ขอบเขต

อ่านบทความบนเว็บไซต์ของ FBS

การซื้อขายแบบขอบเขต จะใช้เมื่อตลาดไม่มีทิศทางที่ชัดเจน ทั้งตลาดกระทิงและตลาดหมีไม่สามารถเริ่มเทรนด์ได้ และราคามีการเคลื่อนไหวแบบ sideways ทว่าการที่ไม่มีแนวโน้มขาขึ้นหรือขาลงที่ชัดเจนนั้นก็ไม่ได้เป็นเหตุที่จะต้องหยุดทำการซื้อขาย มีความเป็นไปได้ค่อนข้างมากที่จะทำกำไรได้ในขณะที่ตลาดอยู่ในขอบเขต

เทรดเดอร์ที่ทำการซื้อขายแบบขอบเขตมั่นใจในความจริงที่ว่าราคาจะสลับตำแหน่งไปมาในระดับแนวนอนเดียวกันเป็นระยะเวลาหนึ่ง พวกเขาคาดว่าราคาจะกระเด้งกลับไปกลับมาจากทั้งแนวต้านและแนวรับหลายครั้ง เป้าหมายของเทรดเดอ์คือการทำกำไรจากความผันผวนของราคาที่อยู่ใยนขอบเขตโดยการ Sell ที่แนวต้านและ Buy ที่แนวรับ

สังเกตว่าคู่สกุลเงินหลัก (EUR/USD, GBP/USD, USD/JPY, AUD/USD, NZD/USD, และ USD/CAD) มีแนวโน้มที่จะมีแนวโน้มมากขึ้น พวกเขามีช่วงเวลาของการรวม ซึ่งไม่เหมาะสำหรับการซื้อขายแบบขอบเขต คู่เงินรอง (EUR/GBP, CHF/JPY, AUD/CAD และ GBP/JPY) จะมีลักษณธเป็นขอบเขตนานกว่า

การซื้อขายแบบขอบเขตทำอย่างไร?

ขั้นตอนแรกสำหรับเทรดเดอร์ที่จะทำการซื้อขายแบบขอบเขตคือการกำหนดขอบเขตของ หรือพูดอีกอย่างว่า หาแนวรับและแนวต้าน วิธีที่ง่ายที่สุดในการทำเช่นนั้นคือการตรวจสอบราคาสูงสุดและราคาต่ำสุดก่อนหน้าของกราฟ หากราคาสูงสุดหลายๆจุดเรียงตัวกันตามเส้นแนวนอนและราคาต่ำสุดหลายๆจุดก็เรียงตัวแบบเดียวกัน คุณอาจพบพื้นที่ของแนวต้านและแนวรับในบริเวณดังกล่าวแล้ว แน่นอนว่าในความเป็นจริงราคาสูงสุดและต่ำสุดก็ไม่ได้เรียงตัวเป็นเส้นเดียวกันเป๊ะขนาดนั้น เช่นกันสำหรับเทรนด์ขาขึ้น ตลาดก็ไม่ได้ให้การเรียงตัวสวยๆของระดับราคาสูงสุดที่สูงขึ้นและระดับราคาต่ำสุดที่สูงขึ้น (เทรนดฺ์ขาลงที่มีการเรียงตัวสวยๆของระดับราคาสุงสุดที่ต่ำลงและระดับราคาต่ำสุดที่ต่ำลง) Bollinger bands ยังสามารถช่วยในการระบุเส้นขอบเขตเนื่องจากมันแสดงถึงการแนวรับและแนวต้านแบบไดนามิกที่จำกัดการเคลื่อนที่ของราคา

ขั้นตอนที่สองคือการระบุโซนการซื้อที่มากเกินไปและการขายที่มากเกินไป แนวคิดคือ Sell เมื่อคู่สกุลเงินถูกซื้อมากเกินไป (ที่แนวต้าน) และ Buy เมื่อมันถูกขายมากเกินไแป (ที่แนวรับ) ในการระบุสภาวะการซื้อ/ขายมากเกินไป เทรดเดอร์จะใช้อินดิเคเตอร์ทางเทคนิคประเภทหนึ่งที่เรียกว่า “ oscillators” อินดิเคเตอร์ดังกล่าวจะหมุนเวียนอยู่แถวๆระดับกลาง

เมื่อ oscillator เพิ่มขึ้นจากเส้นกลางและมาถึงบริเวณที่สูงที่สุดที่อยู่ด้านบน นั่นหมายความว่าคู่เงินถูกซื้อมากเกินไป ในขณะเดียวกันหากราคาอยู่ใกล้แนวต้าน ให้ดำเนินการ Sellเมื่อ oscillator ลดลงจากเส้นกลางและมาถึงบริเวณที่ต่ำที่สุดที่อยู่ด้านล่าง นั่นหมายความว่าคู่เงินถูกขายมากเกินไป ในขณะเดียวกันหากราคาอยู่ใกล้แนวรับ ให้ดำเนินการ Buyoscillatorยอดนิยมคือ RSI, CCI และ Stochastics ซึ่งดูเหมือนว่า Stochastics นั้นจะมีความอ่อนไหวต่อราคามากที่สุด

สรุปว่าให้ดูว่าราคาเคลื่อนที่ไปยังหนึ่งในขอบเขตข้างใดข้างหนึ่ง และสัญญาณจาก oscillator เป็นตัวบอกให้เราเริ่มทำการซื้อขาย การซื้อขายจะมีโอกาสสำเร็จจสูงขึ้นหากมีรูปแบบแท่งเทียนกลับตัวอยู่ใกล้ๆแนวต้าน/แนวรับ

การจัดการความเสี่ยง

จำเป็นต้องมีการจำกัดความเสี่ยงในการซื้อขายเสมอ ความเสี่ยงหลักๆของการซื้อขายแบบขอบเขตคือการพุ่งทะลุขอบเขต กลยุทธ์การซื้อขายแบบขอบเขตที่ประสบความสำเร็จนั้นเน้นไปที่การทำกำไรเล็กๆ แต่สม่ำเสมอ และลดการขาดทุนให้น้อยที่สุด

การซื้อขายแบบขอบเขตจะดีก็ต่อเมื่อตลาดไม่ผันผวนมาก ดังนั้นจึงไม่แนะนำให้ทำการื้อขายในช่วงที่มีความผันผวนสูง เหตุการณ์และข่าวต่างๆสามารถทำให้ราคาพุ่งไปไกลในทิศทางเดียว ดังนั้นหากคุณวางแผนที่จะทำการซื้อขายแบบขอบเขต กรุณาตรวจสอบปฏิทินเศรษฐกิจเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีประกาศสำคัญๆของสกุลเงินที่คุณเลือกอยู่ในตาราง

กฎสำหรับการตั้งจุด Take profit และ Stop loss ในการซื้อขายแบบขอบเขตนั้นง่ายมาก TP ถูกวางไว้ที่ฝั่งตรงข้ามของขอบเขต ในขณะที่ SL ถูกวางไว้ที่ประมาณครึ่งนึงของความกว้างของขอบเขต ทำให้มีพื้นที่เหลือเฟือในการลาก ในขณะเดียวกันก็รักษาอัตราของความเสี่ยงและผลกำไรไว้ที่ 2: 1 ไม่แนะนำให้เพิ่มหรือลด position ประการแรกการเพิ่มการซื้อขายมีแต่จะเพิ่มความเสี่ยงของคุณโดยไม่จำเป็น ประการที่สองไม่มีจุดที่แน่นอนในการพยายามปิดการค้าบางส่วนเนื่องจาก TP ก็ไม่ได้อยู่ไกลมาก

ข้อสรุป

การเทรดแบบขอบเขต มีตรรกะง่ายๆ และเทรดเดอร์มือใหม่ก็สามารถเชี่ยวชาญได้ ในขณะเดียวกันต้องไม่ลืมว่าในขณะที่ราคาอยู่ในขอบเขตนั่นหมายความว่าตลาดอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน ขอบของขอบเขตอาจเปลี่ยนแปลงได้และอาจเกิดการทะลุหลอก ดังนั้นในการซื้อขายประเภทนี้จึงจำเป็นต้องมีวินัยในการจัดการความเสี่ยง

เริ่มการเทรด

อัปเดทแล้ว • 2022-02-02

บทความอื่นๆ ในส่วนนี้

FBS เก็บรักษาข้อมูลของคุณไว้เพื่อใช้งานเว็บไซต์นี้ เมื่อกดปุ่ม "ยอมรับ" ถือว่าคุณยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเรา