-
จะเริ่มเทรดอย่างไร?
หากคุณอายุ 18 ปีขึ้นไปคุณสามารถเข้าร่วม FBS ได้และเริ่มต้นการเดินทาง FX ของคุณ ในการซื้อขายคุณจะต้องมีบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์และมีความรู้ที่เพียงพอเกี่ยวกับวิธีการทำงานของสินทรัพย์ในตลาดการเงิน เริ่มด้วยการศึกษาขั้นพื้นฐานด้วย สื่อการเรียนรู้ฟรี และ สร้างบัญชี FBS คุณอาจต้องการทดสอบสภาพแวดล้อมด้วยเงินเสมือนจริงผ่านบัญชีทดลอง เมื่อคุณพร้อมเข้าสู่ตลาดจริงแล้ว ก็เริ่มทำการซื้อขายเพื่อที่จะได้ประสบความสำเร็จ
-
จะเปิดบัญชี FBS ได้อย่างไร?
คลิกที่ปุ่ม 'เปิดบัญชี' บนเว็บไซต์ของเราแล้วไปที่ Trader Area ก่อนที่คุณจะเริ่มซื้อขายได้ โปรไฟล์ของคุณจะต้องได้รับการยืนยันเสียก่อน ยืนยันอีเมลและเบอร์โทรศัพท์ของคุณ จากนั้นให้ทำการยืนยันตัวตนของคุณ ขั้นตอนนี้จะช่วยรับประกันความปลอดภัยของเงินและตัวตนของคุณ เมื่อคุณผ่านการตรวจสอบทั้งหมดแล้ว ให้ไปที่แพลตฟอร์มการซื้อขายที่ต้องการ แล้วเริ่มซื้อขายได้เลย
-
จะถอนเงินที่ทำได้กับ FBS ได้อย่างไร?
กระบวนการนี้ไม่มีอะไรซับซ้อนเลย ไปที่หน้า การถอนเงิน บนเว็บไซต์หรือส่วนการเงินของ FBS Trader Area และเข้าไปที่การถอนเงิน คุณจะได้รับเงินที่ทำได้รับผ่านระบบการชำระเงินเดียวกับที่คุณใช้ในการฝากเงิน ในกรณีที่คุณฝากเงินเข้าบัญชีผ่านหลายวิธี ให้ถอนกำไรของคุณผ่านวิธีเดียวกันในอัตราส่วนตามยอดเงินที่ฝากเข้ามา
Tapering
Tapering
Tapering เป็นกระบวนการทางเศรษฐกิจที่สำคัญ แม้ว่าคำนี้อาจค่อนข้างซับซ้อนอยู่สักหน่อย มาค้นหาคำตอบกันเถอะ
Tapering คืออะไร?
Taping (การถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ) เป็นคำที่ได้บรรจุเข้าสู่พจนานุกรมทางการเงิน เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม ปี 2013 เมื่อ Bernanke ประธานแห่ง Fed บอกกับสภาคองเกรสว่า Fed จะลดการเข้าซื้อสินทรัพย์คืนในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
Tapering คือการค่อยๆ ลดมาตรการการผ่อนคลายเชิงปริมาณของธนาคารกลางอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยมุ่งเป้าไปที่การเร่งการเติบโตทางเศรษฐกิจ สิ่งนี้สามารถเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการพยายามใช้แผนการกระตุ้นเศรษฐกิจบางอย่างไปแล้ว
ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) อาจเริ่มกระบวนการที่เรียกว่ามาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (Quantitative Easing; QE) โดยธนาคารกลางสหรัฐฯ จะเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลและหลักทรัพย์ค้ำประกันจำนวนมหาศาลเพื่อเพิ่มปริมาณเงินในสภาพคล่อง ส่งเสริมการปล่อยสินเชื่อ และลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่ชะลอตัว เมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้นแล้วในที่สุด Fed อาจค่อยๆ เริ่มหยุดการเข้าซื้อสินทรัพย์เหล่านี้และเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเพื่อให้เศรษฐกิจกลับมามั่นคงอีกครั้งได้ นี่คือกระบวนการของ Tapering
Tapering ส่งผลกระทบอย่างไร?
Fed มีสองวิธีที่หลักๆ ที่จะใช้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ: การลดอัตราดอกเบี้ยของกองทุนกลางและการเข้าซื้อสินทรัพย์ในปริมาณมาก ส่วนใหญ่จะเป็นตราสารหนี้หรือพันธบัตร (หรือที่เรียกว่ามาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ) เครื่องมือเหล่านี้ช่วยลดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นและระยะยาวตามลำดับ เพื่อให้การกู้ยืมเงินมีราคาถูก โดยมีความหวังว่าเงินกู้เหล่านี้จะช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายและกระตุ้นเศรษฐกิจ
การเข้าซื้อพันธบัตรของ Fed เป็นวิธีหนึ่งในการลดอัตราดอกเบี้ยระยะยาว ขณะที่ Fed เข้าซื้อพันธบัตรมากขึ้น พันธบัตรในตลาดก็เหลือน้อยลง ซึ่งจะทำให้มูลค่าของพันธบัตรที่มีอยู่เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากราคาของพันธบัตรและอัตราดอกเบี้ยมีความสัมพันธ์แบบผกผัน จึงทำให้อัตราดอกเบี้ยระยะยาวลดลง
นอกจากการลดอัตราดอกเบี้ยแล้ว QE ยังเพิ่มปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งช่วยให้มีสภาพคล่องในช่วงเวลาที่ไม่แน่นอนอีกด้วย นอกจากนี้ นโยบายนี้ช่วยสร้างความเชื่อมั่นในตลาด โดยแสดงให้เห็นว่า Fed พร้อมที่จะเข้าไปแทรกแซงและช่วยเหลือในช่วงที่เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ
Tapering และวิกฤตต่างๆ
นโยบายผ่อนคลายเชิงปริมาณได้ดำเนินการหลังจากวิกฤตการณ์ทางการเงินในปี 2007-2008 และส่งผลดีต่อราคาหุ้นและพันธบัตรในตลาดการเงินสหรัฐฯ ส่งผลให้นักลงทุนกังวลเกี่ยวกับผลกระทบจากการทำ Tapeing นี้
ในปี 2013 ได้มีสิ่งที่เรียกว่า Taper tantrum (ความอลหม่านจากการถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ) เกิดขึ้น ผู้คนตื่นตระหนกและทำให้ผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ พุ่งสูงขึ้น มันเกิดขึ้นหลังจากที่นักลงทุนพบว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ กำลังค่อยๆ ถอนมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ความกังวลหลักที่อยู่เบื้องหลัง Taper tantrum นั้นเกิดจากความกลัวว่าตลาดจะพังทลายลงเนื่องจากการที่ QE สิ้นสุดลง ในท้ายที่สุด ความตื่นตระหนกอย่างบ้าคลั่งนั้นก็เป็นแค่เรื่องที่คิดไปเอง เนื่องจากตลาดยังคงฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องหลังจากที่ Tapering ได้เริ่มต้นขึ้นจริงๆ
เนื่องจาก Tapering เป็นเพียงความเป็นไปได้ในทางทฤษฎี โดยที่จริงแล้ว ธนาคารกลางสหรัฐฯ ไม่เคยได้ทำ Tapering อย่างเต็มที่ที่ทำให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจจากมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ มันจึงเป็นเรื่องยากที่จะพูดได้อย่างชัดเจนว่า Tapering จะส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นอย่างไร อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ในอดีตเชื่อกันว่า เมื่อ Fed เริ่มถอนการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างช้าๆ ตลาดหุ้นก็จะตอบสนองในทางลบ
ในช่วงการระบาดของไวรัสโควิด-19 การดำเนินการของ Fed นั้นมีเป้าหมายเพื่อฟื้นฟูการทำงานได้อย่างราบรื่นของพันธบัตรรัฐบาลและตราสารหนี้สินเชื่อที่อยู่อาศัย (MBS) ในเดือนมีนาคม ปี 2020 Fed ได้เปลี่ยนเป้าหมายของ QE เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจ โดย Fed บอกว่าจะเข้าซื้อในพันธบัตรรัฐบาลอย่างน้อย 5 แสนล้านดอลลาร์ และใน MBS ที่รัฐบาลรับประกัน 2 แสนล้านดอลลาร์ "ในเดือนต่อๆ ไป" เมื่อวันที่ 23 มีนาคม ปี 2020 Fed ได้ทำการซื้อแบบถาวร โดยระบุว่าจะซื้อหลักทรัพย์ "ในปริมาณที่จำเป็น เพื่อให้แน่ใจว่าการทำงานของตลาดเป็นไปอย่างราบรื่นและการเปลี่ยนโอนนโยบายการเงินอย่างมีประสิทธิภาพไปสู่เงื่อนไขทางการเงินที่กว้างขึ้น" มันได้ขยายตามวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในการซื้อพันธบัตรเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจ
ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2021 เมื่อพิจารณาว่าการทดสอบผ่านไปแล้ว Fed จึงเริ่มลดอัตราการเข้าซื้อสินทรัพย์ลง 10 พันล้านดอลลาร์ในพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ และใน MBS 5 พันล้านดอลลาร์ ในแต่ละเดือน ในการประชุม FOMC ครั้งต่อไป Fed ได้เพิ่มอัตราการลดการเข้าซื้อนี้เป็นสองเท่า
Tapering และผลกระทบต่อตลาด
Tapering ส่งผลกระทบต่อตลาดต่างๆ แตกต่างกันอย่างน่าประหลาด เราจะพูดถึงสองสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับเราที่เกิดขึ้นในระหว่างช่วงวิกฤตในปี 2013 กัน
ตลาดหุ้น
ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ประสบกับความผันผวนไปหลายสัปดาห์ Cboe VIX ซึ่งมักเรียกว่า "ตัวบ่งชี้ความกลัว" ซึ่งวัดความผันผวนที่คาดหวังในตลาดตัวเลือก และเพิ่มขึ้นในเดือนมิถุนายน ปี 2013 ดัชนีหุ้นหลัก เช่น S&P 500 และ Dow Jones ก็ได้พบกับแรงเทขายเช่นกัน แต่ก็เด้งกลับและส่งท้ายปีด้วยการพุ่งขึ้น 10.74% และ 7.73% ตามลำดับ
ดอลลาร์สหรัฐและตลาดเกิดใหม่
หลังจากที่ Fed ประกาศลดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อเป็นสัญญาณในการกระชับนโยบายการเงิน ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐก็แข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อตลาดเกิดใหม่ได้ขาดดุลการค้า พวกเขามักจะสะสมหนี้ต่างประเทศที่เป็นสกุลเงินดอลลาร์เพื่อชดเชยการขาดดุล การประกาศว่าจะทำการ Tapering ทำให้พวกเขาได้รับผลกระทบอย่างหนักด้วยเหตุผลสองประการ: โดยจากการที่อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้น การระดมทุนในตลาดเกิดใหม่จึงยากขึ้นเนื่องจากนักลงทุนได้โยกเงินทุนของตนไปยังตลาดตราสารหนี้ของสหรัฐฯ และสกุลเงินในตลาดเกิดใหม่ก็อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ ทำให้สินค้าและบริการของสหรัฐฯ ที่จะซื้อมีราคาแพง ทำให้เกิดแรงกดดันต่อดุลการชำระเงินมากขึ้น ผลที่ได้คือความวุ่นวายในตลาดหุ้นและการกระชับนโยบายทางการเงินในตลาดเกิดใหม่หลายแห่ง
อัปเดทแล้ว • 2022-09-19