Ichimoku
Ichimoku Kinko Hyo (IKH) หรือ Ichimoku เป็นอินดิเคเตอร์ทางเทคนิคที่เป็นประโยชน์มาก เป็นชื่อที่ได้รับการแปลจากภาษาญี่ปุ่นว่าเป็น "มองไปที่แผนภูมิอย่างสมดุล" คุณจะได้เรียนรู้ทุกอย่างที่คุณจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับสถานะของตลาดโดยการมองเพียงครั้งเดียวไปยังแผนภูมิที่มีอินดิเคเตอร์ตัวนี้อยู่
อินดิเคเตอร์ Ichimoku ทำหน้าที่ที่สำคัญหลายอย่าง:
มันแสดงทิศทางของแนวโน้มที่โดดเด่น;มันแสดงถึงโมเมนตัมและความแรงของแนวโน้มมันให้แนวรับและแนวต้านที่มีความน่าเชื่อถือ;มันให้สัญญาณการซื้อขายในตอนแรก อินดิเคเตอร์นี้อาจดูวุ่นวายแต่เมื่อคุณรู้จักมันคุณจะพบว่ามันค่อนข้างง่ายและมีค่ามากในการวิเคราะห์ตลาด
ในบทเรียนต่อไปนี้เราจะบอกคุณเกี่ยวกับองค์ประกอบของ Ichimoku และสัญญาณที่มันให้ เราจะอธิบายถึงวิธีการวิเคราะห์ตลาดด้วยเครื่องมือทางเทคนิคนี้
องค์ประกอบของ Ichimoku
อินดิเคเตอร์จะขึ้นอยู่กับค่าเฉลี่ยการเคลื่อนที่ที่มีการปรับเปลี่ยนบางอย่าง เส้นของมันมีชื่อเป็นภาษาญี่ปุ่นแบบดั้งเดิมและแบบทันสมัย
ลองดูตัวอย่างของอินดิเคเตอร์ Ichimoku ในแผนภูมิ เราสามารถแยกออกได้ได้เป็น 3 ชั้น - อดีต, ปัจจุบัน และอนาคต
เริ่มต้นด้วยสิ่งที่เรียกว่า "ปัจจุบัน" มันจะมีลักษณะเป็น 2 เส้นคือ Kijun และ Tenkan ในจำนวนนี้เส้น Kijun (เส้นฐาน) เป็นค่าเฉลี่ยเคลื่อนทีในกรอบเวลาที่ใหญ่กว่า ส่งผลให้มันมีค่าโมเมนตัมระยะกลางและมีน้ำหนักมากกว่าเส้น Tenkan ราคามักจะตัดเส้น Tenkan บ่อยกว่าเส้น Kijun และถ้าราคาตัดเส้น Kijun มันจะส่งสัญญาณถึงว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในตลาด
"อนาคต" แสดงออกมาในรูปของ Ichimoku Cloud เมฆจะถูกสร้างขึ้นจากเส้น 2 ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ที่เคลื่อนไปข้างหน้า หากค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ของกรอบเวลาที่ใหญ่กว่า (Senkou Span B) อยู่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ของกรอบเวลาที่เล็กกว่า (Senkou Span A) เมฆนั้นจะว่าถือว่าเป็นตลาดกระทิง และสีของมันมักจะเป็นสีอ่อนๆ แต่ถ้าเมฑ Senkou Span B อยู่เหนือ Senkou Span A จะถือว่าเป็นตลาดหมี ซึ่งเมฆมักจะมีสีเข้ม เมฆตลาดกระทิงหมายถึงผู้ซื้อครองตลาด ในขณะที่เมฆตลาดหมีหมายถึงผู้ขายเป็นผู้ควบคุมตลาด คุณจะเห็นว่าเมฆมีการเปลี่ยนสีสลับกันไปมาซึ่งเป็นการสะท้อนถึงการเปลี่ยนอำนาจของกระทิิงเป็นหมีและเปลี่ยนกลับจากหมีเป็นกระทิง ความกว้างของเมฆมีความสำคัญ: ยิ่งมีเมฆตลาดหมีกว้างขึ้น ผู้ขายก็ยิ่งแข็งแกร่งขึ้นเท่านั้น เพื่อทำความเข้าใจความสมดุลของอำนาจในปัจจุบันของตลาด ให้มองไปในส่วนของเมฆที่อยู่ "ในอนาคต" นั่นก็คือด้านขวาของราคาปัจจุบัน สำหรับส่วนของเมฆที่สอดคล้องกับราคาปัจจุบันจะทำหน้าที่เป็นแนวรับและแนวต้านของราคา
ใน "อดีต" มีเส้นดียวที่เรียกว่า Chinkou Span ซึ่งแตกต่างจากเส้น Ichimoku อื่นๆ มันไม่ได้เป็นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ แต่เป็นแค่กราฟราคาที่ถูกเลื่อนไปอยู่ช้ากว่าตลาดเท่านั้นเอง วิธีที่เส้นนี้มีปฏิสัมพันธ์กับกราฟราคาเองก็บอกใบ้อะไรๆให้กับเทรดเดอร์ได้
ทำไมบางองค์ประกอบของอินดิเคเตอร์จึงถูกย้ายไปข้างหน้า และบางส่วนถูกวางย้อนมาข้างหลัง? ประการแรก มันยากมากที่จะอ่านแผนภูมิได้ถ้าทั้ง 5 เส้นอยู่ในพื้นที่เดียวกัน นอกจากนั้นวิธีนี้ทำให้องค์ประกอบของอินดิเคเตอร์ Ichimoku สร้างสัญญาณการซื้อขาย บทเรียนต่อไปนี้จะแสดงวิธีตีความสัญญาณเหล่านี้
วิธีการใช้งาน Ichimoku
เมื่อต้องการใช้ Ichimoku กับแผนภูมิใน MetaTrader ให้คลิก "Insert", เลือก "Indicators", แล้วเลือก "Custom", จากนั้นเลือก "Ichimoku" ส่วนการตั้งค่าคุณสามารถเลือกตั้งค่าให้กับ Tenkan, Kijun และ Senkou Span B. นอกจากนี้คุณยังสามารถปรับสีตามเส้นสายของอินดิเคเตอร์ได้ตามใจชอบ
ตั้งค่าเริ่มต้นคือ 9-26-52 เป็นพารามิเตอร์เดิมจากผู้พัฒนา เป็นการตั้งค่าที่เป็นที่นิยมในหมู่เทรดเดอร์ และสามารถนำไปใช้ได้กับทุกกรอบเวลา ขณะเดียวกันคุณก็สามารถเปลี่ยนค่าเริ่มต้นนั้นได้ สิ่งสำคัญคือต้องเลือกค่าที่เพิ่มขึ้นเพื่อให้ตัวเลข Tenkan-sen มีค่าน้อยที่สุด และค่าของ Senkou Span B เป็นค่าที่มากที่สุด
การซื้อขายด้วย Ichimoku
ตำแหน่งของเส้น Ichimoku จะให้มุมมองที่ชัดเจนแก่เทรดเดอร์ในเรื่องของแนวโน้มในปัจจุบัน เมื่อตลาดเป็น sideways เส้นของอินดิเคเตอร์จะเป็นแนวนอนเพื่อที่ราคาจะไปผันผวนรอบๆมัน ส่วนเมฆก็จะบางและเปลี่ยนสีบ่อยๆ
หากราคาอยู่เหนือเมฆ, Tenkan และ Kijun และเมฆตลาดกระทิงมีความหนา จะถือว่ามีแนวโน้มเป็นขาขึ้น ในกรณีนี้ Chinkou Span จะอยู่เหนือราคา
หากราคาอยู่ใต้เมฆ, Tenkan และ Kijun และเมฆตลาดหมีมีความหนา จะถือว่ามีแนวโน้มเป็นขาลง ในกรณีนี้ Chinkou Span จะอยู่ใต้ราคา
เส้น Ichimoku สร้างสัญญาณการซื้อขายจากการตัดกันของเส้นต่างๆของมันและกราฟราคา นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมถึงมีสัญญาณที่แตกต่างกันจำนวนมากในตารางด้านล่าง สังเกตว่าเมื่อเริ่มมีเทรนด์ใหม่ สัญญาณจากองค์ประกอบต่างๆของอินดิเคเตอร์มีแนวโน้มที่จะปรากฏขึ้นในเวลาเดียวกันและมุ่งไปในทิศทางเดียว
ลองรีวิวตัวอย่างของวิธีการที่ Ichimoku ให้สัญญาณการซื้อขาย
1 - ราคาลงต่ำกว่า Kijun-sen เป็นสัญญาณตลาดหมีสัญาณแรก
2 - Tenkan-sen ลดลงต่ำกว่า Kijin-sen
3 - Chinkou Span ตัดกราฟราคาไปยังฝั่งขาลง
4 - ราคาพุ่งทะลุต่ำกว่า Ichimoku Cloud
5 - เมฆเปลี่ยนจากตลาดกระทิงเป็นตลาดหมี
สัญญาณ 2-4 ปรากฏตัวขึ้นในเวลาเดียวกันและเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงจุดเริ่มต้นของแนวโน้มขาลง มันบ่งบอกถึงโอกาสที่จะเปิด sell และเส้นของอินดิเคเตอร์จะทำหน้าที่แนวต้านของราคา
6 - Chinkou Span กลับมาอยู่เหนือกราฟราคา เป็นไปได้ที่จะทำกำไรจากตำแหน่งสั้นๆ
7 - ราคาขึ้นสูงกว่า Kijun-sen
8 - Tenkan-sen ขึ้นไปเหนือ Kijun-sen
9 - เมฆหนาๆของ Ichimoku ตลาดหมี ทำหน้าที่เป็นแนวต้านของราคา แต่ในที่สุดก็จะถูกแทงทะลุ
10 - เมฆเปลี่ยนจากตลาดหมีเป็นตลาดกระทิง ราคาขึ้นไปเหนือเมฆ มีสัญญาณของแนวโน้มขาขึ้นที่เกิดขึ้นใหม่ แม้ว่าในความเป็นจริงแล้ว Chinkou Span จะมีการพักตัวแถวๆกราฟราคา แต่ก็อาจมีแนวโน้มเป็น Sideways ไปซักระยะ
ข้อสรุป
อินดิเคเตอร์ Ichimoku แสดงให้เห็นถึงระบบการซื้อขายที่สมบูรณ์แบบ เป็นไปได้ที่จะใช้แค่อินดิเคเตอร์นี้ในการซื้อขาย คุณสามารถใช้มันเพื่อระบุแนวโน้ม, ตรวจสอบระดับแนวรับและแนวต้าน และรับสัญญาณเข้า คุณสามารถปรับการตั้งค่าของอินดิเคเตอร์และใช้ร่วมกับเครื่องมืออื่นๆ ในการวิเคราะห์ทางเทคนิคได้
เริ่มการเทรด
อัปเดทแล้ว • 2023-05-08
บทความอื่นๆ ในส่วนนี้
- โครงสร้างของโรบ็อตซื้อขาย
- สร้างโรบอทเทรดโดยไม่ต้องเขียนโปรแกรม
- จะเปิดใข้งานโรบอทเทรดใน MetaTrader 5 ยังไงดี?
- การเทรดด้วยอัลกอริทึม : มันคืออะไร?
- แนวทางปฏิบัติของการสลับ
- Triangle คืออะไร?
- รูปแบบ Double Three และ Triple Three
- Double Zigzag
- รูปแบบ Zigzag และ Flat ในการซื้อขาย
- การตัดทอนในทฤษฎีคลื่นเอลเลียต
- รูปแบบ Ending Diagonal
- วิธีการเทรด gap
- รูปแบบ Leading diagonal
- รูปแบบ Wolfe waves
- รูปแบบ Three drives
- ฉลาม
- Butterfly
- Crab
- Bat
- Gartley
- ABCD
- รูปแบบฮาร์มอนิก
- คลื่น Motive และ Corrective องศาคลื่น
- บทนำสู่ทฤษฏีคลื่นเอลเลียตต์ (Elliott Wave Theory)
- วิธีการเทรด breakouts
- ข่าวการค้า Forex
- จะวางคำสั่ง Take Profit ได้อย่างไร?
- การบริหารความเสี่ยง
- วิธีการวางคำสั่ง Stop Loss?
- ตัวบ่งชี้ทางเทคนิค: การซื้อขายความแตงต่าง