-
จะเริ่มเทรดอย่างไร?
หากคุณอายุ 18 ปีขึ้นไปคุณสามารถเข้าร่วม FBS ได้และเริ่มต้นการเดินทาง FX ของคุณ ในการซื้อขายคุณจะต้องมีบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์และมีความรู้ที่เพียงพอเกี่ยวกับวิธีการทำงานของสินทรัพย์ในตลาดการเงิน เริ่มด้วยการศึกษาขั้นพื้นฐานด้วย สื่อการเรียนรู้ฟรี และ สร้างบัญชี FBS คุณอาจต้องการทดสอบสภาพแวดล้อมด้วยเงินเสมือนจริงผ่านบัญชีทดลอง เมื่อคุณพร้อมเข้าสู่ตลาดจริงแล้ว ก็เริ่มทำการซื้อขายเพื่อที่จะได้ประสบความสำเร็จ
-
จะเปิดบัญชี FBS ได้อย่างไร?
คลิกที่ปุ่ม 'เปิดบัญชี' บนเว็บไซต์ของเราแล้วไปที่ Trader Area ก่อนที่คุณจะเริ่มซื้อขายได้ โปรไฟล์ของคุณจะต้องได้รับการยืนยันเสียก่อน ยืนยันอีเมลและเบอร์โทรศัพท์ของคุณ จากนั้นให้ทำการยืนยันตัวตนของคุณ ขั้นตอนนี้จะช่วยรับประกันความปลอดภัยของเงินและตัวตนของคุณ เมื่อคุณผ่านการตรวจสอบทั้งหมดแล้ว ให้ไปที่แพลตฟอร์มการซื้อขายที่ต้องการ แล้วเริ่มซื้อขายได้เลย
-
จะถอนเงินที่ทำได้กับ FBS ได้อย่างไร?
กระบวนการนี้ไม่มีอะไรซับซ้อนเลย ไปที่หน้า การถอนเงิน บนเว็บไซต์หรือส่วนการเงินของ FBS Trader Area และเข้าไปที่การถอนเงิน คุณจะได้รับเงินที่ทำได้รับผ่านระบบการชำระเงินเดียวกับที่คุณใช้ในการฝากเงิน ในกรณีที่คุณฝากเงินเข้าบัญชีผ่านหลายวิธี ให้ถอนกำไรของคุณผ่านวิธีเดียวกันในอัตราส่วนตามยอดเงินที่ฝากเข้ามา
Williams’ Percent Range (%R)
Williams’ Percent Range หรือทีเขียนสั้นๆว่า %R เป็นตัวบ่งชี้ทางเทคนิคที่ถูกพัฒนาโดย Larry Williams ในปี 1973 เป็นออสซิเลเตอร์ที่เรียบง่ายแต่มีประสิทธิภาพที่แสดงความเร็วกับการเคลื่อนไหวของราคา
วิธีการใช้งาน
%R รวมอยู่ในชุดเริ่มต้นของตัวบ่งชี้ MetaTrader ดังนั้นคุณไม่จำเป็นต้องดาวน์โหลด ไปที่ "Insert" - "Indicators" - "Oscillators" - และคุณจะเห็น Williams’ Percent Range
โดยค่าเริ่มต้น ค่า period ของตัวบ่งชี้คือ 14 คุณสามารถเปลี่ยนค่านี้ได้หากจำเป็น
วิธีการตีความ
Williams %R เป็น momentum oscillator มันคล้ายกับ Stochastic Oscillator มาก แต่ต่างกันที่ Stochastic เปรียบเทียบราคาเปิดและปิดของช่วงเวลาที่แตกต่างกัน ในขณะที่ %R ใช้เฉพาะราคาปิดและเปรียบเทียบกับช่วงสูง-ต่ำในช่วงเวลาที่ระบุ
ต่างจาก Stochastics oscillator ที่ Williams %R ไม่ได้ให้คะแนนจากล่างขึ้นบน แต่ให้คะแนนจากบนลงล่าง ซึ่งหมายความว่าค่าตัวบ่งชี้ที่ต่ำกว่าจะพบที่ส่วนบนของหน้าต่างตัวบ่งชี้ และตัวเลขจะเพิ่มขึ้นตามลำดับจากมากไปน้อยเมื่อเส้นตัวบ่งชี้เลื่อนจากบนลงล่าง ดังนั้นระดับ 0 จึงอยู่ที่ด้านบน และค่า -100 อยู่ด้านล่าง
%R จะแสดงให้เห็นว่าเมื่อไหร่ที่ตลาดมีการซื้อมากเกินไปหรือขายมากเกินไป หาก %R อยู่ระหว่าง -100 ถึง -80 ตลาดจะมีการขายมากเกินไปและควรเริ่มคิดที่จะเข้าซื้อ หาก %R อยู่ระหว่าง 0 ถึง -20 ตลาดจะมีการซื้อมากเกินไปและควรเริ่มคิดที่จะเข้าขาย
โปรดทราบว่าการซื้อมากเกินไปหรือขายมากเกินไป ไม่ได้หมายความว่าราคาจะกลับตัว การซื้อมากเกินไปหมายถึงราคาใกล้ระดับสูงสุดของช่วงที่ผ่านมา ส้วนการขายมากเกินไปหมายความว่าราคาอยู่ในระดับต่ำสุดของช่วงล่าสุด ดังนั้นจึงไม่แนะนำให้ใช้สัญญาณประเภทนี้เป็นแค่แนวทางเดียวเพื่อเข้าตลาด จำไว้ว่าตัวบ่งชี้นี้ต้องการการยืนยันจากการเคลื่อนไหวของราคาหรือเครื่องมืออื่นๆของการวิเคราะห์ทางเทคนิค
หนึ่งในตัวกรองที่เรียบง่ายและมีประสิทธิภาพคือการมองหาสถานการณ์เมื่อราคาออกจากพื้นที่ที่มีการขายมากเกินไปในช่วงขาขึ้น นี่อาจเป็นคิวของคุณที่จะเข้าซื้อ ในทางกลับกันหากมีแนวโน้มขาลงโดยรวม, ได้รับการยืนยันจากการวิเคราะห์หรือตัวบ่งชี้ที่มองเห็นได้, ให้มองหาราคาเพื่อออกจากโซน overbought เพื่อเริ่มต้นเข้าขาย เมื่อใช้กลยุทธ์ประเภทนี้คุณสามารถรวม Williams %R เข้ากับตัวบ่งชี้อื่นเช่น Bollinger Bands หรือ Envelops
เทรดเดอร์สามารถใช้ %R เพื่อติดตามความล้มเหลวของโมเมนตัม ในช่วงขาขึ้นที่แข็งแกร่งราคามักจะถึง -20 หรือระดับที่สูงขึ้น หากตัวบ่งชี้ตกและจากนั้นไม่สามารถกลับไปอยู่เหนือ -20 ก่อนที่จะตกลงมาอีกครั้งก็หมายความว่าโมเมนตัมขาขึ้นของราคาได้ลดลงและการลดลงของราคาที่ใหญ่กว่าอาจตามมา
แนวโน้มขาลงก็เช่นกัน เมื่อมาถึง -80 หรือต่ำกว่า เมื่อตัวบ่งชี้ไม่สามารถไปถึงระดับต่ำเหล่านั้นได้อีก ก่อนที่มันจะเคลื่อนที่สูงขึ้นไป มันก็สามารถบ่งบอกได้ว่าราคาจะเพิ่มขึ้น
และไม่ต่างจากออสซิลเลเตอร์อื่นๆ Williams %R สร้างสัญญาณเมื่อมันมีทิศทางตรงกันข้ามกับกับกราฟราคา เข้าซื้อถ้าราคาต่ำสุดใหม่ต่ำกว่าก่อนหน้านี้ ในขณะที่จุดต่ำสุดใหม่ในแผนภูมิ %R สูงว่าก่อนหน้า เข้าขายถ้าราคาใหม่สูงกว่าราคาก่อนหน้า ในขณะจุดสูงสุดใหม่ในกราฟ %R นั้นต่ำกว่าก่อนหน้า
สรุป
Williams’ Percent Range ใช้หาพื้นที่ซื้อมากเกินไปและขายมากเกินไปได้อย่างสมบูรณ์แบบ ซึ่งไม่ต่างจากตัวบ่งชี้อื่นๆทุกตัว มันต้องการการยืนยันและควรใช้ร่วมกับเครื่องมืออื่นๆด้วย
อัปเดทแล้ว • 2022-04-12
บทความอื่นๆ ในส่วนนี้
- McClellan Oscillator
- กลยุทธ์การซื้อขายด้วยตัวบ่งชี้ Aroon
- ความแข็งแกร่งของสกุลเงิน
- กรอบเวลาที่ดีที่สุดสำหรับการเทรด
- Renko chart
- ประเภทของแผนภูมิ
- จะใช้ Heikin-Ashi อย่างไร?
- นโยบายผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE)
- Pivot Points
- ตัวบ่งชี้ ZigZag คืออะไร?
- Moving Average: วิธีง่ายๆในการหาเทรนด์
- Relative Vigor Index (ตัวบ่งชี้ RVI) คืออะไร?
- โมเมนตัม
- Force index
- ตัวบ่งชี้ Envelopes คืออะไร?
- Bulls Power และ Bears Power
- Average True Range
- จะเทรดจากการตัดสินใจของธนาคารกลางอย่างไร?
- CCI (Commodity Channel Index)
- Standard deviation
- Parabolic SAR
- การซื้อขายด้วย Stochastic Oscillator
- Relative Strength Index (RSI)
- MACD (Moving Average Convergence/Divergence)
- ออสซิลเลเตอร์
- ตัวบ่งชี้ ADX: วิธีใช้สำหรับการวิเคราะห์แนวโน้ม Forex อย่างมีประสิทธิภาพ
- Bollinger bands
- ตัวบ่งชี้เทรนด์
- การแนะนำตัวชี้วัดทางเทคนิค
- แนวรับและแนวต้าน
- แนวโน้ม
- การวิเคราะห์ทางเทคนิค
- ธนาคารกลาง: นโยบายและผลกระทบ
- ปัจจัยพื้นฐาน
- การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานในการเทรด Forex และการเทรดหุ้น
- การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน vs การวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค