เรามีการประเมินว่าให้รอเข้าเทรด SELL XAUUSD ที่ระดับ 2,180 ดอลลาร์ โดยสามารถตั้งจุด TP ได้ที่บริเวณ 2,130 ดอลลาร์ และตั้งจุด SL
ก่อนหน้านี้ เรามีการประเมินว่า ให้รอเข้าเทรด BUY NASDAQ (US500) ที่ระดับ 17,200 จุด โดยสามารถตั้งจุด TP ได้ที่บริเวณ 19,300 จุด และตั้งจุด SL
ก่อนหน้านี้ เรามีการประเมินว่า ให้รอเข้าเทรด BUY S&P 500 (US500) ที่ระดับ 4,850 จุด โดยสามารถตั้งจุด TP ได้ที่บริเวณ 5,200 จุด