นโยบายผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE)

อ่านบทความบนเว็บไซต์ของ FBS

มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) คืออะไร?

การรักษาเสถียรภาพของราคาเป็นบทบาทหน้าที่หลักของธนาคารกลาง ธนาคารกลางดำเนินการโดยอิสระจากรัฐบาล ธนาคารต้องควบคุมอัตราเงินเฟ้อและสร้างสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพ เพื่อสนับสนุนเสถียรภาพด้านราคา ซึ่งสามารถใช้มาตรการเหล่านี้ได้ผ่านนโยบายการเงิน

คำอธิบายอย่างง่ายของมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ

มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณเป็นเครื่องมือที่ธนาคารกลางใช้เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจโดยการเพิ่มปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบ ธนาคารกลางดำเนินมาตรการนี้โดยการซื้อสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น พันธบัตรรัฐบาลจากธนาคารต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้บุคคลและธุรกิจสามารถกู้ยืมเงินได้มากขึ้น

นโยบายการเงินมีสองประเภท ได้แก่ นโยบายการเงินแบบเข้มงวด (ตึงตัว, หดตัว) และนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย (คลายตัว, ขยายตัว) นโยบายการเงินแบบเข้มงวดจะนำมาใช้เมื่อปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจมีมหาศาลจนธนาคารต้องเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเพื่อลดปริมาณเงินและลดอัตราเงินเฟ้อลง ในทางกลับกัน นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายจะนำมาใช้เมื่อ GDP เติบโตขึ้นอย่างช้า ๆ ในกรณีนั้น ธนาคารกลางจะเพิ่มปริมาณเงินและลดอัตราดอกเบี้ย อัตราดอกเบี้ยต่ำดึงดูดนักลงทุนและมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกระแสเงินสดเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจมากขึ้น เมื่ออัตราดอกเบี้ยลดลงจนเกือบเป็น 0% และธนาคารกลางยังคงต้องการมาตรการสนับสนุนนี้อยู่ ก็จะใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ

มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณทำงานอย่างไร?

1. ธนาคารกลางผลิตเงินใหม่ทางอิเล็กทรอนิกส์

เมื่อธนาคารกลาง เช่น ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) หรือธนาคารกลางยุโรป (ECB) ตัดสินใจใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ พวกเขาผลิตเงินใหม่ทางอิเล็กทรอนิกส์ พวกเขาไม่ได้พิมพ์เงินจริงออกมา แต่จะป้อนตัวเลขใหม่ลงในระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งทำให้พวกเขาสามารถเพิ่มปริมาณเงินได้

2. ด้วยเงินใหม่นี้ ธนาคารกลางจะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจากธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ

เมื่อธนาคารกลางผลิตเงินใหม่นี้แล้ว พวกเขาจะเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลจากธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ พันธบัตรรัฐบาลให้สัญญาว่าจะจ่ายคืนพร้อมดอกเบี้ยในภายหลัง ธนาคารพาณิชย์ก็ซื้อพันธบัตรเหล่านี้เพราะถือว่าเป็นการลงทุนที่ปลอดภัย

โปรดจำไว้ว่าธนาคารกลางไม่ได้ซื้อพันธบัตรจากรัฐบาลโดยตรง กรณีดังกล่าวเรียกว่า Debt monetization ซึ่งก็คือการให้ธนาคารกลางผลิตเงินออกมาเพื่อซื้อพันธบัตรนั้นเสียเอง พูดอีกอย่างได้ว่าเป็นการให้ธนาคารกลางรับซื้อหนี้สาธารณะของรัฐบาล หรือก็คือการที่ธนาคารกลางให้รัฐบาลกู้เงิน (monetary financing) นั่นเอง และถือเป็นเรื่องผิดกฎหมายในนโยบายการเงินสำหรับประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่

3. ธนาคารได้รับเงินใหม่ซึ่งเป็นการเพิ่มเงินทุนสำรอง

เมื่อธนาคารกลางซื้อพันธบัตรรัฐบาลเหล่านี้จากธนาคารพาณิชย์ พวกเขาจ่ายเงินด้วยเงินอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ที่พวกเขาผลิตขึ้น สิ่งนี้จะเพิ่มเงินทุนสำรองของธนาคารพาณิชย์ หมายความว่าตอนนี้พวกเขามีเงินมากขึ้นที่จะปล่อยกู้ให้ธุรกิจและบุคคลทั่วไป การให้กู้ยืมที่เพิ่มขึ้นนี้ช่วยกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจและอาจนำไปสู่การลงทุน การจ้างงาน และการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคมากขึ้น สิ่งนี้สามารถช่วยกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจได้

4. ปริมาณเงินที่เพิ่มขึ้นช่วยกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจและช่วยลดอัตราดอกเบี้ยได้

ด้วยการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจผ่านมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ ธนาคารกลางสามารถช่วยลดอัตราดอกเบี้ยได้ เมื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำ ธุรกิจและบุคคลทั่วไปจะกู้ยืมเงินได้ในอัตราที่ถูกกว่า ซึ่งอาจนำไปสู่การลงทุนและการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น

5. เป้าหมายคือการกระตุ้นเศรษฐกิจ

เป้าหมายสูงสุดของมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณคือการกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจและป้องกันภาวะเงินฝืดในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจตกต่ำ โดยจากการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจมากขึ้นนี้ ธนาคารกลางหวังว่าจะกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เพิ่มการปล่อยสินเชื่อและการลงทุน และป้องกันไม่ให้ราคาร่วงลงมากเกินไปได้

เมื่อธนาคารกลางหยุดซื้อพันธบัตรใหม่ ธนาคารจะเก็บพันธบัตรที่ซื้อไว้ในงบดุล หากพันธบัตรเหล่านี้ครบกำหนดแล้ว (ส่วนใหญ่มีวันครบกำหนดเมื่อมีการชำระคืนการลงทุนครั้งแรกให้กับเจ้าของพันธบัตร) พวกมันก็จะถูกแทนที่ด้วยพันธบัตรใหม่ นอกจากนี้ ธนาคารสามารถปล่อยให้พันธบัตรครบกำหนดได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนหรือขายออกสู่ตลาด

มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ vs. การพิมพ์เงิน

วัตถุประสงค์และขอบเขต

มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณเกี่ยวข้องกับการผลิตเงินใหม่ทางอิเล็กทรอนิกส์ และใช้เงินนี้เพื่อซื้อพันธบัตรรัฐบาลจากธนาคารพาณิชย์ ในทางกลับกัน การพิมพ์เงินหมายถึงการพิมพ์ธนบัตรและเหรียญใหม่และมักใช้เป็นมาตรการสุดท้ายในการแก้ปัญหาหนี้ของภาครัฐหรือภาวะเงินเฟ้อรุนแรง

การควบคุมปริมาณเงิน

ด้วยการผ่อนคลายเชิงปริมาณ ธนาคารกลางสามารถควบคุมจำนวนเงินใหม่ที่พวกเขาผลิตและอัดฉีดเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจได้อยู่บ้าง ตัวอย่างเช่น พวกเขาสามารถปรับจำนวนพันธบัตรรัฐบาลที่พวกเขาซื้อเพื่อปรับจำนวนเงินใหม่ที่หมุนเวียนในระบบ

อย่างไรก็ตาม เมื่อพูดถึงเรื่องการพิมพ์เงินแล้ว ก็จำเป็นต้องมีการควบคุมมากขึ้นว่าจะพิมพ์ออกมาจำนวนเท่าไรและจะจัดการอย่างไร การพิมพ์เงินอาจนำไปสู่การลดค่าเงินและเงินเฟ้ออย่างรวดเร็วได้หากไม่ได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม

QE ส่งผลกระทบต่อสกุลเงินอย่างไร?

เมื่อธนาคารกลางเพิ่มปริมาณเงินเข้ามา ราคาและกำลังซื้อของสกุลเงินจะลดลง เว้นแต่ประเทศอื่น ๆ จะใช้นโยบายผ่อนคลายเชิงปริมาณเช่นกัน

พูดง่าย ๆ ก็คือ สกุลเงินของประเทศมีแนวโน้มที่จะอ่อนค่าลงจากมาตรการ QE ตัวอย่างเช่น USD สูญเสียมูลค่าไป 14% เมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่น ๆ นับตั้งแต่การแพร่ระบาดของ Covid-19 เริ่มต้นขึ้น ซึ่งเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเพราะ Fed พิมพ์เงินออกมาหลายล้านล้านดอลลาร์สหรัฐและตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 0%

ผลกระทบของมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณต่อเศรษฐกิจ

มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณสามารถเพิ่มปริมาณเงินหมุนเวียน เพิ่มสภาพคล่องในระบบการเงินได้ ดังนั้นมันจึงเป็นเรื่องง่ายสำหรับบุคคลและธุรกิจในการเข้าถึงสินเชื่อ ซึ่งการลงทุนก็สามารถเข้าถึงได้มากขึ้นเช่นกัน

ข้อเสียอย่างหนึ่งของมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณคือ มันอาจทำให้ราคาของสินทรัพย์เฟ้อได้ เช่น หุ้นและอสังหาริมทรัพย์ โดยมันสามารถสร้างปรากฏการณ์ที่เรียกว่า "เวลท์ เอฟเฟ็กต์" (wealth effect) ได้ ซึ่งบุคคลและธุรกิจจะรู้สึกมั่งคั่งขึ้นและมีความมั่นใจมากขึ้น เป็นการนำไปสู่การจับจ่ายใช้สอยและการลงทุนที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม หากราคาสินทรัพย์สูงเกินจริง อาจนำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่และวิกฤตการเงินในที่สุด

ตัวอย่างเช่น โครงการ QE ที่ดำเนินโดยธนาคารกลางสหรัฐฯ หลังเกิดโรคระบาด ส่งผลให้ราคาหุ้นพุ่งสูงขึ้น โดยดัชนี S&P 500 (US500) พุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ภายในปี 2021 ขณะนี้ ตลาดหุ้นทั่วโลกได้รับผลกระทบจากการตัดสินใจครั้งนี้

ทำไม QE ถึงมีความเสี่ยงมาก?

มีเหตุผลหลายประการที่นักวิเคราะห์มองว่านโยบายนี้มีความเสี่ยง:

  • มันสามารถสร้างอัตราเงินเฟ้อและฟองสบู่ได้สูง ผู้เชี่ยวชาญหลายคนมั่นใจว่า QE สามารถกระตุ้นอัตราเงินเฟ้อได้สูงมาก
  • นักวิเคราะห์บางคนวิจารณ์ว่ามันไร้ประสิทธิภาพ พวกเขาแนะนำว่านโยบายการคลัง (การใช้จ่ายและการลงทุนของรัฐบาลและการลดภาษี) เป็นทางออกที่ดีที่สุดในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ
  • ในท้ายที่สุด ผู้เชี่ยวชาญหลายคนแนะนำว่า QE เป็นเพียงวิธีที่รัฐบาลและธนาคารพาณิชย์ใช้เพื่อซ่อนปัญหาและพึ่งพาธนาคารกลางในการแก้ปัญหา

ประวัติศาสตร์แสดงให้เห็นว่าความเสี่ยงของมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณไม่ได้เกิดขึ้นตามทฤษฎี แต่เกิดขึ้นบ้างเป็นครั้งคราว คุณสามารถอ่านตัวอย่างต่าง ๆ ได้ด้านล่าง และตอนนี้ เรามาดูข้อดีของมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณกัน

ประโยชน์ของมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ

  • ช่วยกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจตกต่ำ
  • ช่วยให้ธนาคารกลางอัดฉีดเงินใหม่เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจด้วยวิธีที่ควบคุมได้
  • ช่วยลดอัตราดอกเบี้ยและเพิ่มสินเชื่อ
  • ช่วยให้ผู้คนสามารถทนต่อช่วงเวลาที่ยากลำบากได้

อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือต้องจำไว้ว่า QE อาจนำไปสู่การเพิ่มหนี้ให้กับภาครัฐ ในท้ายที่สุดแล้ว วิกฤตปี 2020 ที่เรากำลังเผชิญอยู่นี้เกิดจาก QE ที่ไม่สามารถควบคุมได้

ตัวอย่างของมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ

ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เริ่มใช้ QE ในปี 2001 ในเวลานั้นเศรษฐกิจเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจซบเซา (stagnation) และการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ ในขณะที่เศรษฐกิจของญี่ปุ่นกำลังไปได้สวย ในตอนนี้ BOJ ได้ส่งสัญญาณบางอย่างเกี่ยวกับการยุติการใช้นโยบายนี้

ธนาคารกลางอังกฤษและธนาคารกลางสหรัฐฯ ใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณในช่วงวิกฤตปี 2008 QE ในสหรัฐอเมริกาทำให้อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัยลดลง อัตราเงินเฟ้อมีเสถียรภาพ และมีการจ้างงานที่ดีขึ้น แต่ในทางกลับกัน มันก็ทำให้เกิดการลดค่าเงินดอลลาร์สหรัฐลงด้วย

ธนาคารกลางยุโรปเริ่มใช้นโยบายผ่อนคลายเชิงปริมาณในเดือนมกราคม ปี 2015 ธนาคารตัดสินใจหยุดใช้นโยบายดังกล่าวเมื่อสิ้นปี 2018 แม้ว่าเศรษฐกิจจะเติบโตช้าลงก็ตาม

สรุป

มีข้อดีและข้อเสียมากมายสำหรับนโยบายผ่อนคลายเชิงปริมาณ ในด้านหนึ่ง มันก็สนับสนุนเศรษฐกิจที่ชะงักงันและซบเซา อีกด้านหนึ่งก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดค่าเงินที่อ่อนค่าและเกิดฟองสบู่ อย่างไรก็ตาม ผลที่เกิดจากนโยบายนี้สามารถส่งเสริมกิจกรรมทางเศรษฐกิจในช่วงเวลาที่มีความไม่แน่นอนได้

เริ่มการเทรด

อัปเดทแล้ว • 2023-03-15

บทความอื่นๆ ในส่วนนี้

FBS เก็บรักษาข้อมูลของคุณไว้เพื่อใช้งานเว็บไซต์นี้ เมื่อกดปุ่ม "ยอมรับ" ถือว่าคุณยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเรา