จะเทรดจากการตัดสินใจของธนาคารกลางอย่างไร?
ธนาคารกลางคืออะไร?
เราจะเริ่มด้วยการให้คำจำกัดความกันแบบสั้นๆก่อน ธนาคารกลางเป็นธนาคารแห่งชาติที่ดำเนินการอิสระจากรัฐบาลและมีอิทธิพลต่อนโยบายการเงิน นอกจากนี้มันยังทำหน้าที่เป็นธนาคารสำหรับธนาคารพาณิชย์อื่นๆในประเทศอีกด้วย
เป้าหมายหลักของธนาคารกลางคือการรักษาเสถียรภาพทางราคาไว้ด้วยการควบคุมภาวะเงินเฟ้อและสร้างสภาพเศรษฐกิจในประเทศให้มีความมั่นคง
ธนาคารกลางมีคุณสมบัติที่สำคัญคือ เป็นสถาบันทางการเงินที่ถูกต้องตามกฎหมายเพียงแห่งเดียวที่ได้รับอนุญาตให้พิมพ์เงินออกมาเป็นตั๋วเงินที่ใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย การพิมพ์เงินจะช่วยให้ธนาคารกลางสามารถควบคุมปริมาณเงินและจำนวนเงินทั้งหมดที่มีอยู่ในระบบเศรษฐกิจได้ การใช้คุณสมบัตินี้จะช่วยให้ธนาคารกลางสามารถควบคุมระดับเงินเฟ้อและสภาพเศรษฐกิจได้
นโยบายการเงิน
มาพูดคุยเกี่ยวกับนโยบายการเงินที่ธนาคารกลางใช้เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อกัน
เพื่อควบคุมระดับเงินเฟ้อธนาคารกลางจะสามารถเลือกใช้หนึ่งในสองนโยบายการเงินได้ซึ่งก็คือ:นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายหรือนโยบายการเงินแบบเข้มงวด
- นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย/ นโยบายการเงินแบบหลวม/ นโยบายการเงินแบบขยายตัว
หากการเติบโตของ GDP ต่ำธนาคารกลางจะเพิ่มปริมาณเงินภายในประเทศ นอกจากนี้ธนาคารกลางจะลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อให้เกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและลดอัตราเงินเฟ้อลง การลงทุนทางธุรกิจและการใช้จ่ายของผู้บริโภคจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากการกู้ยืมนั้นถูกลง ดังนั้นเมื่อมีการใช้นโยบายดังกล่าวธนาคารกลางจึงได้สร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสำหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ก็ส่งผลกระทบต่อสกุลเงินในประเทศ
เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงต่ำนักลงทุนชาวต่างชาติจะไม่ถือครองสินทรัพย์ทางการเงินและสินทรัพย์ประเภททุนในประเทศขณะที่นักลงทุนในประเทศจะแสวงหาอัตราผลตอบแทนที่น่าสนใจกว่าจากต่างประเทศเช่นกัน การลดลงของการลงทุนจะทำให้ความต้องการของสกุลเงินในประเทศลดลง เป็นผลให้สกุลเงินในประเทศจะอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินต่างประเทศ
ข้อสรุปของนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายคือหากธนาคารกลางดำเนินการตามนโยบายดังกล่าวจะทำให้เศรษฐกิจภายในประเทศเกิดการเติบโตขึ้น แต่จะมีผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อสกุลเงินของประเทศ
- นโยบายการเงินแบบเข้มงวด/ นโยบายการเงินแบบหดตัว
เมื่อมีจำนวนเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจอยู่เป็นจำนวนมากธนาคารกลางจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อลดปริมาณเงินและลดระดับเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ยที่สูงจะจำกัดความสามารถในการกู้ยืมของธุรกิจและครัวเรือน ผู้บริโภคภายในประเทศจะขาดทุน อย่างไรก็ตามการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะช่วยให้ธนาคารกลางสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการลงทุนขึ้นมา นักลงทุนชาวต่างชาติก็จะมีแนวโน้มที่จะถือครองสินทรัพย์ในประเทศกันมากขึ้น ส่งผลให้ความสมดุลในบัญชีทุนของประเทศเริ่มดีขึ้น นักลงทุนภายในประเทศก็จะทำการลงทุนในประเทศของตนเองเช่นเดียวกัน การลงทุนจำนวนมากจะช่วยให้สกุลเงินของประเทศแข็งค่าขึ้นซึ่งอัตราแลกเปลี่ยนของมันก็จะเพิ่มขึ้นด้วย
สรุปได้ว่าการดำเนินการตามนโยบายแบบเข้มงวดจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจและครัวเรือนในประเทศเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยจะสูงและจะทำให้ขาดความสามารถในการกู้ยืม แต่มันก็จะช่วยทำให้สกุลเงินในประเทศแข็งค่ามากขึ้น
ข้อสรุป: ทำไมเทรดเดอร์ควรให้ความสนใจกับนโยบายการเงินของธนาคารกลาง?
กลับมาที่คำถามหลักของบทความนี้ เราจะมาสรุปว่าเหตุใดเทรดเดอร์ต้องให้ความสนใจกับนโยบายการเงินของธนาคารกลาง
เพื่อให้การอธิบายนี้ง่ายขึ้นลองมาพิจารณากันสักตัวอย่าง เมื่อธนาคารกลางแห่งหนึ่งคงอัตราดอกเบี้ยไว้ต่ำเป็นเวลานานเทรดเดอร์จะสามารถหาธนาคารกลางแห่งอื่นที่มีนโยบายการเงินที่ตรงกันข้ามได้นั่นก็คือ – ธนาคารกลางที่มีนโยบายปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เทรดเดอร์จะฝากเงินในธนาคารกลางแห่งที่สองเนื่องจากมีอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าซึ่งจะทำให้ได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่าหรือจะกู้ยืมจากธนาคารกลางแห่งแรกที่มีอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าแล้วใช้มันลงทุนในสกุลเงินอื่น
ความจริงที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือสกุลเงินของประเทศที่ธนาคารกลางดำเนินการตามนโยบายการเงินแบบเข้มงวดจะมีเสถียรภาพมากกว่าและเศรษฐกิจของประเทศจะแข็งแกร่งมากกว่าประเทศที่มีการใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย
ผลก็คือสกุลเงินที่มีอัตราดอกเบี้ยจากธนาคารกลางสูงกว่าจะมีมูลค่าสูงกว่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินที่ธนาคารกลางมีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่า
เริ่มการเทรดอัปเดทแล้ว • 2023-05-25
บทความอื่นๆ ในส่วนนี้
- McClellan Oscillator
- กลยุทธ์การซื้อขายด้วยตัวบ่งชี้ Aroon
- ความแข็งแกร่งของสกุลเงิน
- กรอบเวลาที่ดีที่สุดสำหรับการเทรด
- Renko chart
- ประเภทของแผนภูมิ
- จะใช้ Heikin-Ashi อย่างไร?
- นโยบายผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE)
- Pivot Points
- ตัวบ่งชี้ ZigZag คืออะไร?
- Moving Average: วิธีง่ายๆในการหาเทรนด์
- Williams’ Percent Range (%R)
- Relative Vigor Index (ตัวบ่งชี้ RVI) คืออะไร?
- โมเมนตัม
- Force index
- ตัวบ่งชี้ Envelopes คืออะไร?
- Bulls Power และ Bears Power
- Average True Range
- CCI (Commodity Channel Index)
- Standard deviation
- Parabolic SAR
- การซื้อขายด้วย Stochastic Oscillator
- Relative Strength Index (RSI)
- MACD (Moving Average Convergence/Divergence)
- ออสซิลเลเตอร์
- ตัวบ่งชี้ ADX: วิธีใช้สำหรับการวิเคราะห์แนวโน้ม Forex อย่างมีประสิทธิภาพ
- Bollinger bands
- ตัวบ่งชี้เทรนด์
- การแนะนำตัวชี้วัดทางเทคนิค
- แนวรับและแนวต้าน
- แนวโน้ม
- การวิเคราะห์ทางเทคนิค
- ธนาคารกลาง: นโยบายและผลกระทบ
- ปัจจัยพื้นฐาน
- การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานในการเทรด Forex และการเทรดหุ้น
- การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน vs การวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค