ปัจจัยพื้นฐาน

อ่านบทความบนเว็บไซต์ของ FBS

ตัวบ่งชี้ทางเศรษฐกิจ

ตัวบ่งชี้เศรษฐกิจก็คือข้อมูลย่อยต่างๆของข้อมูลทางเศรษเศรษฐกิจและการเงินที่เผยเผยแพร่โดยหน่วยงานรัฐและเอกชน สถิติเหล่านี้ช่วยให้เห็นถึงตัวขับเคลื่อนตลาดและตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด เพื่อตอบสนองต่อข่าวเศรษฐกิจในทางเหมาะสม คุณต้องเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่า การรายงานสถิติต่างๆ และ อัตราการแลกเปลี่ยนสกุลเงิน ในคำถาม ตอนนี้เราอยากแนะนำตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจที่ทรงอิทธิพลมากที่สุด และ อธิบายถึงผลกระทบของมันต่อราคาต่างๆของแต่ละค่าสกุลเงิน

ตัวชี้วัดผลผลิต: จีดีพี, ผลผลิตอุตสาหกรรม, ยอดค้าปลีก เมื่อใดก็ตามที่ข้อมูลเหล่านี้เพิ่มขึ้น เศรษฐกิจก็จะโตตามขึ้นเช่นกัน ถ้าค่าข้อมูลเหล่านี้แข็งแรง ให้ดูค่าการแข็งตัวของสกุลเงิน

ตัวบ่งชี้ความเชื่อมั่น:ความเชื่อมันของธุรกิจและผู้บริโภค ตัวบ่งชี้กลุ่มนี้ทำหน้าที่เป็นตัวชี้วัดอารมณ์ของผู้บริโภคหรือนักลงทุน ยิ่งพวกเขาใช้จ่ายหรือลงทุนมากขึ้นเท่าใด ก็จะทำให้เศรษฐกิจประเทศและค่าสกุลเงินแข็งแกร่งมากขึ้น

ตัวบ่งชี้ตลาดแรงงาน: อัตราการว่างงาน, ค่าจ้าง, การเปลี่ยนแปลงในการจ้างงานและเลิกจ้างงาน, การเรียกร้องเรื่องการว่างงาน ยิ่งอัตราการจ้างงานเพิ่มขึ้นมาก ค่าสกุลเงินของประเทศก็จะดีขึ้นตามด้วยเช่นกัน (ตรงกันข้ามกับตราการว่างงาน)   

ตัวบ่งชี้ทางตลาดการเคหะ: ใบอนุญาตการก่อสร้าง/สัญญายินยอม/การอนุมัติ, จำนวนหน่วยที่อยู่อาศัยใหม่, จำนวนบ้านเก่าและใหม่ที่รอการปิดการขาย ถ้ามีสัญลักษณ์ที่บ่งบอกว่ามีกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นในตลาดการเคหะ นั้นหมายความว่าเศรษฐกิจประเทศดี ตัวอย่างเหล่านี้เป็นสาเหตุทำให้อัตราการแลกเปลี่ยนค่าสกุลเงินประเทศเพิ่มขึ้น

อัตราเงินเฟ้อ:   CPI, PPI, WPI, RPI อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นเป็นสิ่งที่ไม่ดีต่อค่าสกุลเงิน, ในขณะเดียวกันถ้าอัตราเงินเฟ้อต่ำลงเป็นสิ่งที่ดี. อย่างไรก็ตามในระยะเวลาสั้นๆ CPI และ ดัชนีเงินเฟ้ออื่นๆ อาจจะมีผลตรงข้ามต่อค่าสกุลเงิน การประเมินอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นอย่างมากนั้น อาจผลักดันให้อัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางเพิ่มขึ้นด้วย และนี้อาจทำให้อัตราการแลกเปลี่ยนสกุลเงินเพิ่มขึ้น

ดุลค้า : มูลค่ารวมของการส่งออกของประเทศลบด้วยมูลค่ารวมของการนำเข้า; > 0 หมายถึงส่วนเกิน, < 0 หมายถึงส่วนขาด เมื่อประเทศมีการแลกเปลี่ยนการค้าเกิน อุปสงค์ของค่าสกุลเงินจากลูกค้าต่างประเทศก็เพิ่มขึ้น ดังนั้นทำให้ค่าสกุลเงินประเทศแข็งตัวขึ้น ในทางกลับกัน, การขาดดุลการค้านั้นทำให้ค่าสกุลเงินของประเทศอ่อนตัวลง

ดุลบัญชีเดินสะพัด : ดุลยภาพหว่างประเทศและประเทศคู่ค้า สะท้อนให้เห็นถึงการชำระเงินทั้งหมดสำหรับสินค้า บริการ ดอกเบี้ย และเงินปัน ผล; > 0 หมายถึงส่วนเกิน, < 0 หมายถึงส่วนขาด การขาดดุลหมายความว่า ประเทศใช้จ่ายมากกว่ารายรับ และ ทำให้มีการยืมเงินทุนจากต่างประเทศเพื่อนำมาลดการขาดดุล ผลกรทบเมื่อค่าสกุลเงินประเทศมีผลเป็นลบ ส่วนเกิน, ในทางตรงกันข้าม, มีผลกระทบเชิงบวกต่อค่าสกุลเงิน

นโยบายการเงินของธนาคารกลาง

อัตราดอกเบี้ย.  ธนาคารกลางหลัก ๆ ทั้งหมดตั้งค่าอัตราดอกเบี้ยกู้ยืมไว้ มีนโยบายการเงินอยู่สองประเภทด้วยกัน: นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย (ลดอัตราดอกเบี้ยลงถ้าเศรษฐกิจของชาติมีความจำเป็นต้องพัฒนา; ผลกระทบของค่าสกุลเงินเป็นเชิงลบ) และ นโยบายการเงินแบบเข้มงวด (เพิ่มอัตราดอกเบี้ยเพื่อที่จะลดอัตราเงินเฟ้า; ผลกระทบของค่าสกุลเงินเป็นเชิงบวก)

การซื้อพันธบัตร บางครั้งสิทธิ์ไล่เบี้ยของธนาคารกลางทำให้มีการซื้อขายพันธบัตรของรัฐบาล โดยมีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มการไหลเหวียนของจำนวนเงินในคลัง; การกระทำเช่นนี้ทำให้เครดิตนั้นถูกลง และ เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ มาตรการทางการเงินที่ไม่ปกติเหล่านี้ทำให้ค่าสกุลเงินเสื่อมลง การซื่้อพันธบัตรของธนาคารกลางนั้นนำไปสู่เงินอุปทานที่สูงขึ้น หรือ เรียกว่า การผ่อนคลายทางการเงินเชิงปริมาณ quantitative easing (QE)

สถานะทางการเงินของรัฐบาล

ยอดดุลงบประมาณและหนี้สิน ถ้าประเทศใดมีหนี้สินมาก จะทำให้ความน่าใจลดลงสำหรับนักลงทุนต่างชาติ เพราะว่าหนี้สินสาธารณะที่มีมากนั้นนำไปสู่อัตราเงินเฟ้อของประเทศ นอกจากนี้, หนี้สินขนาดใหญ่นั้นอาจทำให้ต่างชาติกังวัล ถ้าพวกเขาเชื่อในความเสี่ยงในประเทศการล้มเหลวในข้อกำหนัดหรือภาระผูกพัน ในกรณีนี้ ความต้องการของสกุลเงินของประเทศจะลดลง และทำให้อัตราการแลกเปลี่ยนลดลงเช่นกัน

การไหลเวียนของข่าว

  • ข่าวการเมือง สังคม และอื่น ๆ
  • การคาดการณ์ทางเศรษฐกิจจาก IMF, OCER, ธนาคารโลก และองค์กรอื่นๆ
  • การเปลี่ยนแปลงในการจัดอันดับความน่าเชื่อถือโดย Moody's, Fitch. S&P และหน่วยง่ายอื่นๆ

นักลงทุนต่างประเทศมักจะหาประเทศที่มีเสถียรภาพทางการเมือง และทางเศรษฐกิจ นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมข่าวที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าเกี่ยวกับเกี่ยวกับความวุ่นวายทางการเมือง หรือความไม่สงบ กวาดการลงทุนออกไปจากประเทศที่ได้รับผลกระทบ ด้วยเหตุผลดังกล่าว สกุลเงินประเทศจึงอ่อนตัวลงเนื่องจากกระแสของการลงทุนจากต่างประเทศ   ประเทศที่มีเสถียรภาพทางการเมืองบางครั้งนั้นก็มีผลกระทบจากความวุ่นวายในสังคม การเปลี่ยนแปลงของรัฐ และการเปลี่ยนแปลงกฎหมายที่สำคัญต่างๆ เหตุการณ์เหล่านี้ยังสามารถมีอิทธิพลต่อค่าสกุลเงินเช่นกัน ผลการเลือกตั้งหรือลงประชามติไม่คาดคิดอาจทำให้เกิดความผันผวนของค่าสกุลเงิน (คุณคงจำได้จากผลกระทบจากการชนะเลือกตั้งของประธนาธิบดี Trump ได้ หรือ ผลกระทบของสหราชอณาจักราออกจากการออกเสี่ยง) คำพูดหรือการเคลื่อนไหวทางการเมืองของผู้นำประเทศ, การที่รัฐบาลธนาคารกลางมีส่วนร่วมต่อสาธารณะ ก็สามารถทำให้ค่าสกุลเงินผันผวนได้

การเปลี่ยนที่สำคัญในอัตราการแลกเปลี่ยนสกุลเงินสามารถเป็นสาเหตุหลักให้เกิดกระแสข่าวที่แตกต่างกันออกไป เรากำลังพูดถึงการคาดการณ์เศรษฐกิจจากสถาบันการเงินต่างๆ เช่น IMF, OCER, Workd Bank, หรือการเปลี่ยนแปลงในการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ โดย Moody's, Fitch, S&P และหน่วยงานอื่นๆ

ท้ายที่สุดนั้น เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดจริงๆอย่างเช่น แผ่นดินไหว หรือ ภัยธรรมชาติต่างๆ เหตุการณ์เหล่านี้เป็นความเสียหายทางเศรษฐกิจ และส่งผลกระทบต่ออัตราการแลกเปลี่ยนเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์เหล่านี้ก็ไม่ได้เป็นไปได้ง่ายเสมอไป ยกตัวอย่างเช่น ในปี 2011 ค่าเงินเยนของญี่ปุ่นกลับแข็งค่าขึ้นหลังจากแผ่นดินไหวในญี่ปุ่น เหตุผลนั้นมาจากการที่นักลงทุนเข้าใจว่าสภาพค่าเงินเยนนั้นปลอดภัย และจะเพิ่มมากขึ้นเมื่อความเสี่ยงต่างๆทั้งหมดลดลง 

เริ่มการเทรด

อัปเดทแล้ว • 2022-12-15

บทความอื่นๆ ในส่วนนี้

FBS เก็บรักษาข้อมูลของคุณไว้เพื่อใช้งานเว็บไซต์นี้ เมื่อกดปุ่ม "ยอมรับ" ถือว่าคุณยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเรา