คลื่น Motive และ Corrective องศาคลื่น
ในบทความแรกเกี่ยวกับทฤษฎี Elliott Wave เราพบว่ามีคลื่นจำนวนมากอยู่ในตลาด มาต่อกันเถอะ! ทีนี้เราจะมุ่งไปที่หนึ่งในเสาหลักของ EWP เช่น คลื่น Motive และ Corrective
คลื่น Motive คืออะไร?
ง่ายๆก็คือคลื่น Motive เป็นการเคลื่อนไหวของราคาในทิศทางของแนวโน้มหลัก กล่าวอีกนัยหนึ่งว่าคลื่น Motive แต่ละลูกจะก้าวไปข้างหน้าในช่วงที่มีการซื้อขาย สามารถแบ่งคลื่น Motive ออกได้เป็นคลื่นเล็กๆ 5 ลูก ตามหลักเกณฑ์บางประการ
แล้วคลื่น Corrective ล่ะ?
ตามชื่อของมันเลย คลื่น Corrective จะมาหลังคลื่น Motive ดังนั้นในช่วงที่เกิดแนวโน้ม คลื่น Motive และ Corrective จะเกิดตามกันมา ในขณะที่คลื่น Motive เป็นการวิ่งไปข้างหน้า คลื่น Corrective ก็จะเป็นการวิ่งย้อนกลับภายในแนวโน้ม
รูปแบบ
ทุกรูปแบบคลื่น Elliott จะจำแนกได้เป็นคลื่น Motive และคลื่น Corrective จำนวนหลายๆลูก
คลื่น Motive คือ:
- Impulse
- Leading diagonal
- Ending diagonal
คลื่น corrective คือ:
- Zigzag
- Flat
- Triangle
- Double / Triple Zigzag
- Double / Triple Three
มีกฎและหลักเกณฑ์สำหรับแต่ละรูปแบบเหล่านี้ที่เราจะมาตรวจสอบกันในบทความต่อไป
วิธีการทำงานของมัน
ลองดูที่จำนวนคลื่นจริงด้านล่าง มีตลาดกระทิงที่น่าตื่นเต้นในคู่เงิน USDTRY และเราสามารถระบุคลื่น Motive และ Corrective และอย่างที่เห็นมีคลื่น Motive 3 ลูก (สีแดง) และคลื่น Corrective 2 ลูก (สีฟ้า) ซึ่งก่อตัวเป็นรูปแบบที่เรียกว่า ' impulse' อย่างไรก็ตามมีสิ่งอื่นที่เราควรพูดถึง
ระดับของคลื่น
คุณเห็นคลื่นเล็กๆ ภายในคลื่นแต่ละลูกของคลื่น motive หรือ corrective ในแผนภูมิข้างต้นหรือไม่? ดังที่เราทราบจากบทความล่าสุดคลื่น Elliott เป็นเหมือนตุ๊กตาทำรังของรัสเซีย (Matryoshka) นั่นหมายความว่าแต่ละคลื่นสร้างขึ้นจากคลื่นขนาดเล็กและในเวลาเดียวกันคลื่นแต่ละคลื่นจะเป็นส่วนหนึ่งของคลื่นที่ใหญ่กว่า
ดังนั้นในทุกแผนภูมิ จะคลื่น Motive และ corrective ที่แตกต่างกันตามขนาด ถ้าคุณต้องการนับคลื่น คุณควรระบุคลื่นเหล่านี้โดยใช้กฎและหลักเกณฑ์บางอย่าง
ชิวิตจริง
เพื่อให้เข้าใจองศาของคลื่นได้ดีขึ้น ลองดูที่แผนภูมิด้านล่าง มีคลื่นขึ้นไปด้านบนที่ฉันแปะป้ายเป็น ((i)) หลังจากคลื่นนี้เรามีการพักตัวขาลงซึ่งเป็นคลื่น ((ii)) ดังนั้นเราจึงพบ 2 คลื่น
อย่างไรก็ตามในคลื่น ((i)) เราจะเห็นคลื่นขนาดเล็กบางคลื่นที่อยู่ต่ำกว่าหนึ่งระดับ ในเวลาเดียวกันคลื่นยังมีคลื่นเล็กกว่าอยู่ในคลื่นลูกนั้นอีก ((ii)) ดังนั้นตอนนี้เราแปะป้ายว่ามีคลื่น 2 ระดับ แต่ให้เราไปต่อกัน
ดังที่คุณเห็นในแผนภูมิถัดไป มันมจะมีคลื่นลูกที่เล็กกว่านั้นอีกหลายลูก นี่หมายถึงคุณสามารถแบ่งคลื่นแต่ละลูกเป็นคลื่นลูกเล็กๆได้อีกหล่ายลูกจนกระทั่งถึง timeframe ที่เล็กที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ บางครั้งคุณจะเห็นคลื่นลูกสวยๆเหมือนที่เห้นในหนังสือ แต่คุณก็จะแบบที่ไม่สวยได้เช่นกัน โดยเฉพาะใน timeframe ระหว่างวัน
Elliott Wave "ภาษา"
คุณสังเกตเห็นว่ามีสไตล์การแปะป้ายที่แตกต่างกันสำหรับแต่ละระดับคลื่นในแผนภูมิด้านบนหรือไม่? นี่เรียกว่าคำอธิบายการนับคลื่น เราใช้มันเพื่อระบุระดับของคลื่นบนแผนภูมิ และเพื่อปรับปรุงการสื่อสารระหว่างนักวิเคราะห์ ถ้าคุณไม่ใช้คำอธิบายคลื่น การอธิบายจำนวนคลื่นของคุณให้ใครซักคนฟังคงเป็นเรื่องยาก
ตามที่คุณเห็นจากตารางด้านล่างมีลำดับของตัวเลข (สำหรับคลื่น motive) และตัวอักษร (สำหรับคลื่น corrective)
สำหรับคลื่น motive เราใช้ชุดเลขโรมันและเลขอารบิคสามตัวซึ่งเป็นตัวเลขสลับกัน Correction มีการติดป้ายกำกับด้วยชุดของตัวพิมพ์ใหญ่และตัวพิมพ์เล็กจำนวนสามตัว ภายใต้ระดับคลื่นเดียวกันเราใช้เลขโรมันและตัวพิมพ์เล็กหรือตัวเลขอาราบิคและตัวพิมพ์ใหญ่
เราจะหาคลื่นได้ที่ไหน?
ทุกที่. คุณสามารถนับคลื่นได้ทุกตลาด อย่างไรก็ตามเนื่องจากลักษณะของ EWP คุณควรเลือกตลาดที่มีสภาพคล่องที่ดี ถ้าเราพยายามที่จะนับคลื่นในตลาดที่ไม่เป็นที่นิยมที่มีช่องว่างจำนวนมากและแท่งราคาที่ไม่สวย เช่นนั้นแล้ว... เราอาจจะเจอปัญหาบางอย่าง
นอกจากนี้ แทนที่จะนับในตลาดรวมครั้งเดียว การนับตลาดที่มีแนวโน้มน่าจะดีกว่าสำหรับมือใหม่ ทำไมนะเหรอ? เพราะถ้าเรานับตลาดที่รวมกันมาเป็นเวลานานซึ่งมีการพัฒนาเป็นเวลาหลายปีแล้วก็ดูเหมือนว่าเราอาจจะนับโครงสร้าง Correction ที่ยุ่งยาก ถ้าเช่นนั้น ก็มีโอกาสที่จะผิดพลาดสูงเนื่องจากยิ่งการนับจำนวนคลื่นของคุณมีความซับซ้อน ความเสี่ยงก็ยิ่งเพิ่มขึ้น
อัปเดทแล้ว • 2022-04-04
บทความอื่นๆ ในส่วนนี้
- โครงสร้างของโรบ็อตซื้อขาย
- สร้างโรบอทเทรดโดยไม่ต้องเขียนโปรแกรม
- จะเปิดใข้งานโรบอทเทรดใน MetaTrader 5 ยังไงดี?
- การเทรดด้วยอัลกอริทึม : มันคืออะไร?
- แนวทางปฏิบัติของการสลับ
- Triangle คืออะไร?
- รูปแบบ Double Three และ Triple Three
- Double Zigzag
- รูปแบบ Zigzag และ Flat ในการซื้อขาย
- การตัดทอนในทฤษฎีคลื่นเอลเลียต
- Ichimoku
- รูปแบบ Ending Diagonal
- วิธีการเทรด gap
- รูปแบบ Leading diagonal
- รูปแบบ Wolfe waves
- รูปแบบ Three drives
- ฉลาม
- Butterfly
- Crab
- Bat
- Gartley
- ABCD
- รูปแบบฮาร์มอนิก
- บทนำสู่ทฤษฏีคลื่นเอลเลียตต์ (Elliott Wave Theory)
- วิธีการเทรด breakouts
- ข่าวการค้า Forex
- จะวางคำสั่ง Take Profit ได้อย่างไร?
- การบริหารความเสี่ยง
- วิธีการวางคำสั่ง Stop Loss?
- ตัวบ่งชี้ทางเทคนิค: การซื้อขายความแตงต่าง